ข้อง / ไซหัวหมู


ข้อง หรือไซหัวหมู เดิมเป็นของนายพรหมา บุญชุ่มใจ ปัจจุบันได้มอบให้ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไตลื้อ บ้านใบบุญ ไซหัวหมูมีขนาดความยาว 71 เซนติเมตร ความกว้าง 288 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 14 เซนติเมตร เป็นเครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่งทางภาคเหนือ ทำด้วยไม้ไผ่ นำมาเหลาเป็นซี่กลมขนาดเล็ก โดยส่วนมากจะนิยมดักปลาในช่วงฤดูฝน


ฝาชี / ฝาปิดข้าว


ฝาชีหรือฝาปิดข้าวนี้เดิมเป็นของนางอุสา บุญชุ่มใจ ทำจากไม้ไผ่สานขึ้นเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม มีหูจับด้านบน ใช้สำหรับปิดภาชนะนึ่งข้าว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้าน ฝาปิดข้าวนี้มีขนาดความสูง 13 เซนติเมตร ความกว้าง 27 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 13.5 เซนติเมตร


กระด้ง / ด๋ง (ภาษาไตลื้อ)


“กระด้ง” เป็นเครื่องจักสานหรืออุปกรณ์ที่คนในอดีตใช้ในการร่อนข้าว ตากเมล็ดพันธุ์พืช หรือตากอาหารแห้งต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้รองในการทำขนม กระด้งทำมาจากไม้ไผ่ โดยในการสานกระด้งจะเริ่มต้นสานจากส่วนกลางให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงทำการจักสานบริเวณขอบและดัดให้โค้งเป็นวงกลมเพื่อที่จะทำสันกระด้งหรือขอบกระด้ง นอกจากนี้ ผู้คนในอดีตสมัยยังนิยมนำกระด้งไปอังไฟ เพื่อให้เนื้อไม้ไผ่แห้งสนิทและมีสีที่สวยงาม


น้ำถุ้ง


น้ำถุ้งชิ้นนี้ เดิมเป็นของร.ต.ท.อนันต์ บัวมะลิ ทำจากไม้ไผ่สาน ทายางไม้ผสมขี้เลื่อยเพื่ออุดร่องไม้ไผ่ไม่ให้น้ำรั่วเวลานำไปตักน้ำ ด้ามจับทำจากไม้เนื้อแข็ง เจาะรูสำหรับผูกเชือกเพื่อจะนำไปตักน้ำในนำบ่อที่มีความลึก น้ำถุ้งชิ้นนี้มีขนาดความกว้าง 22 เซนติเมตร สูง 59 เซนติเมตร มีสภาพชำรุด เนื่องจากยางไม้ที่ใช้ทาอุดร่องหลุดกร่อนไปตามกาลเวลา


หมวก / กุบ (ภาษาไตลื้อ)


“กุบ” หมายถึง หมวก มีปีกทำจากไม้ไผ่สานประกบดินสองชั้นบุด้วยวัสดุประเภทใบไม้ บริเวณที่สวมศีรษะสานด้วยไม้ไผ่ สำหรับการทำหมวกหรือกุบเริ่มต้นด้วยการขึ้นโครงโดยใช้ไม้จริงตากเป็นโครงไว้ภายใน ส่วนภายนอกใช้ตอกเส้นเล็กๆ วางเรียงตามโครงของกุบ เมื่อได้โครงแล้วจึงนำออกจากพิมพ์ ก่อนที่จะใช้กระดาษสา หรือพลาสติก ทาบไว้บนโครงที่ทำสำเร็จแล้ว จากนั้นยึดโครงด้วยไม้ไผ่เหลา โดยดัดให้โครงเป็นทรงกลม ตามด้วยการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในอดีตกุบเป็นเครื่องมือสำคัญของชาวนาหรือชาวไร่เวลาไปสวนไปนา กุบใบนี้มีขนาดกว้าง 85 เซนติเมตร สูง 49 เซนติเมตร มีอายุมากกว่า 3 ปี อยู่ในสภาพสมบูรณ์


กระติ๊บข้าว


กระติ๊บใส่ข้าว เป็นเครื่องจักสาน ทำมาจากไม้ไผ่และใบจาก กระติ๊บใบนี้มีขนาดความสูง 23 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 9.5 เซนติเมตร มีสภาพสมบูรณ์ นางอุษา บุญชุ่มใจ เป็นผู้มอบให้กับศูนย์การเรียนรู้


สุ่มไก่ / แห้บไก่ (ภาษาไตลื้อ)


สุ่มไก่ หรือคอกไก่ ในภาษาไทลื้อเรียกว่า แห้บไก่ ทำขึ้นมาจากไม้ไผ่ ดดยลักษณะของแห้บไก่มีลักษณะเป็นทรงกลม ข้างบนมีช่องสำหรับใส่ไก่ และมีฝาปิดเพื่อป้องกันไก่หนีออก ทำมาจากไม้ไผ่สานซึ่งแล้วแต่ขนาดที่ต้องการ สำหรับแห้บไก่ชิ้นนี้มีขนาดปานกลาง โดยมีความสูง 42 เซนติเมตร ความกว้าง 44 เซนติเมตร อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เดิมเป็นสมบัติของนายอินตั๋น บัวมะลิ


หวดซาวข้าว


ฐานสานด้านบนเป็นลักษณะทรงกลม ฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยม