วันสารทจีน : บ่อเกิดแห่งประเพณีและอัตลักษณ์

รายละเอียด

	ในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง เรียกว่าไหว้ 8 เทศกาลโป๊ะโจ่ย การไหว้สารทจีนเป็น การไหว้ครั้งที่ 5 ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้ ประตูนรกจะปิดในวันที่ 30 เดือน 7 เป็นเวลา 1 เดือน เมื่อบรรดาผีเปรตนรกที่หิวโหยเหล่านี้ออกมาถึงโลกมนุษย์ ก็พยายามเสาะแสวงหาอาหารกินเพื่อประทังความหิว จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ทำการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณเหล่านี้ สมัยเริ่มแรก มนุษย์ไม่ว่าผู้ดีมีจนต่างพยายามเซ่นไหว้ผีเปรตเหล่านี้เป็นเวลาทุกๆ วันที่ประตูนรกยังเปิดอยู่ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองมาก ต่อมาจึงเริ่มเปลี่ยนมาเป็นเซ่นไหว้กันทีละครัวเรือนสองครัวเรือน หรือเซ่นไหว้หมุนเวียนกันไป ตามหมู่บ้านต่างๆ ได้จัดเป็นเวรให้แต่ละครอบครัวผลัดเปลี่ยนกันเซ่นไหว้จนครบกำหนด 1 เดือน ประตูนรกปิดก็เป็นอันจบพิธี เมื่อไหว้ไปนานวันเข้า มนุษย์ก็รู้สึกถึงความสิ้นเปลืองและความเหนื่อยยากในการเซ่นไหว้ จึงได้มีการรวบรวมพิธีการเซ่นไหว้ทั้งหมดมาเป็นแค่วันเดียว เป็นวันที่ 15 เดือน 7 เป็นธรรมเนียมและพิธีการมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดังนั้นวันที่ 15 เดือน 7 จึงเป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ตามตำนานเล่ากันมาว่า ชายหนุ่มผู้หนึ่งมีชื่อว่า "มู่เหลียน" เป็นคนที่เคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผดกับมารดาที่ เป็นคนใจบาปหยาบช้า เพราะไม่เคยเชื่อเรื่องสวรรค์ - นรก มีจริง ดังนั้นตลอดชีวิตของนางไม่ยอมทำบุญทานใดๆ เลย มีอยู่ปีหนึ่งในช่วงกินเจ เดือนเก้านางเกิดความหมั่นไว้ผู้คนนุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นึกอยู่ในใจว่าคนเหล่านี้ช่างงมงายสิ้นดี สวรรค์-นรก อยู่ที่ใจต่างหาก ไม่ได้อยู่ที่การกระทำสักหน่อย นางไม่เพียงแค่นึกเท่านั้น มิหนำซ้ำยังให้มู่หลียนบุตรชายของตนไปเชื้อเชิญผุ้ที่กินเจทั้งหลายมากินอาหารที่บ้านโดยตนจะทำอาหารเจเลี้ยงหนึ่งมื้อผู้ที่กินเจต่างอนุโมทนาที่ทราบข่าวมารดามู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลเป็นครั้งแรก จึงพากันให้เกียรติมากินอาหารเจที่บ้านของมู่เหลียน แต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจ มีน้ำมันหมูเจอปนอยู่ การกระทำของมารดามู่เหลียน ครั้งนี้เป็นกรรมหนัก หลังจากที่ตายไปต้องไปตกนรกอเวจีขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสฝ่ายมู่เหลียน มีความคิดถึงมารดามาก จึงได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ ถึงรู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยาก จึงป้อนอาหารแก่มารดาที่หิวโหย แต่ได้ถูกบรรดาผีที่อดอยากทั้งหลายพากันรุมแย่งไปกินหมด มีอยู่คราวหนึ่งเพิ่งจะป้อนข้าวเข้าปาก เม็ดข้าวสุกกลับ ลุกเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากจนพอง ความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส มู่เหลียนได้เข้าไปขอร้องพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ท้าวมัจจุราช) ว่าตนจะขอรับโทษแทนมารดาของตนเองแต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการโนร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ทันท่วงที โดยกล่าวสดุดีที่มู่เหลียนมีความกตัญญูกตเวที แต่กรรมของผู้ใดก็ต้องเป็นของผู้นั้น จะออกพระพุทธเจ้าจึงมองคัมภีร์ผูกหนึ่งให้เพื่อเอาไว้ท่องเพราะถ้าท่องคัมภีร์นี้แล้ว จะสามารถเรียกเซียนทุกทิศทางมาช่วยผู้มีพระคุณหลุดพ้นจากการ อดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ คัมภีร์นี้ชื่อว่า "คัมภีร์อิ๋วหลันเผิน"พระพุทธเจ้า ทรงแนะนำ ให้มู่เหลียน สวดมนต์ อิ๋วหลันเผินและถวายอาหารพิเศษทุกวันที่ 15 เดือน 7 ของทุกปี จึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนได้ถือปฏิบัติเป็นประเพณีนอกจากนี้ ยังมีการเซ่นไหว้ โดยการนำอาหารและกระดาษเงินไปวางไว้ที่หน้าบ้าน หรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก ใช้เบนความสนใจของบรรดาสัมภเวสีที่กำลังจะผ่านมาใกล้เคหะสถานของตน
	อาหาร คือ รากเหง้าแห่งอารยธรรม เป็นบ่อเกิดประเพณีและอัตลักษณ์ สตูลยามนี้จึงไม่ได้มีดีแค่ เกาะแก่งน่ายล ธรณีโลกที่อัศจรรย์ แต่ยังฟุ้งหอมด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมที่คนรุ่นหลังสามารถสัมผัสได้ อาหารและขนมสตูลมีพื้นฐานมาจากความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นเมือง ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวไทยมุสลิม ถูกนำมาหลอมรวมกันจนเกิดความกลมกลืนทางวัฒนธรรม ทำให้นิยมนำขนมบางชนิดมาใช้ในงานเทศกาลต่างๆ เหมือนๆ กัน ผสมปนกันจนไม่รู้ว่าต้นตอมาจากชนชาติใด ขนมบางอย่างก็เรียกเหมือนกัน บางอย่างก็แตกต่างกันตามภาษาของตน	
	ในที่นี้ จะพูดถึงอาหารของชาวจีนจังหวัดสตูล ซึ่งนิยมใช้ในเทศกาลต่างๆ เพื่อใช้เป็นขนมไหว้บรรพบุรุษ และแจกญาติพี่น้องเพื่อนฝูง อันถือเป็นขนมมงคล 

