สุไหงมูโซ๊ะ


สุไหงมูโซ๊ะ ชื่อหมู่บ้านขึ้นต่อตำบลแหลมสน อำเภอละงู เป็นเกาะเล็กๆ ในทะเลอันดามัน มาจาก คำว่า สุไหง (Sungai) แปลว่า แม่น้ำลำคลอง ส่วนคำ มูโซ๊ะ (Musuh) แปลว่า ข้าศึก ศัตรู สุไหงมูโซ๊ะ จึงแปลว่า คลองศัตรู (ไม่ทราบความเป็นมา)

บ้านควน


บ้านควน เป็นชื่อหมู่บ้านและตำบลตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสตูล “บ้านควน” มาจากภาษามลายูว่า “กำปงฆัวร” (Kampung Guar) กำปง แปลว่า หมู่บ้าน ส่วนฆัวร แปลว่าควนเนินดิน ตำบลบ้านควนมีพื้นที่ หมู่ที่ ๕ เป็นหมู่บ้านเดียวที่อยู่บนเนินสูงหรือควนต่ำ เมื่อมีการจัดต

ควนโพธิ์


ควนโพธิ์ เป็นชื่อหมู่บ้านและตำบล ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสตูล มาจากภาษามลายูว่า ฆัวร บูดี (Guar Budi) คำว่าฆัวร (Guar) แปลว่าควนเนินดิน บูดี (Budi) แปลว่าต้นโพธิ์ เมื่อก่อนบริเวณแห่งนี้เป็นทุ่งปาดังกลิง เป็นท้องทะเลอันกว้างใหญ่มีเรือสำเภาเข้ามา ผู้

ชื่อบ้าน : คือเรื่องเล่าของสภาพแวดล้อมและถิ่นฐานคน


จังหวัดสตูล มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา พื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นเนินเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่มากมาย โดยมีทิวเขานครศรีธรรมราชแบ่งเขตจังหวัดสตูลกับจังหวัดสงขลา และทิวเขาสันกาลาคีรีแบ่งเขตประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นต้นน้

ชิโนโปรตุกีส : ตึกเก่าบนแผ่นดิน ๕๐๐ ล้านปี


ตึกสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นตึกรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างโปรตุเกส จีน และมลายู ที่หาดูได้ในแถบจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล เท่านั้น สำหรับจังหวัดสตูลมีแต่ที่อำเภอทุ่งหว้าและอำเภอเมือง

คฤหาสน์กูเด็น “บ้านเจ้าคุณภูมิ” : สถาปัตยกรรมผสมผสานยุโรปและไทย


“คฤหาสน์กูเด็น” เรียกตามชื่อผู้สร้างคฤหาสห์หลังนี้คือ"กูเด็น บิน กูแมะ" (พระยาภูมินารถภักดี) เจ้าเมืองสตูลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๑ – ๒๔๕๙ เริ่มก่อสร้างปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะสร้างเสร็จในปี

จำปาดะ : ผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่นสตูล


คนไทยรู้จักขนุนเป็นอย่างดี ส่วนจำปาดะนั้นมีคนอีกมากมายที่ไม่รู้จัก จำปาดะกับขนุนมีความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรมทำให้มีการผสมข้ามพันธุ์หรือกลายพันธุ์เกิดเป็นจำปาดะขนุนซึ่งปัจจุบันพบที่จังหวัดสตูลและที่ตำบลเกาะยอ จังหวัดสงขลา อาจกล่าวได้ว่า ‘จำปาดะ’ เป

ข้าวพันธุ์อัลฮัมดุลิลละห์ : ผลผลิตที่พระผู้เป็นเจ้าประทาน


“ข้าวพันธุ์อัลฮัมดุลิลละห์” เป็นพันธุ์ข้าวที่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดสตูลนิยมปลูกและนิยมบริโภคมานาน ยาวนานมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี บอกเล่าต่อๆ กันมาว่า ชาวไทยมุสลิมบ้านโคกพิลา อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลได้นำพันธุ์ข้าวอัลฮัมดุลิลละห

กล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล : ความงดงามและบอบบางใต้ชะง่อนผา


