ฟ้อนสาวไหม

รายละเอียด

  

วิถีชีวิตของพื้นเมืองเหนือการแสดงพื้นเมืองประจำบ่อสวก เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนจัดเป็นวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงพฤติกรรม การกระทำที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ



ฟ้อนสาวไหม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของพื้นเมืองเหนือการแสดงพื้นเมืองประจำบ่อสวก เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนจัดเป็นวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงพฤติกรรม การกระทำที่เกิดจากความคิด ความเชื่อ ซึ่งการฟ้อนรำจะเป็นการแสดงออกด้วยท่าทางต่างๆที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือได้รับการปรุงแต่ง สำหรับศิลปะการฟ้อนรำของล้านนาเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีมาแต่ในอดีต โดยสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในยุคต้นๆ และลักษณะท่าทางที่ฟ้อนออกมาจะแตกต่างกันออกไปตามเผ่าพันธุ์และความเชื่อในกลุ่มชนต่างๆฟ้อนสาวไหม เป็นศิลปะการฟ้อนรำประเภทหนึ่งของชาวล้านนา จัดเป็นหนึ่งในห้าภูมิปัญญาที่สำคัญในด้านศิลปะการแสดงของจังหวัดน่าน เป็นการแสดงพื้นเมืองที่มีความงดงาม อ่อนช้อย โดยมีลักษณะที่แตกต่างจากการฟ้อนประเภทอื่นๆ และมีพัฒนาการทาง รูปแบบมาจากการมาจากฟ้อนเจิง โดยพ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ และแม่ครูบัวเรียว ได้ฝึกและพัฒนาการฟ้อนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลักษณะเด่นที่แตกต่างจากการฟ้อนรูปแบบอื่นๆ คือ เป็นการฟ้อนที่เลียนแบบจากการทำงานในชีวิตประจำวันของคนพื้นเมืองในการปลูกฝ้าย ทอผ้า ท่าฟ้อนสาวไหม แสดงถึงความอ่อนช้อย สวยงาม ละเมียดละไม จนสามารถจิตนาการเห็นเครื่องปั่นฝ้าย การดึงฝ้ายแต่ละเส้นๆ เห็นเป็นขั้นตอนตั้งแต่การเก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย จนกระทั่งถักทอฝ้ายเป็นผืน



ขนาด

การแสดงพื้นเมือง