สถาปัตยกรรมชิโนที่ถูกปรับเปลี่ยน


อาคาร 3 ชั้น มีระเบียงและโครงสร้างถูกปรับเปลี่ยนไม่หลงเหลือความเป็นอัตตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมชิโน ดั่งเดิม แต่ยังคงรักษาสภาพแวดล้อมของอาคารที่มีระเบียงเหมือนยุโรปที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร แต่ใช้วัสดุเหล็กในการตกแต่ง ไม่ใช่ปูนปั้น

หน้าต่างซุ้มโค้งครึ่งวงกลม 5 ซุ้ม


อาคาร 3 ชั้น มีดาดฟ้าด้านบนอาคาร ผนังจากระดับคานถึงใต้วงกบล่างหน้าต่าง เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนมีลายปูนปั้นแบบยุโรป มีสีสวยงามและมีอิฐเคลือบโปร่งของซุ้ม บริเวณระเบียง 5 ช่องและเฉลียง หรือบัญชร ยื่นออกมาจากต

หน้าต่างกระจกบานเกล็ด


อาคาร 2 ชั้นที่ถูกปรับเปลี่ยนเกือบทั้งหลัง แต่ยังมีเสาประดับรับซุ้มลวดลายมีบัวหัวเสา (ด้านขวา) 1 เสา ด้านซ้ายถูกฉาบปูนทับเป็นพื้นเดียวกัน ชั้นบน มีหน้าต่างบานเกล็ด 2 ช่อง เหนือพื้นห้องขึ้นไปถึงระดับหลังคาเป็นช่องแสงก

หน้าต่างซุ้มโค้งครึ่งวงกลม 3 ซุ้ม


เป็นอาคาร 3 ชั้น และมีดาดฟ้าด้านบนอาคาร จุดเด่นของอาคารคือ มีระเบียงและโครงสร้างเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลม 3 ซุ้ม มีเสารับซุ้มภายในโค้งมีลายปูนปั้นแบบจีน มีระเบียงเป็นลูกปูนโปร่ง มีซุ้มระเบียงโค้งครึ่งวงกลม 3 ซุ้ม เสารับซุ้มเป็น

หน้าต่างซุ้มโค้งครึ่งวงกลม 4 ช่อง


จุดเด่นคือผนังก่ออิฐฉาบปูน ซุ้มหน้าต่างเป็นปูนนูนขึ้นจากผนัง ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม 4 ซุ้ม มีเสาประดับรับซุ้ม มีลายปูนปั้นลายโค้งตรงกลางมีลักษณะ Keystone





หน้าบ้านสมัยนิยม


เป็นอาคารห้องแถวเก่าในย่านเมืองเก่าที่มีการปรับแต่งรูปแบบสมัยใหม่ แต่ยังคงรูปแบบโครงสร้างแบบดั่งเดิมคือ มีช่องลมเหนือบานหน้าต่าง 





ซุ้มโค้งเสี้ยววงกลม


ลักษณะรูปแบบของอาคารเก่าชั้นบน เป็นผนังอาคารก่ออิฐฉาบปูนมีลายปูนปั้นแบบยุโรปเด่นชัด สวยงาม ประกอบด้วยซุ้มหน้าต่าง 3 ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม เรียกว่า “ซุ้มโค้งเสี้ยววงกลม (Segmental Arch)”




เสาปูนปั้นแบบยุโรป


ลักษณะปูนปั้นหัวเสาแบบไอโอนิค-โครินเธียน ที่มีการตกแต่งเป็นลวดลายระย้า เป็นสถาปัตยกรรมอีกแบบหนึ่งที่สามารถพบเห็นได้

อาคารโบราณหลังนี้มีลักษณะเด่นของบานหน้าต่างที่สามารถปรับ เลื่อนได้เพื่อระบายอากาศภายในอาคา

ประตูบ้าน 23 แบบไอโอนิค-โครินเธียน


สถาปัตยกรรมหัวเสาแบบไอโอนิค-โครินเธียน เป็นอาคาร 2 ชั้น แต่ชั้นบนเป็นรูปปูนปั้นรูปจั่ว 2 ซุ้ม หน้าจั่วเป็นปูนปั้น ภายนอกจั่วมีลายปูนปั้นหน้าต่าง มีช่องแสงภายใน เสารรับซุ้มเป็นสี่เหลี่ยมเรียบเซาะร่อง มีการตกแต่งกั้นฉาดเพิ่มเติม

คิ้วหน้าต่างแบบไอโอนิค-โครินเธียน


สถาปัตยกรรมหัวเสาแบบไอโอนิค-โครินเธียน เป็นอาคาร 2 ชั้น หน้าต่างทรงเรขาคณิต เป็นเหล็กดัด ประดับลายปูนปั้นบริเวณเสาสี่เหลี่ยมเป็นกรอบประดับหน้าต่าง ยังรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้ แต่ชั้นล่าง ปรับเปลี่ยนเป็นร้านอาหารสไ

หน้าต่างแบบยุโรป


อาคารเก่าที่มีสถาปัตยกรรมยุโรป สังเกตจากหน้าต่างที่มีลักษณะโค้ง เป็นช่องลมเพื่อระบายอากาศ หน้าต่างเป็นบานไม้ประดับด้วยกระจกจำนวน 3 บาน ที่สามารถเปิดรับลมให้อากาศถ่ายเทได้