กล้วยไม้รองเท้านารีหรือ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Lady’s Slipper ได้ชื่อนี้จากลักษณะดอกที่ขอบปากงองุ้มเข้าหากันคล้ายหัวรองเท้าไม้ของชาวดัตช์ หนังสือพฤกษชาติเล่มแรกซึ่งออกโดยสมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในความอุปถัมภ์ของกระทรวงเกษตราธิการ ๒๔๙๒ ใช้คำว่า“รอ

โต๊ะหยงกง : ความเชื่อ สิ่งเคารพของชาวสตูล


โต๊ะหยงกงหรือ โต๊ะยะกง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสตูล อยู่ใกล้ๆ คฤหาสน์กูเด็น บนหน้าผาภูเขาเล็กๆ ชื่อคล้ายภาษาจีนแต่เป็นศาลของอิสลามศักดิ์สิทธิ์มาก เขาโต๊ะหยงกง ถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์มีทวดชื่อ “โต๊ะ หยงกง” สถิตย์อยู่ ณ บริเวณเพิงหินที่ใช้เป็นที่ทำพิธี บ

ขนมต้มใบกะพ้อ ตูปะ : ขนมที่สื่อวัฒนธรรมของชาวสตูล


สตูลเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม และความหลากหลายของวิถีการดำรงชีวิต ซึ่งวัฒนธรรมมีทั้งแบบดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง คือ สิ่งศักสิทธิ์ (ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น) ผีสางนางไม้ รวมถึงบรรพบุรุษ และวัฒนธรรมใหม่ที่รับเข้ามาคือ

รูปแบบการแต่งกายและเครื่องประดับ


การแต่งกายของคนสตูลจะเป็นการผสมผสานของหลายชนชาติออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งปัจจุบันชาวสตูลยังคงรักษา วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีขาวไทยพื้นเมือง ชาวไทยเชื้อสายมลายู และชาวไทยเชื้อสายจีน โดยปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้เหมาะสมกับยุคสมัย ผสมผสานของหลายชนชาติออกมาอย

ปาเต๊ะ : ผืนผ้า พัสตราภรณ์ ที่ถักทอการแต่งกายตามวิถีสตูล


ชาวสตูลส่วนใหญ่รู้จักผ้าบาติก ในนามของชื่อผ้าปาเต๊ะ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย เผยแพร่เข้าสู่สตูล ซึ่งอาจเป็นอิทธิพลทางการค้าและศาสนา บาติกทางตอนใต้ของประเทศไทยจะนิยมเขียนภาพดอกไม้ ใบไม้ ภาพสัตว์ และลวดลายเครือเถาต่างๆ มีลักษณะเฉพาะถิ

คติความเชื่อ ค่านิยม


ชาวสตูลมีความเชื่อในเรื่องโชคลาภ เครื่องราง ของขลังและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่นในภาคใต้ จะเห็นได้ว่าบริเวณบ้านของชาวสตูลโดยเฉพาะที่นับถือศาสนาพุทธจะมีศาลพระภูมิเจ้าที่ ยกเว้นคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ไม่มีพระ ศาสนาอิสลามไม่นิยมรู

ศาสนา ภาษา


ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าชาวสตูลส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธและอื่นๆตามลำดับ มีสถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่งทั้งวัดและมัสยิด ส่วนเรื่องภาษา ชาวสตูลมีมรดกทางวัฒนธรรมต้นภาษาที่มีลักษณะแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ สตูลจะมีภาษาถิ่นในสองลักษณะ คือ ภา

วัฒนธรรมด้านอาหาร


การกินของชาวสตูลมีทั้งส่วนที่คล้ายกับจังหวัดอื่นและส่วนที่แตกต่าง ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอันสืบเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์และเกิดจากความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนค่านิยมการกินของบุคคลในแต่ละท้องถิ่น ชาวสตูลนิยมอาหารเช้าเป็นกา

นายสิวเจียง แซ่โกย : ครูผู้อุทิศเวลาเพื่อเยาวชน


นายสิวเจียง แซ่โกย เกิด ณ มณฑลฮกเกี้ยน อำเภอแหล่งหนา ประเทศจีน เป็นบุตรนายจ้ายหลำ นางหย่งตี้ แซ่โกย ได้สมรสกับภรรยาเชื้อสายจีน มีบุตรธิดา จำนวน๙คนนายสิวเจียง แซ่โกย ได้รับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนประถมไคหมิงจนจบชั้นประถมปีที่ ๓ก็ย้ายไปศึกษาต่อโร

