นายกรกฎ แปงใจ


เป็นคนรุ่นใหม่ที่สืบสานวิธีการทอผ้าบ้านซาวหลวง ฝึกฝน แกะแบบ ออกแบบลายผ้าใหม่ๆ ไม่ซ้ำใครและได้รับหน้าที่เป็นวิทยากรสอนการย้อมสีธรรมชาติ





นางศรีพรรณ จันตา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องพิธีกรรม สู่ขวัญ/ประธานจักสาน เครื่องจักสานยังเป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านได้หลายอย่าง เช่น สะท้อนให้เห็นความชาญฉลาด ในการเลือกสรรวัตถุดิบ ที่จะนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน


นางศรีทร ดวงมูล


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการขับซอ เกิดจากความชอบส่วนตัวมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเห็นการขับซอที่ไหนก็มักจะชอบเข้าไปนั่งฟัง ทั้งวัฒนธรรมสังคมรอบตัวเองก็มีความนิยมในเรื่องของการขับซอ ด้วยกับซึมซับความชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก


ว่าที่ร้อยตรีอลงกต ประสมทรัพย์


ปราชญ์ท้องถิ่นเรื่องปศุสัตว์ สร้างธุรกิจของตนเอง ทำหลายอย่าง ทั้งธุรกิจอาหารสัตว์ อุปกรณ์ฟาร์ม ปศุสัตว์ ฯลฯ



นางเกษสุดา ประสมทรัพย์


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำอาหารพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นของชุมชนตำบลบ่อสวก ใช้วัตถุดิบในการปรุง เป็นวัตถุดิบที่มีในชุมชนบ่อสวก การพัฒนาสังคมโลก




นายบุญมาก สุขหมื่น


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องศิลปินดนตรีพื้นเมือง ฝึกร้องการจากเลียนแบบเสียงเพลงตามสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์



นายนิคม ทิศเป็ง


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องซ่อมรถยนต์ เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงานนำมาเปิดอู่ซ่อมรถยนต์เป็นธุรกิจของตนเองมาเป็นระยะเวลา 12 ปี



นางติ๋ม พิจคำ


การจักรสาน เรียนรู้จากการหาวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน



นายปลี ทะลายา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องช่างฝีมือแรงงาน ภูมิปัญญาที่ได้รับจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลาน ทักษะฝีมือทางด้านงานช่างเป็นความรู้ทางด้านทักษะส่วนบุคคล การเป็นคนช่างสังเกตุ ความคิดสร้างสรรค์และความประณีตในงานฝีมือ

นายสม นันคำ


หมอเมือง เป็นความรู้ ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ปรับตัวผ่านประสบการณ์ที่สั่งสมพัฒนาและสืบทอดกันต่อ ๆมา เพื่อใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข



นายธนากร ทะลายา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องมวยไทย เริ่มต้นจากการฝึกซ้อมเป็นนักมวยตามค่ายมวยต่าง ๆ และมุ่งมั่นเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทย เข้ารับการอบรมผู้ชี้ขาดและผู้ฝึกสอนมวยไทยของทางสมาคมมวยไทยจนถึงปัจจุบัน



นายหง่วน พรมฟู


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องงานจักสาน ภูมิปัญญาไทยหรือที่เรายกย่องกันว่าปราชญ์ชาวบ้านมีหลากหลายตามความถนัดและการปฏิบัติของแต่ละคนเป็นผู้ที่ได้หล่อหลอมองค์ความรู้จากประสบการณ์ซึมซับบ่มเพาะค้นคว้าทดลองโดยใช้วิถีชีวิตของตนเองทั้งทางกายและใจ

พระสมุห์ทวิน ธีรปญฺโญ


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องภาษาล้านนา (ตั๋วเมือง) สืบทอดความรู้จากพระครูสุภัทรนันทการ อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงเจริญราษฎร์ ซึ่งได้ทำการเรียนการสอนภาษาล้านนา (ตั๋วเมือง) แก่พระภิกษุสามเณรภายในวัด



นายจันทร์ ทะลายา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องช่างฝีมือแรงงานท้องถิ่น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ชุมชนนำเอาเครื่องมือและอุปกรณ์มาใช้อำนวยความสะดวก ในการทำงานและใช้ในชีวิตประจำวัน



จ่าสิบตรีมนัส ติคำ


เป็นปฐมบทของการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น 




นางนวลัย ธารักษ์


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องงานใบตอง ภูมิปัญญาการทำบายศรีสู่ขวัญ เป็นการปฏิบัติตามความเชื่อของการนับถือศาสนา ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำพิธีจะทำมาจากใบตอง เพราะเชื่อว่าใบตองเป็นของบริสุทธิ์ การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ



นายฐิติพงษ์ ทองวรรณ


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ การทำการเกษตรของเราจะยึดหลักโดยไม่ใช้สารเคมี คือเราจะทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อรดน้ำผักของเรา แต่เราต้องดูความเหมาะสมหลาย ๆ อย่าง โดยการเรียนรู้มาจากวัดป่าส่วนธรรม (กลุ่มข้าวคุณธรรม) จ.ยโ

นายจรัส ทะลายา


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องช่างฝีมือแรงงาน ภูมิปัญญาที่ได้รับจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกหลาน ทักษะฝีมือทางด้านงานช่างเป็นความรู้ทางด้านทักษะส่วนบุคคล



นางวงค์ นพทร


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องพิธีกรรม ปราชญ์ชาวบ้านเกิดจากการสะสมการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลานานมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงในเรื่องการทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชนการปฏิบัติศาสนาประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อ



นางประทุททิพย์ สายโนวงค์


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องนวดแผนไทย การแพทย์ดั้งเดิมของไทยก็ผูกพันกับความเชื่อดังกล่าว อันได้แก่ ความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ หรือการเคารพธรรมชาติ


นายศุภชัย จำปารัตน์ ผู้ใหญ่บ้านเชียงยืน


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นเรื่องศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านเพียงแห่งเดียวเมืองขนาดเล็กหรือขนาดกลาง



นางสาวผาย พรมฟู


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทอผ้า ‘ทอผ้า’ ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานอดิเรกยามว่างเว้นจากการเกษตรของชาวบ้านซาวหลวง ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 




นางช้อย มหามิตร


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการทอผ้า ศึกษาเรียนรู้จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และนำความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาประกอบอาชีพ 



นางอำพร กิ่งแก้ว


ปราชญ์ชาวบ้านด้านการจักสาน ผู้ที่ได้หล่อหลอมองค์ความรู้จากประสบการณ์ซึมซับบ่มเพาะค้นคว้าทดลองโดยใช้วิถีชีวิตของตนเองทั้งทางกายและใจมาเป็นเครื่องทดลองเพื่อแสวงหาความถูกผิดจนกระทั่งประสบความสำเร็จ