ประเพณีถวายทานสลากจุมปู

บรรยายนำชม

ตานก๋วยสลาก / ตานสลาก / กิ๋นข้าวสลาก /หรือกิ๋นสลาก ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาของชาวล้านนา ที่มักมีการเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า "สลากภัต" ก๋วยสลากจะมีอยู่ ๒ ลักษณะ "ก๋วยน้อย" เป็นก๋วยสลากสำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งไม่เพียงแต่ญาติพี่น้องเท่านั้นอาจจะเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายก็ได้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรักและมีคุณต่อเราเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่"ก๋วยใหญ่" เป็นก๋วยที่จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษซึ่งจะบรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธาและฐานะดี สลากที่มักจัดทำเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ " สลากโชค" มักทำเป็นต้นสลากที่สูงใหญ่สำหรับที่จะเอาวัตถุสิ่งสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ผูกมัดติดกับต้นสลาก เช่น ผ้าห่ม ที่นอน หมอน หม้อนึ่ง ไหข้าว เงินทองชนิดต่าง ๆ ต้นสลากจะมีการประดับตกแต่งให้สวยงามกว่าสลากธรรมดา ก่อนที่จะนำเอาก๋วยสลากไปรวมกันที่วัด ต้องเขียนเส้นสลากเสียก่อน เส้นสลากก็จะถูกนำไปกองรวมกัน

เมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้วเส้นสลากจะถูกนำมาแบ่งสันปันส่วนกันในหมู่ของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ รูปละ ๕ – ๑๐ เส้น พระสงฆ์ ก็จะนำเอาเส้นสลาก ไปอ่าน โดยเริ่มจากเจ้าอาวาสก่อนจะมีการเรียกชื่อหาเจ้าของสลากนั้น ๆ ว่านั่งอยู่ที่ใด เมื่อพบแล้วจะมีการให้ศีลให้พรมีการหยาดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้กับผู้ที่ล่วงลับเป็นเสร็จพิธีประเพณี "ตานก๋วยสลาก" หรือ "สลากภัต" นิยมปฏิบัติกันตั้งแต่เดือน ๑๒ เหนือ ถึงเดือนยี่เหนือหรือตั้งแต่เดือน กันยายน ถึง เดือน ตุลาคม ของทุกปี ณ ทุกวัดในจังหวัดน่าน



ขนาด

พิพธีกรรม