วัฒนธรรมทางภาษาคำเมือง"ตัวเมือง"


ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน



รำกลองยาว


กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี

ฟ้อนสาวไหม


วิถีชีวิตของพื้นเมืองเหนือการแสดงพื้นเมืองประจำบ่อสวก เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนจัดเป็นวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงพฤติกรรม การกระทำที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ



บุญบั้งไฟถวายพระเจ้าทันใจ


ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า"วันโฮม" จะมีการนำเอาบั้งไฟออกมาแห่แหนตามหมู่บ้านกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร


กิจกรรมส่งต่อความยั่งยืนสู่เยาวชน


การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานเด็กและเยาวชนของภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพและตระหนักต่อการสร้างความยั่งยืนในชุมชนของตนเอง



วัฒนธรรมงานเลี้ยงขันโตก


งานเลี้ยงขันโตกจะเริ่มด้วยขบวนแห่นำขบวนขันโตกด้วยสาวงามช่างฟ้อน ตามมาด้วยคนหาบกระติบหลวง ขบวนแห่นี้จะผสมผสานกับเสียงดนตรีโห่ร้องแสดงความชื่นชมยินดี



กิจกรรมตีกลองสะบัดชัยโบราณ


กลองสะบัดชัยโบราณ เดิมใช้ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ



กิจกรรมอนุรักษ์การแต่งกายชุดพื้นเมือง


การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น



ประเพณีสืบชะตา


 การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตนเอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นสิริมงคล



ฟ้อนเกี่ยวข้าว


การนำเพลงเต้นกำรำเคียวไปเผยแพร่นั้น กรมศิลปากรได้ดัดแปลงท่ารำและเนื้อร้องใหม่ เพื่อให้สุภาพขึ้น และใช้ระนาดเป็นเครื่องดนตรีประกอบในตอนต้นและตอนท้าย



ประเพณีตานตุง


ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า



ประเพณีถวายทานสลากจุมปู


เมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้วเส้นสลากจะถูกนำมาแบ่งสันปันส่วนกันในหมู่ของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ รูปละ ๕ – ๑๐ เส้น พระสงฆ์ ก็จะนำเอาเส้นสลาก ไปอ่าน โดยเริ่มจากเจ้าอาวาสก่อนจะมีการเรียกชื่อหาเจ้าของสลากนั้น ๆ ว่านั่งอยู่ที่ใด เ

กิจกรรมงานบุญทอดกฐินสามัคคีประจำปี


เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง



กิจกรรมการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ในวันเข้าพรรษา วันออกพรรษา


การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรือ อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร



กิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญตักบาตรประจำวันธรรมสวนะ


เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยการทำบุญตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรมและรักษาศีล ตลอดจนเป็นการปลุกจิตสำนึกคนในชุมชนให้ยึดมั่นและเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา



กิจกรรมงานประเพณีขึ้นดอยภูสะงืด


งานประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนเก้าเหนือ (เก้าเป็ง) หรือราวเดือนมิถุนายน ด้วยความศรัทธาอันหนึ่งอันเดียวกันของ ๓ ตำบลที่มีอาณาเขตติดต่อกัน คือ ตำบลเรือง ตำบลนาซาว ตำบลบ่อสวก มีศูนย์กลาง ณ ยอดดอยภูสะงืด นำคัวตานข

กิจกรรมบวงสรวงเจ้าหลวงปู่ฮ่อ


กิจกรรมบวงสรวงเจ้าหลวงปู่ฮ่อ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นผีบ้านที่คอยคุ้มครองปกปักษ์รักษาให้พี่น้องชาวตำบลบ่อสวกอยู่ดีมีสุข และดูแลพืชผลในไร่นามิได้ให้รับความเสียหาย



กิจกรรมทานข้าวใหม่


การทำบุญในวาระนี้เรียกว่า ทานขันข้าวใหม่ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาขุนน้ำ ปู่ย่าตายาย พ่อแม่ที่เป็นเจ้าของไร่นามาแต่เดิม สำรับอาหารประกอบไปด้วยข้าวนึ่งสุก พร้อมกับอาหารที่นิยมกันตามท้องถิ่น



กิจกรรมตานผีขุนน้ำ


เมื่อถึงเดือน 8 เดือน 9 เหนือ (ประมาณเดือนพฤษภาคม -มิถุนายน) ของทุกปี เป็นเวลาที่ฝนเริ่มตก ก่อนเริ่มการเพาะปลูก วัฒนธรรมสำคัญอย่างหนึ่งของชุมชน คือ ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ หรือ ผีฝาย



กิจกรรมตีกลองปูจา กลองยาว


ได้รับการเล่าขานมานานว่า ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านได้อพยพมาจากเมืองเชียงแสน ซึ่งก็คือ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ตามประวัติศาสตร์ เมืองเชียงแสน เป็นแหล่งอารยธรรม วัฒนธรรมที่รุ่งเรือง มีลักษณะโดด

ซิ่นลายน้ำไหลเกลียว


ผ้าซิ่นลายน้ำไหลเกลียว วัสดุ ฝ้ายแท้ย้อมสีธรรมชาติ เทคนิคการทอ เกาะล้วง น้ำไหลเกลียว ภูเขา ขิด(ยกมุก)ลายโบราณ มัดก่านข้อ น้ำตาลจากสารเงิน เขียวจากเพกา ฟ้าน้ำทะเลจากคราม



ซิ่นหล่ายน่าน


ซิ่นหล่ายหน้า หล่ายน่าน ซิ่นหล่ายน่าน ต่อด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามแท้ วัสดุฝ้ายแท้ เทคนิคการทอ ยกมุกดอกเปา ยกไม้ไคว่ มัดก่านหย่อม มัดก่านหงส์คาบโคม เกาะล้วงน้ำไหลใบมีด



ผ้าซิ่นวิเศษเมืองน่าน





ผ้าซิ่นตีนจกเมืองน่าน


ซิ่นตีนจกเมืองน่าน ตัวซิ่น ลายป้องยกลายหย่อมตีนหมา ตีนจกลายนกน้อย ลายประกอบอุ้งตีนหมี ทอด้วยไหมประดิษฐ์ ยกลายดิ้นเงิน