นายเจ๊ะอับดุลลา หลังปูเต๊ะ : รัฐมนตรีคนที่ ๒ ของสตูล


นายเจ๊ะอับดุลลาหลังปูเต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ณ บ้านทำเนียบตำบลโกตาอำเภอละงูบิดาชื่อนายเจ๊ะมูฮำมัดสะอาดมารดาชื่อนางเจ๊ะรอมะห์นามสกุลเดิม หวันสู นายเจ๊ะอับดุลลาหลังปูเต๊ะได้ศึกษาภาษามลายูจนสำเร็จชั้นปีที่ ๓บริบูรณ์มีความรู้ด้านภาษามลายู

พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ (บุรินทร์ สมันตรัฐ) : จากเจ้าเมืองสู่รัฐมนตรีคนแรกของจังหวัดสตูล


อำมาตย์เอกพระยาสมันตรัฐบุรินทร์มีชื่อเดิมว่า ตุ๋ย บินอับดุลลาห์ มีชื่อมุสลิมว่าหวันฮูเซ็นเป็นบุตรคนที่ ๑๒ของหลวงโกชาอิศหาก (เกิด ) กับนางเลี๊ยบซึ่งมีเชื้อสายจีน เกิดเมื่อวันที่๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๔ ที่ตำบลบางลำพูล่างอ.คลองสานจ.ธนบุรี นามสกุล "บินอับดุ

มหาอำมาตย์ตรีพระยาภูมินารถภักดี : ยุครัฐและประชาชนร่วมกันสร้างบ้านแปงเมือง


พระยาภูมินารถภักดี เดิมชื่อ กูเด็น บิน กูแมะ คำว่า “บิน” แปลว่า “เป็นบุตรชายของ” ตามประเพณีของมลายูนั้นไม่มีนามสกุลแต่จะบอกชื่อบิดาไว้เพื่อให้จำแนกบุคคลได้เท่านั้นพระยาภูมินารถภักดีหรือกูเด็น บิน กูแมะ เป็นบุตรคนที่ ๖ ของนายกูแมะกับนางเจ๊ะจิเกิดที่ต

ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บ : ผู้สร้างบ้านแปงเมือง


ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บ เป็นบุตรของพระยาอภัยนุราช ตนกูบิสนูต้นตระกูลสนูบุตรเกิดที่เคดาห์ ไทรบุรี ตรงกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ ครองราชย์เมื่อครั้งยังเยาว์ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บได้ลี้ภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองมะละกากับตนกูปะแงรันผู้เป็นลุง

ท่าเรือสุไหงอุเปหรือทุ่งหว้า


คำว่าสุไหงอุเป เป็นภาษามลายู “สุไหง” แปลว่า คลอง “อุเป” แปลว่า กาบหมาก ท่าเรือแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นท่าเรือเก่าแก่พอๆกับท่าเรือปากบารา ซึ่งในอดีตมีความรุ่งเรืองมาก เนื่องจากว่าอำเภอทุ่งหว้าเป็นแหล่งปลูกพริกไ

ท่าเรือปากบารา


ตั้งอยู่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ท่าเรือปากบาราหรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า กัวราบารา ซึ่งเป็นภาษามลายู “กัวรา” แปลว่า ปากน้ำ ส่วน “บารา” แปลว่า ถ่านที่กำลังติดไฟอยู่ ท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าเรือเก่าแก่ ในอดีตเป็นที่พักหรือจอดเรือรับสินค้าโดยเฉพาะถ

คลองมำบัง


คำว่า “มำบัง” มาจากภาษามลายู แปลว่า “ปิด” ต้นน้ำของคลองมำบังเกิดจากสายน้ำเล็กๆ หลายสายบริเวณเทือกเขาอำเภอควนกาหลงกับอำเภอควนโดน ไหลผ่านหมู่บ้านหลายแห่ง เช่น บ้านดุสน อำเภอควนโดน ช่วงนี้จะเรียกว่าคลองดุสน ผ่านตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล เรียกว่าคลองฉ