เต้าส้อไส้เค็ม


ขนมชนิดนี้เป็นขนมมงคลเต้าส้อดั้งเดิมมีสองไส้ คือ ไส้หวานทำจากถั่วกวน และไส้เค็มทำจากถั่วกวนผัดกับเครื่องโขลกแล้วเติมเกลือลงไป แต่ปัจจุบันไส้เค็มเปลี่ยนเป็นแค่ถั่วกวนรสหวานห่อไข่แดงของไข่เค็มเท่านั้น





ถั่วทอด


“ถั่วทอด” เป็นของทานเล่นของคนพื้นถิ่นภูเก็ต เริ่มจากใส่แป้ง ไข่ น้ำตาลทราย และเกลือ คนพอเข้ากัน ค่อย ๆ เติมน้ำปูนใสลงไป นวดจนส่วนผสมเข้ากันดี เติมน้ำกะทิลงไป คนให้เข้ากัน แล้วนำไปกรองด้วยกระชอนถี่ ๆ ห


ขนมบี้พ้าง


ขนมข้าวพองทอดกรอบตัดเป็นแท่งๆ สี่เหลี่ยมผืนผ้า เกิดจากภูมิปัญญาของคนโบราณ ในการทำขนมกรอบ ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยใช้ ข้าวพอง (ข้าวเหนียวที่ทอดจนกรอบสีเหลืองทอง) ผสมกับหอมเจียว คลุกเคล้าด้วยน้ำตาลเคี่ยว ให้ออกรส หวาน เค็


ขนมพริก


ขนมพริก เป็นหนึ่งขนมของว่าง นิยมทานคู่กับน้ำชา ชาวภูเก็ตดั้งเดิมมักนิยมนำไปฝากคุณแม่คนใหม่หลังคลอด ขนมพริกไทยมีวัตถุดิบของพริกไทย เป็นพริกไทยดำแท้ ที่เต็มไปด้วยสรรพคุณทางยา และคุณประโยชน์ต่อร่างกาย คือจะช่วยขับลม แก้อาการ ท้องอืด ท


ขนมหน้าแตก


“ขนมหน้าแตก” ขนมหน้าแตกมักมีขายอยู่ตามร้านขายขนมจำพวกขนมไหว้เจ้า ขนมในงานแต่งงานมงคล ร้านขายขนมท้องถิ่นในตัวเมืองย่านเมืองเก่าภูเก็ต ขนมหน้าแตกคล้ายคุกกี้แบบฝรั่ง แต่กรรมวิธีการทำง่ายส่วนผสมไม่มีอะไรยุ่งยาก รับประทานคู่กับน้ำชา


ขนมหม่อหล่าว


หม่อหลาว “ขนมงาพอง” หรือ “ขนมหม่อหลาว”เป็นขนมที่ทำมาจากงาและเผือก เป็นขนมพื้นเมืองของพังงา และภูเก็ต มีที่มาจากชาวจีนโพ้นทะเลในมณฑลฮกเกี้ยน ที่ได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุก ทำให้มีการผสมผสานระหว่างไทย-จีน มอล่าว คือ slow food


ขนมมูหลู


ขนมมูหลู หรือ ขนมไข่ของภูเก็ต เป็นขนมของว่าง ที่ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใดก็ยังคงได้รับความนิยมรับประทาน เนื่องจากเป็นขนมที่ทานง่าย ขนาดพอดีคำ รสชาติคล้ายขนมเค้ก แต่เนื้อแป้งจะหยาบกว่า แถมราคาไม่แพง รสชาติก็อร่อย เมื่อทานจะมีกลิ


ขนมตุ๊กตาใส้ดำ


ขนมโบราณที่ปัจจุบันเริ่มจะหารับประทานยาก เป็นขนทที่คล้ายกับขนมเปี๊ยะ มีใส่ถั่วดำ รับประทานกับเครื่องดื่มร้อนๆ ยามเช้า เช่น ชา กาแฟ เป็นวิถีของคนบ่าบ๋าภูเก็ต





ขนมดอกบัว


ขนมดอกบัว ขนมโบราณพื้นเมืองภูเก็ต เป็นขนมอบทำจากแป้งสาลีที่ปั้นเป็นรูปกลีบดอกบัว มีรสชาติหอมหวาน นิยมรับประทานกับกาแฟ น้ำชา ปัจจุบัน เป็นขนมโบราณที่หารับประทานยาก





ปังเปี๊ยะ (ใส้หวาน)


ขนมปังเปี๊ยะ หรือ พังเปี๊ยะ คือ ขนมเปี๊ยะ ที่คนภูเก็ตดั่งเดิมนิยมรับประทานร่วมกับนมร้อน เป็นของว่างบำรุงสำหรับสุภาพสตรีหลังคลอดบุตร ส่วนผสมของขนมแบบดั่งเดิมที่ทำให้ขนมพองตัว ไม่ใส่ผงฟูหรือสารสังเคราะห์





ขนมคอเป็ด


ขนมคอเป็ดเป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้ ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียว นวดกับไข่ไก่ รีดเป็นแผ่นแล้วตัดเป็นชิ้น ๆ นำไปทอด สุกแล้วนำไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนได้ที่ (เรียกว่าหราน้ำผึ้ง) โรยด้วยงาขาว ตั้งให้เย็นก็นำมารับประทานได