การปรับปรุงโครงสร้างบ้านย่านเมืองเก่าที่

สถาปัตยกรรมหัวเสาแบบไอโอนิค-โครินเธียน


อาคารเก่าที่ยังคงอนรักษ์รูปแบบและลวดลายของอาคารและสถาปัตยกรรมดั้งเดิม มีการประเสาหัวเสาแบบไอโอนิค-โครินเธียน อาคารทั่วไป มีรูปแบบชั้นล่างเป็นประตูบานเฟี้ยมเหล็ก มีพื้นที่บางส่วนที่เป็นประตูบานเฟี้ยมไม้ ลักษณะเสาโครงสร้างเป็นเ

ลายปูนปั้นซุ้มหน้าต่างแบบชิโนยูโรเปียน


สถาปัตยกรรมชิโนยูโรเปียน ที่ผสมผสานระหว่างจีนและยุโรป จะมีลายปูนปั้นลักษณะเป็นทรงเลขาคณิตที่ชัดเจน

ที่ซุ้มหน้าต่างและช่องลมแบบชิโนยูโรเปียน จะมีลายปูนปั้นประดับอาคาร มีเสาค้ำสไตล์ยุโรป และคิ้วหน้าต่างเป็นรูปโค้ง

อาคารเก่าหน้าบ้านใหม่


อาคารเก่าที่มีการปรับเปลี่ยนหน้าบ้านให้ทันสมัย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอาคารแถวที่แตกต่างไปจากห้องแถวอื่น ๆ แต่ยังคงรักษาโครงสร้างของตัวอาคารเก่าไว้อยู่





อาคารชิโนโปตุกิส


ลักษณะของอาคารที่เป็นห้องแถว 2 ชั้น มีลายปูนปั้นทรงยุโรป มีการปรับเปลี่ยนประตูเป็นแบบสมัยใหม่ยังคงเอกลักษณ์ของหน้าต่างดั้งเดิม




สถาปัตยกรรมยุโรปผสมจีน


ตึกเก่าย่านเมืองเก่าภูเก็ต รูปแบบของสถาปัตยกรรมยุโรปผสมจีน เป็นอาคาร 3 ชั้น ที่มีโครงสร้างและสถาปัตยกรรมผสมผสาน





ปราชญ์ชุมชนด้านการเล่าเรื่องท่องเที่ยวโดยชุมชน


คุณสมยศ ปาทาน ปราชญ์ชุมชนด้านการเล่าเรื่องท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำชมและเล่าเรื่องชาวของวิถีวัฒนธรรมชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต และเป็นผู้มีความรู้เรื่องผ้าปาเต๊ะ มีร้านจำหน่ายผ้าในชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต

ปราชญ์ชุมชนด้านงานฝีมือและผ้าปาเต๊ะ


นางยินดี มโนสุนทร ปราชญ์ชุมชนด้านงานฝีมือและผ้าปาเต๊ะ เป็นผู้นำวิสาหกิจชุมชนด้านการผลิตภัณฑ์สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทงานฝีมือ ที่ทำจากผ้าปาเต๊ะ และมีความเชี่ยวชาญด้านการเพ้นต์ปาเต๊ะ การปักลายลูกปัดในผืนผ้าได้อย่างละเอียดและสว

การจัดตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้านและจุดประทัดต้อนรับขบวนของพระออกหรือการแห่เจ้า


การเตรียมจัดโต๊ะบูชาหน้าบ้านเพื่อต้อนรับขบวนแห่พระรอบเมืองภูเก็ต หรืออิ้วเก้ง ซึ่งเป็นการออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์หรือออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์ โดยมีขบวนธง และป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นเป็นเกี้ยวหามรูปพระ เรียกว่าไท่เปี๋ย หรือเสลี่ยงเล็ก

อาหารเจ (ภูเก็ตเรียก ถือศีลกินผัก)


อาหารเจ คือ อาหารที่ละเว้นเครื่องปรุงมีกลิ่นฉุน และงดเนื้อสัตว์ ในเทศกาล “เจี๊ยะฉ่าย” ตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จัดในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึงขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี รวมถึงการถือศีล ประกอบพิธีไหว้ศาลเจ้าเพื่อ

ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต


คำว่า เจี๊ยะฉ่าย นั้นก็มีความหมายตรงตัวว่า "กินผัก" ซึ่งก็มีเรื่องเล่ากันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยพระยาถลาง ได้ย้ายงเข้ามาตั้งเมืองภูเก็ตที่ หมู่บ้านเก็ตโฮ่ ซึ่งแถบนี้อุดมไปด้วยแร่ดีบุก และเป็นแร่ที่มีความต้องการสูงมากในทางอุตสาหกร

การไหว้ด้วยขนมเต่าแดง (อั่งกู๊) ให้พ้อต่อก๋ง


“เทศกาลพ้อต่อ” ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการบำเพ็ญกุศลบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและผู้ล่วงลับ ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ตจะตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษและดวงวิญญาณเร่ร่อน ซึ่งมีทั้งการไหว้ที่บ้าน ไหว้ร่วมกันในชุมชน ตลาด และศาลเจ้าต่างๆ นอก

ประเพณีสารทจีน: การจัดวางของเซ่นไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ


วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศ

ประติมากรรมองค์พระจีนในศาลเจ้าแสงธรรม (พระอ๋องสุ้นไต่ส่าย)


ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นศาลเจ้าจีนที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดภูเก็ต เนื่องจากเป็นศาลเจ้าประจำตระกูลแซ่ตัน จึงทำให้ศาลเจ้ามีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จุดเด่นของศาลเจ้าแห่งนี้คือ มีการออกแบบตามสถาปัตยกรรมแบบจีน โดยการนำเอารูปปูนปั้นมังกรและตุ