อาหารไหว้วันตรุษจีน
	ตรุษจีน คือ วันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เชื่อกันว่า ประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมทีไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่จะเรียกต่างชื่อกันไปตามยุคสมัย

อาหารคาว หวาน มงคลจีน ตามแบบฉบับแท้ๆ กินแล้วรวยรับตรุษจีน
	ผัดปลาหมึก หรือคั่วหยิ่วหู	
	อาหารคาวหลักที่คนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดสตูล ถือว่าในเทศกาลสำคัญ ได้แก่ วันตรุษจีน วันเช็งเม้ง วันสารทจีน หรือ ชิกโง่ยปั่ว ( ทำบุญเดือน ๗ ) อาหารสำหรับจัดพิธีไหว้บรรพบุรุษที่ขาดไม่ได้ และทำกันทุกบ้าน คือ ผัดปลาหมึกหรือคั่วยี่หู้ มีส่วนผสมสำคัญคือ ปลาหมึกแห้ง กะหล่ำปลี มันแกว เนื้อหมูสามชั้นต้มสุก หน่อไม้ ต้นหอม คื่นฉ่าย ทุกอย่างจะนำมาหั่นฝอย แล้วเอาไปผัดรวมกัน 
	ผัดปลาหมึกหรือคั่วหยิ่วหู เรียกเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า หยิ่วหูฉ๊า เป็นอาหารที่มีความหมายถึงความอุดมบูรณ์ เพราะส่วนประกอบที่นำมาปรุงมีความหมายในความเชื่อ คือ
	หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีกินมีใช้
	ปลาหมึก หมายถึง เหลือกิน เหลือใช้ อุดมสมบูรณ์
	ผักต่างๆ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์
	หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวยเป็นสุข
 	