ขนมโก้อ่อน


เป็นขนมหวานโบราณในจังหวัดภูเก็ต ถือเป็นขนมมงคลที้ใช้ในงานต่าง ๆ เนื้อสัมผัสของขนมมีความนุ่ม รสชาติหวานหอม เหมาะกับท่านที่ชอบรับประทานขนมหวาน รับประทานกับชา






ขนมไม้ตังเมกรอบ


ขนมไม้ตังเมกรอบ หรือ ตังเมหลอด เพราะมีรูปร่างลักษะ เป็นแท่ง มีรูตรงกลาง คล้ายหลอด นิยมทำถวายพระ และคนรักษาศีล ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เพราะ สามารถรับประทานแก้หิวได้โดยไม่ต้องเคี้ยวก็ละลาย จึงกลายเป็นขนมที่นิยมอย่างหนึ่งของชุ


ปันเจียนโก้ย


ปันเจียนโก้ย มีลักษณะคล้ายขนมถังแตก ตัวขนมเป็นแผ่นแป้งม้วนกรอบ มีรสชาติหวาน นิยมรับประทานกับกาแฟในตอนเช้า






เต้าส้อ (เค็ม) แม่บุญธรรม


คล้ายขนมเปี๊ยะ แบบบาบ๋าเปลือกจะบาง กรอบมาก ลูกเล็กประมาณ ๑-๑.๕นิ้ว เปลือกทำจากแป้งสาลีผสมน้ำมันหมู ไส้แบบโบราณมีรสหวานและเค็ม ทำจากถั่วเขียวบดผสมน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลข้าวหรือแบะแซ (ถ้าเค็มจะเพิ่มเกลือและหอมเจียวเคี่ยว)กวนเข้าด้วยกัน


เต้าส้อ (หวานไข่เค็ม) แม่บุญธรรม


คล้ายขนมเปี๊ยะ แบบบาบ๋าเปลือกจะบาง กรอบมาก ลูกเล็กประมาณ ๑-๑.๕นิ้ว เปลือกทำจากแป้งสาลีผสมน้ำมันหมู ไส้แบบโบราณมีรสหวานและเค็ม ทำจากถั่วเขียวบดผสมน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลข้าวหรือแบะแซ (ถ้าเค็มจะเพิ่มเกลือและหอมเจียวเคี่ยว)กวนเข้าด้วยกัน


ขี้มอด


ขนมคั่วบนกระทะ ผสมแป้งข้าวเจ้า มะพร้าวแก่ขูด ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วคลุกน้ำตาลทราย ใส่กระดาษทรงกรวยหรือถุงพลาสติกทรงกระบอกยาวๆ เวลากินต้องแกะเป็นรูเล็ก ๆ ค่อยหยอดลงปาก





ขนมไข่จระเข้ (ขนมปังอบกรอบ)


ขนมไข่จระเข้ หรือ ขนมปังอบกรอบ ของฝากภูเก็ต ขนมพื้นเมืองภูเก็ต รสชาติ หวาน มัน ทานคู่กับชา กาแฟ






ขนมโก๋ถั่ว


เป็นขนมพื้นเมืองภูเก็ตที่เริ่มจะหารับประทานยากในปัจจุบัน เป็นขนมอบที่มีไส้ถั่วตรงกลาง ทำจากแป้งสาลี ใช้ถาดสี่เหลี่ยมเป็นภาชระในการอบ เมื่ออบจนได้ที่ปล่อยให้เย็นและตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ รับประทานกับเครื่องดื่มประเภทร้อนแล


ขนมนก


“ขนมนก” สัญลักษณ์ภาพนก สื่อความหมายถึงความอุดมมงคล นกเป็นสัตว์มงคล ตามความเชื่อของจีนโบราณ และมีอิทธิพลมาถึงคนภูเก็ตเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน สังเกตุได้จากสถาปัตยกรรมของภูเก็ต บริเวณย่านเมืองเก่าภูเก็ตที่มีการแกะสลักปูนปั้นเป็นรูปนกตามเสาและผ


โรตีกรอบ








ขนมแต่เหลียง หรือ แต่เหลี่ยว


“แต้เหลียว” เป็นขนมมงคล และเป็นขนมสำหรับงานมงคล นิยมใช้ในงานแต่งงานของชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเชื่อว่ารสชาติหวานของขนมนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่จะจะทำให้ชีวิตคู่ รักกันหวานชื่นเหมือนกับความหวานของขนมนั่นเอง แต้เหลี้ยวแบบแต้จ


กาละแมไส้ถั่ว


ใช้แป้งข้าวเหนียว มะพร้าว น้ำตาลกวนให้เข้ากันจนเหนียว หวานมัน ใช้เวลาทำขนมนานเป็นวัน นิยมกวนในพิธีแต่งงานให้มีชีวิตคู่เหนียวแน่น





ขนมก้องถึง (ขนมตุ้บตั๊บ)


ขนมก้องถึง หรือ ขนมตุ้บตั๊บ เป็นขนมของว่างพื้นถิ่นของ ภูเก็ต มีรสชาติหวานมัน ของส่วนผสมของถั่วลิสงบด และน้ำตาลเนื้อขนมกรอบอร่อยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ความอร่อยของขนมต้นตำหรับเมืองภูเก็ต