ความหมายของขนมไหว้ตรุษจีน
	ขนมเข่ง คือ ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต ขนมเข่งที่ใส่ในชะลอม หมายถึง ความหวานชื่นอันสมบูรณ์ เป็นขนมยอดฮิตที่ขาดไม่ได้เลย 
	ขนมเข่งเป็นของไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษที่อยู่คู่กับคนจีนมาช้านาน แม้จะมีขนมอีกหลายอย่างที่ใช้ไหว้เจ้า แต่มีเพียงขนมเข่งเท่านั้นที่เป็นขนมซึ่งถ่ายทอดมาจากเมืองจีนแท้ๆ
	ขนมเทียน คือ ขนมที่ปรับปรุงดัดแปลงมาจากขนมใส่ไส้ ขนมท้องถิ่นของไทย เปลี่ยนจากแป้งข้าวเจ้าผสมกะทิมาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน มีความหมายว่า หวานชื่น ราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลมมีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์
	เมื่อมีขนมเข่งก็ต้องมีขนมเทียน เพราะเป็นขนมที่ใช้ไหว้คู่กัน คนจีนมีความเชื่อว่า ขนมเทียนนั้นหมายถึง ความสว่าง รุ่งเรืองดังแสงเทียน เหมือนชื่อขนมนั่นเอง ขนมเทียน มี ๒ แบบ เป็นแบบไม่มีไส้ และมีไส้
	ขนมไข่ คือ ความเจริญเติบโต คนไทยทั่วไปเรียกว่า ขนมไข่ แต่คนจีนและคนมุสลิมเรียกเหมือนกันว่าขนมบูหลู
	ขนมถ้วยฟู คือ ความเพิ่มพูน รุ่งเรือง เฟื่องฟู 
	ขนมทองพับ ชาวจีนเรียกว่า ขนมกาเปด ชาวมุสลิมเรียกขนมโกยเปด เป็นขนม มงคล เชื่อกันว่าจะมีเงินใช้อย่างเหลือล้นไม่รู้จักหมดจักสิ้น
	ขนมผิง ชาวจีน และมุสลิมเรียกเหมือนกันว่า ขนมบังเกด ภาษาทั่วไปเรียกว่าขนมผิง เป็นขนมที่ถูกเชื่อมโยงกับความรักในแง่มุมของความอบอุ่น เพราะเมื่อเอ่ยถึงคำว่า ผิง เรามักจะนึกถึงความอบอุ่นนั่นเอง  
	ขนมดอกจอก เป็นขนมที่มีรูปทรงคล้ายดอกจอกที่มีเเหล่งกำเนิดอยูในน้ำ รูปทรงสวยงาม มีความหมายถึง สดชื่น ความกลมเกลียว สมัครสมาน	ชาวจีนเรียกว่า ขนมซารั้ง ชาวมุสลิมเรียกว่า โกยซาร่าง 
	ขนมกี่จ่าง หมายถึง ความเหนียวแน่น สดใส คนไทยเชื้อสายจีนจะนำมากินคู่กับเนื้อไก่ เป็ดและเนื้อหมูผัดซีอิ้ว ซึ่งเป็นไก่ เป็ด หมู ที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษแล้วฉีกเลาะเอาแต่เนื้อมาผัดซีอิ้วรวมกัน เรียกว่า ไก่ค่อง
	ขนมอังกู๊ หรือ ขนมเต่าแดง ตามความหมายในภาษาจีน อัง คือ สีแดง เป็นสีแห่งความเป็นมงคล ส่วน กู๊ คือ เต่า หมายถึง อายุมั่นขวัญยืน ดังนั้น อังกู๊ จึงเป็นหนึ่งในขนมมงคลที่คนสตูลเชื้อสายจีน นำมาใช้ประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า พิธีไหว้บรรพบุรุษ ในวันตรุษ วันสารท วันไหว้เทวดา งานแต่งงาน
แบบบาบ๋า และพิธีมั่วโง้ย 
 	ขนมแป๊ะกู๊ หรือ ขนมเต่าขาว นอกจากขนมเต่าสีแดงแล้ว สามารถทำได้อีกหลากหลายสีตามความต้องการของผู้ทำ แต่หากเป็นงานอวมงคลคืองานไหว้หน้าศพ จะต้องใช้ขนมเต่าที่มีสีขาวเท่านั้น
	ข้าวเหนียวกวน เปรียบเสมือนตัวแทนของความสามัคคีในครอบครัว จึงเป็นหนึ่งในขนมมงคลที่คนสตูลเชื้อสายจีน นำมาใช้ประกอบพิธีไหว้บรรพบุรุษ ในวันตรุษ วันสารท และใช้ไหว้ในงานอวมงคล ไหว้หน้าศพ
 
เทศกาลไหว้บะจ่าง
 	อาจจะเป็นไปได้ว่าตำนานสะท้อนถึงประเพณีการขจัดโรคระบาด และก่อเกิดพิธีกรรมขับไล่สิ่งชั่วร้าย คนจีนเชื่อว่า เลขคี่เป็นพลังหยาง เลขคู่เป็นพลังหยิน วัน ๕ ค่ำ เดือน ๕ เท่ากับพลังหยางซ้อนกัน ประกอบกับเป็นฤดูร้อน คนจีนบางกลุ่มถือว่าเป็นวันที่แรงมาก มี พลังแรงมาก มีความร้อนทวีคูณ ต้องป้องกันไม่ให้พลังทั้งจากความร้อนของอากาศ หรือฤดูกาล หรือฟ้าดินมาทำร้ายมนุษย์
	บ๊ะจ่างเป็นอาหารมงคลของชาวจีน ใช้สำหรับไหว้ในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เทศกาลตวนอู่ หรือ เทศกาลต่วนหงอ ซึ่งไหว้กันเป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงขุนนางตงฉิน ชวี เอวี๋ยน ที่กระโดดน้ำปลิดชีวิต เพราะท้อแท้ที่ไม่สามารถช่วยแคว้นของตนได้ เดิมชาวบ้านทุกคนร่วมใจกันโปรยเมล็ดข้าวและธัญพืชต่างๆ ลงไปในน้ำ แต่เพราะประเทศจีนต้องพบเจอกับพิบัติภัยต่างๆ นานาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเพื่อไม่ให้สิ้นเปลือง ประเพณีการโยนอาหารลงน้ำ จึงได้เปลี่ยนมาเป็นห่อใบไผ่ และนำไปเซ่นไหว้แทน 

เทศกาลไหว้ขนมอี๋
	ชาวจีนให้ความสำคัญกับเทศกาลตังโจ่ยไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะถือเสมือนเทศกาลสิ้นปี ผู้คนจะปิดร้านรวงและบ้านเรือน ทำบุญตามวัดหรือไหว้เจ้า เอกลักษณ์ที่สำคัญในเทศกาลนี้ คือ ผู้คนจะปั้นและกินขนมที่มีลักษณะคล้ายขนมบัวลอยของไทย (ออกเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า อี๋) ซึ่งทำจากแป้งและต้มกับน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย 
	ในแต่ละภูมิภาคของจีนจะกินขนมชนิดนี้และเรียกชื่อแตกต่างออกไป เช่น ทางเหนือ จะกินเกี๊ยวน้ำ ทางใต้จะกินขนมชนิดนี้ที่มีลูกใหญ่และเรียกว่า "ถ่างหยวน" โดยมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้วคนในครอบครัวจะรักผูกพันกันยิ่งขึ้น เพราะเมื่อถึงเทศกาลนี้ ญาติพี่น้องที่จากไปอยู่แต่ละที่ จะหวนคืนกลับบ้านมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้ง อีกทั้งยังเชื่อว่าการทำขนมบัวลอย หรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึงเถ่ากง ตี่จู๋เอี๋ย (เจ้าที่) เป็นการขอบคุณที่ได้ช่วยให้ชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวดำรงมาอย่างราบรื่นตลอดปี เป็นมงคลที่อายุเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งปี และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย
	เทศกาลนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งแบบไทยว่า เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ซึ่งประเพณีการรับประทานขนมบัวลอยนี้ก็ยังคงปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
	สมัยก่อน ชาวแต้จิ๋วทำขนมอี๋ไว้เลี้ยงแขกที่มาเยี่ยมเยือน ซึ่งเป็นแขกพิเศษ เช่น ผู้หลักผู้ใหญ่ เจ้านายคนใหญ่คนโต ขุนนางข้าราชการ บุคคลอันเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อนใหม่ เขยคนใหม่ ญาติใหม่ที่เพิ่งเกี่ยวดองกัน คนในครอบครัวที่ไปได้ดิบได้ดีในต่างแดนแล้วนานทีปีหนกลับมาเยี่ยมบ้านสักครั้ง เจ้าของบ้านจะเตรียมขนมอี๋นี้ไว้เลี้ยงรับรองแขกผู้มีเกียรติเหล่านี้ ชาวแต้จิ๋วบางพวกพิถีพิถันขนาดว่าต้องมีไข่ไก่ต้มใส่ไปด้วยอีก ๒ – ๔ ฟอง เรียกว่า “ตีอี่นึง” (甜丸汤 เสียงแต้จิ๋ว) หรือ ขนมอี๋ไข่หวาน 
	เทศกาลไหว้ขนมอี๋ หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน