ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


เครื่องผสมดิน



แจกันร้อยไหมปักลาย


แจกันที่ออกแบบโดยนักออกแบบของธนบดี ซึ่งเป็นแจกันที่ทำขึ้นการหล่อน้ำดิน การทำฉลุลาย และขูดลาย และพ่นทรายบนเนื้อดินขาว ตัวแจกันสามารถเปลี่ยนลายได้ แนวคิดมาจากลายผ้าเพิ่มด้วยการนำเส้นทองแดงมาร้อย แกนเป็นสแตนเลส ทำให้การใช้งานได้นานไม่เป็นสนิมไม่กัดกร่อน มีอายุการใช้งานนานยิ่งขึ้น ผสมผสานอย่างลงตัวสวยงามถือเป็นวิวัฒนาการของการออกแบบแจกันตกแต่งบ้าน ได้รับรางวัลดีเด่นเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติครั้งที่ 17


ขลุ่ยเซรามิก หนัก 8 ขีด


สภาพสมบูรณ์


สินค้าพ่นทราย


การทำลวดลายบนพื้นผิวเซรามิคโดยใช้เทคนิคการพ่นทรายให้เกิดลวดลายคมชัด เกิดการแกะสลักขึ้น โดยใช้ลมเป่าให้ทรายเจาะตัวพื้นผิวให้เกิดลวดลายตามที่ออกแบบไหว้


ชามไก่ โดยศิลปินแห่งชาติ


สภาพสมบูรณ์ ขนาดเท่าไก่ทองคำ


จ๊อสำหรับถ้วยขนม


จ๊อ หรือ หีบดิน คือ อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุและครอบชามไก่ ไม่ให้โดนเปลวไฟและขี้เถ้าจากไม้เชื้อเพลิงขณะเผาในเตามังกร ลักษณะถาดเป็นทรงกลม มีช่องว่างระหว่างแถวเพื่อให้ความร้อนสามารถซอกซอนผ่านไปทั่วทุกแถวได้ดี ซึ่งจ๊อจะสามารถใช้งานซ้ำได้ประมาณ 3 - 5 รอบ ก็จะเริ่มผุและแตก ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ข้อมูลจำเพาะ ดินที่นำมาทำจ๊อ คือ ดินทนไฟที่มาจากอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เดิมต้องปั้นด้วยมือแต่ต่อมาใช้เครื่องจักรในการปั๊มขึ้นรูปเพื่อให้รวดเร็วและแข็งแรง มีลักษณะเป็นถาดกลม จ๊อมีสีน้ำตาลเข้ม และมีสนิมเกาะ ซึ่งเกิดจากในดินเหนียวที่ใช้ปั้นจ๊อมีส่วนผสมของแร่สนิมและเหล็ก


วอลล์อาร์ท เศษวัสดุแตกหักมากตกแต่ง


สภาพชำรุด


การชุบเคลือบ


การชุบเคลือบในสมัยก่อนเป็นการนำขี้เถ้าผสมน้ำมาทำการเคลือบ ในปัจจุบันวิวัฒนาการนำแร่ธรรมชาติมาผสมกับน้ำในการชุบเคลือบ มีส่วนประกอบ แร่ฟันม้า แร่ควอตซ์ หินปูน ทรายแก้ว และ น้ำ เมื่อเคลือบแล้วต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์แห้ง และเช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้สะอาดก่อนเข้าเตาเผา ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบเผาผ่านความร้อนอุณภูมิสูง วัตถุดิบเมื่อถึงจุดหลอมละลายชั้นของเคลือบจะกลายเป็นชั้นแก้วมันวาวติดอยู่กับผิวดิน เนื่องจากเคลือบมีสมบัติลื่นมือ สามารถทำความสะอาดง่ายกว่า ผิวดินที่มีลักษณะค่อนข้างหยาบเคลือบมีคุณสมบัติเป็นแก้วไม่ดูดซึมน้ำ และยังเพิ่มความแข็งแรงทนทานทำให้ภาชนะดินเผาไม่บิ่นง่ายเมื่อกระทบกันบ่อยๆ ขณะล้างทำความสะอาด และสามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม


การวาดถ้วย


สมบูรณ์


การขูดถ้วยขนม


การขูดถ้วยขนม ใช้แผ่นเหล็กหรือสังกะสีตัดเป็นแผ่นสีเหลี่ยมเล็ก ๆ ซึ่งตรงปลายมีตัดขอบโค้งให้รับกับขอบถ้วยขนม ใช้เพื่อขูดเหลี่ยมมุมข้างถ้วยให้มีความโค้งมน


เตาแก๊ส


สมบูรณ์


บ่อกวนน้ำดิน


สมบูรณ์


เตาไฟฟ้า



การติดลวดลายโดยไม่ต้องวาด


การติดลายเซรามิคแบบสมัยใหม่ซึ่งธนบดีได้นำเทคนิคนี้มาใช้เป็นที่แรกของภาคเหนือปัจจุบัน ได้ถ่ายทอดวิธีนี้ไปยังสาธารณะชนให้ได้ทราบกรรมวิธีอย่างใกล้ชิด การตกแต่งลวดลายด้วยรูปลอกสีบนเคลือบ ซึ่งเป็นสีประเภทเดียวกับที่ใช้เขียนชามไก่ แต่ใช้การผลิตด้วยซิลค์สกรีนเพื่อให้ลวดลายคมชัดมากที่สุด การใช้งานด้วยการแช่รูปลอกบนฟองนี้เปียกแล้วนำไปติดบนผลิตภัณฑ์ที่เผาสุกตัวแล้วใช้ยางรีดเอาน้ำส่วนเกินออก เช็ดให้แห้ง และนำเข้าเตาเผาแบบไฟฟ้าอุณหภูมิ 750 องศาจะได้ผลิตภัณฑ์สีสวยติดทน ธนบดีได้นำเทคนิคมาใช้เป็นที่แรกของภาพเหนือตั้งแต่ปี 2533


การตกแต่งผลิตภัณฑ์ ทำด้วยมือ



การขึ้นรูปด้วยการเทน้ำดิน


การผลิตเซรามิคแบบปัจจุบัน เรียกว่าการเทน้ำดิน เริ่มจากการเตรียมแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์แห้งที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ จากนั้นนำน้ำดินเข้มข้นที่เตรียมไว้แล้วลงในแม่พิมพ์ พิมพ์ก็จะดูดน้ำออกจากน้ำดินทำให้ดินเกาะผนังแม่พิมพ์หนาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อได้ความหนาตามที่ต้องการก็จะเทน้ำดินส่วนที่เหลือออกรอให้หมาดดินด้านในระร่อนออกจากแม่พิมพ์ได้เซรามิคเป็นชิ้น แม่พิมพ์แต่ละตัวมีอายุการใช้งาน 50-100 รอบขึ้นอยู่กับรายละเอียดของงาน


การวาดถ้วยกาไก่ แบบโบราณ


สี พู่กัน สีสกัดจากธรรมชาติ


เครื่องจิ๊กเกอร์-ปัจจุบัน


การปั้นด้วยเครื่องจิ๊กเกอร์ ใช้ระบบมอเตอร์หมุน และแม่พิมพ์ก็มีขาชามอยู่ในตัว มีใบมีดติดอยู่กับคันเหล็กสามารถควบคุมความหน้าได้เท่ากันทุกด้านและทุกใบจึงไม่จำเป็นจะต้องทำปากชามให้เป็นแบบเหลี่ยมเหมือนการปั้นแบบโบราณ กำลังการผลิตต่อวันอยู่ที่ 300 ใบ ขั้นตอนต่อมาคือการเช็ดแต่งและการเคลือบ เพื่อดูความเรียบร้อยทั่วไป แห้งแล้วจึงนำชามไปชุบในน้ำยาเคลือบซึ่งมีส่วนผสมของหินฟันม้าและหินควอทซ์ซึ่งเมื่อเผาแล้วจะกลายเป็นเนื้อแก้วเคลือบบนเนื้อเซรามิคให้เกิดความสวยงามและล้างทำความสะอาดง่าย ซึ่งเคลือบเราจะมี 2 แบบคือเคลือบแบบปัจจุบันที่ใช้แร่ดังกล่าว และการใช้เคลือบจากขี้เถ้าแกลบที่จะให้สีอมเขียวเป็นเคลือบแบบโบราณ จากนั้นนำชามไปเผาที่อุณหภูมิ 1,260 องศาเซลเซียสจนสุกตัว


แป้นหมุนปั้นชามไก่โบราณ


การปั้นชามไก่แบบโบราณ ซึ่งแต่ก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้จึงใช้ล้อจักรยานพอกด้วยปูนพลาสเตอร์ให้หนาเพื่อที่จะให้มีแรงเหวี่ยง การปั้นเริ่มจากการใส่พิมพ์ลงไปในแป้นหมุนแล้วทำดินให้เป็นแผ่นเหมือนโรตีแล้ววางลงในแม่พิมพ์จากนั้นใช้ไม้แบบโค้ง เรียกว่า ไม้ไกด์ จุ่มน้ำแล้วรีดให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ จากนั้นตัดปากเอาดินส่วนที่เกินออก ทิ้งไว้ให้หมาดเพื่อจะนำมาต่อขาชาม ด้วยการขูดก้นชามด้านนอกให้เป็นรอเพื่อจะให้ขายึดกับตัวถ้วยได้ดียิ่งขึ้น จากนั้นปั้นขาชามเป็นเส้นแล้วนำมาขดติดกับก้นถ้วย ใช้ผ้าชุบน้ำรีดขาถ้วยให้กลมและสูงมากพอเสร็จแล้วผึ่งไว้ให้แห้ง กำลังการผลิตต่อคนทำได้วันละประมาณ 30 ใบ แต่หากมีออร์เดอร์มากก็จะใช้คนสองคน โดยคนหนึ่งมีหน้าที่เหวี่ยงแป้นอีกคนเป็นคนปั้นก็จะเร็วขึ้นมากกว่าสองเท่า


ชามไก่สีใต้เคลือบ


มีอายุ 50 กว่าปี สภาพชำรุด


ชามไก่เจ้าแรกของลำปาง


สมบูรณ์ มีอายุ 62 ปี


ชามไก่โบราณ


ลักษณะพิเศษตามอย่างของชามไก่โบราณคือ ปากของชามจะไม่กลมสนิทแต่จะออกเป็นรูปแปดเหลี่ยม เนื่องจากการผลิตในสมัยโบราณไม่มีเครื่องจักร การควบคุมความหนาของชามทำได้ยากมาก หากเป็นแบบกลมเมื่อเผาแล้วก็จะบิดเบี้ยว จึงได้ทำโครงสร้างเป็นเหลี่ยมเพื่อเป็นตัวบังคับทรงไม่ให้เบี้ยวง่าย ส่วนที่สองคือขาของชามจะต้องสูงและบานออก เนื่องจากชาวจีนจะนิยมจับปากและขาชามเพื่อพุ้ยข้าวและข้าวต้ม ขาสูงจะช่วยลดไม่ให้ขาชามร้อนมาก และสุดท้ายคือลายเขียนไก่และดอกไม้จะต้องสีสดและลอยอยู่บนผิวเคลือบของชามไก่หรือเรียกว่าการวาดสีบนเคลือบจึงจะเป็นของแท้ ชามไก่ในยุคสุดท้ายหรือยุคที่มีการลดต้นทุนและตัดราคากันทำให้ชามไก่สีสันซีดจางลวดลายไม่สวยงาม จึงเริ่มเสื่อมความนิยมลงไปเรียกการวาดสีใต้เคลือบ แต่เดิมนั้นชามไก่ในประเทศจีนจะมีเพียง 2ขนาด คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว และ 6 นิ้ว ขนาด 8 นิ้วจะใช้กับผู้ใช้แรงงานที่ทานจุ ส่วนขนาด 6 นิ้วจะใช้กับบ้านเรือน และร้านอาหารทั่วไป


ครัวโบราณ


ห้องครัวโบราณของตระกูลธนบดีสกุล ที่รวบรวมเข้าของใช้ในอดีตที่หาดูได้ยากในสมัยปัจจุบัน เป็นการแสดงวิถีชีวิตของครอบครัวที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวล้านนาและชาวจีน เป็นการแสดงให้เห็นความเรียบง่ายของการใช้ชีวิตของอาปาอี้ ซิมหยู แซ่ฉิ่นและครอบครัว


เตามังกรโบราณ


สร้างประมาณ พ.ศ. 2507 เป็นเตาโบราณ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 เสร็จปี พ.ศ. 2508 ใช้ดินคันนา ดินจอมปลวก


กระเป๋าหนังอายุ 100 กว่าปี


กระเป๋าที่นายซิมหยู แซ่ฉิน ต้นตระกูล ธนบดีสกุล นำติดตัวมาจากเมืองจีน เป็นกระเป๋าที่ทำจากไม้ห่อหุ้มด้วยหนังวัวสีน้ำตาล มีหูจับเป็นเหล็ก อายุ ไม่ต่ำกว่า 100 ปี


ชามไก่ยักษ์


ชามไก่ยักษ์ผลิตโดยดินขาวจาก อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง จะใช้การวาดมือ องค์ประกอบลวดลายจะเหมือนลวดลายชามไก่โบราณ เป็นการวาดมือโดยช่างของ ธนบดี ข้อมูลจำเพาะ: เส้นผ่านศูนย์กลาง 17 นิ้ว สูง 5.5 นิ้ว ลวดลายประกอบด้วย ตัวไก่สีส้ม ดอกโบตั๋น ใบไม้ ต้นหญ้า ตันกล้วย ใช้การเผา ครั้งที่ 1 ใช้อุณหภูมิ 1260 องศา เผาครั้งที่ 2 หลังจากวาดสี ใช้อุณหภูมิ 750 องศา


ถ้วยขนม


ถ้วยขนม หรือ ถ้วยขนมฟู ต้นกำเนิดมาจากจอกน้ำชาของกังฟู ของคนจีน ถ้วยมีสีขาวล้วนไม่มีลาย มีการผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดลำปางปี 2508 โดย นายซิมหยู แซ่ฉิน โรงงานธนบดีสกุล คนไทยได้นำถ้วยนี้ไปเป็นอุปกรณ์ช่วยนึ่งขนมเช่น ขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด เป็นต้น ขั้นตอนการผลิตถ้วยขนมจะปั้นโดยเครื่องจิ๊กเกอร์ และแม่พิมพ์ ใช้ดินขาวอำเภอแจ้ห่ม ซึ่งโรงงานธนบดีสกุลยังมีการผลิตจนถึงปัจจุบัน และถือเป็นโรงงานแรกที่ผลิตถ้วยขนมในประเทศไทย


ถ้วยน้ำจิ้ม ไม่มีวาสีน้ำเงิน


สมบูรณ์


ถ้วยทองหยิบ


สมบูรณ์


ถ้วยตะไล


“ถ้วยตะไล” ต้นกำเนิดมาจากถ้วยน้ำจิ้มของชาวจีน ถ้วยมีสีขาวล้วนไม่มีลาย มีการผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดลำปางปี 2508 โดย นายซิมหยู แซ่ฉิน โรงงานธนบดีสกุล มีการวงสีน้ำเงินตรงขอบปากถ้วยด้านบนและตรงกลางถ้วยด้านใน และด้านข้างของตัวถ้วย แต่เดิมวาด “ลายนกบิน” เรียกว่า “ถ้วยตราลาย” แต่ต่อมาออกเสียงเพี้ยนเป็น “ถ้วยตะไล” คนไทยได้นำถ้วยตะไลบรรจุ ขนมถ้วย แล้วนำไปนึ่ง สีขาวของกะทิ ตัดกับสีน้ำเงินตรงขอบปากถ้วยทำให้น่ารับประทาน ขั้นตอนการผลิตถ้วยขนมจะปั้นโดยเครื่องจิ๊กเกอร์ และแม่พิมพ์ ใช้ดินขาวอำเภอแจ้ห่ม ซึ่งโรงงานธนบดีสกุลยังมีการผลิตจนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นโรงงานแรกที่ผลิตถ้วยตะไลในประเทศไทย


จานรองแก้วดูดน้ำ ลายผ้าพื้นเมือง


สมบูรณ์


จานรองแก้วดูดน้ำ ลายผ้าพื้นเมือง


สมบูรณ์


ครอบครัวไก่


ชามไก่ลาดครอบครัว ออกแบบปี 2560 ผลิตในปี 2561 โดยนักออกแบบและช่างฝีมือของ ธนบดี วาดด้วยมือประยุกต์ลวดลายจากลายไก่โบราณ กับแนวคิดที่แสดงออกถึงการเป็นครอบครัว การอยู่ด้วยกัน ด้วยลวดลายชามไก่ลายครอบครัวไก่ จะประกอบด้วยภาพ ไก่ตัวผู้,ไก่ตัวเมีย, ลูกเจี๊ยบ, ใบไม้, ดอกโบตั๋น, ต้นหญ้า, ต้นกล้วย มีรูปแบบของชาม และจาน


ชามไก่ Monochick


ชามไก่ลายMonochick วาดมือ เป็นชามไก่ที่สร้างสรรค์มาจากชามไก่โบราณ โออกแบบปี 2560 ผลิตในปี 2561 โดยนักออกแบบและช่างฝีมือของ ธนบดี ลวดลายที่นำมาวาดเฉพาะ ลายไก่ ตัวไก่สีส้ม และหางสีดำ และลายดอกโบตั๋นสีชมพูอมม่วง ทำให้เกิดลวดลายสวยงามโดดเด่น ของสีม่วง เพิ่มความหรูหราและแปลกใหม่สำหรับชามไก่ แต่ยังคงเอกลักษณ์ลวดลายโบราณได้อย่างลงตัว


ชามไก่ Blue & White


ชามไก่สีฟ้าออกแบบปี 2560 ผลิตในปี 2561 โดยนักออกแบบและช่างฝีมือของ ธนบดี เป็นชามไก่วาดชามไก่ลายโบราณด้วยมือกับแนวคิดการลงสีบนชามไก่ด้วยสีฟ้าครามล้วนแบ่งโทนสีเข้มอ่อนด้วนสีเดียวกัน มีลวดลายแบบชามไก่โบราณ องค์ประกอบลวดลาย ไก่ตัวผู้,ใบไม้, ดอกโบตั๋น, ต้นหญ้า, ต้นกล้วย เพื่อสร้างความหลากหลายเอาใจลูกค้ากลุ่มที่ชื่นชอบงานชามไก่สีลายคราม


ชุดบูชาลายคำ


ชุดหมู่บูชา "บูชาดี" บายศรี ล้านา 2 พบกับสุดยอดความคลาสสิคของลายไทย สีทองสลับพื้นสีดำทรงกลมสวยงาม ลวดลายประณีต ทรงกลมสวยงาม ประกอบไปด้วย แจกัน 2 ชิ้น เชิงเทียน 2ชิ้น และกระถางธูป 1 ชิ้น “ลายคำ” งานศิลปกรรมลายคำนี้มีอายุเริ่มต้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๔ ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง เช่น วิหารพระพุทธ กับวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง, วิหารวัดไหล่หิน อำเภอเกาะคา,วิหารวัดเวียง อำเภอเถิน, วิหารวัดปงยางคก อำเภอห้างฉัตร ,วิหารโคมคำวัดพระธาตุเสด็จ,วิหารวัดคะตึก เชียงมั่น อำเภอเมืองลำปาง


หินลับมีด


การค้นพบแร่ดินขาวที่จังหวัดลำปาง อาปาอี้ (ซิมหยู) แซ่ฉิน เมื่อครั้งทำสวนผักอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้สังเกตเห็นหินลับมีดที่ชาวบ้านนำมาขายว่าน่าจะเป็นหินที่เป็นแร่ดินขาวซึ่งท่านเคยเห็นเมื่อครั้งทำเซรามิคอยู่ที่ประเทศจีนจึงได้สอบถามถึงที่มาของหินลับมีดเหล่านั้น แล้วทราบว่ามาจาก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ท่านจึงนำจักรยานคู่ชีพออกค้นหาแหล่งดินขาว จนกระทั่งพบที่บ้านปางค่า อำเภคแจ้ห่มระหว่างกิโลเมตรที่ 26 - 27 ถนนลำปาง - แจ้หม่ เมื่อปี พ.ศ. 2498 จากนั้นได้จ้างเกวียนเทียมวัวบรรทุกแร่ดินขาวออกมาแล้วนำดินขึ้นรถไปมา ทดลองปั้นถ้วยชาม ที่โรงงานในจังหวัดเชียงใหม่และโรงงานที่จังหวัดธนบุรี ( ก่อนรวมกับจังหวัดกรุงเทพ ฯ ในปี 2515) ผลปรากฎว่า ดินที่ท่านนำไปทดลองนั้น เป็นเนื้อดินขาวที่มีคุณภาพดีและให้เนื้อดินขาวสวยงาม เผาอุณหภูมิไม่สูงมาก และเหมาะสำหรับการปั้นถ้วยชาม


ชามตราไก่ทองคำ


สมบูรณ์


ชามตราไก่จิ๋ว


สมบูรณ์


ตุ๊กตาDAC Doll


สินค้าตุ๊กตาผ้ามีหัว มือ และเท้าทำด้วยเซรามิค เรียกว่า ตุ๊กตาคราวน์(Crown Doll) ผลิตจากเนื้อดินพอร์ซเลนที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษ ตกแต่งด้วยรูปลอกสีบนเคลือบ ตัวตุ๊กตาแต่งด้วยผ้าไหมแท้จากจังหวัดนครราชสีมา และผ้าฝ้ายพิมพ์ลาย เป็นการแต่งกายของชนเผ่า มีลายผ้าปักด้วยมือของชาวเขา ในตัวตุ๊กตายัดปุยนุ่น ใช้ชื่อการค้าว่า DAC DOLL ย่อมากจาก Dhanabadee Art Ceramic Doll ออกแบบโดย คุณพนาสิน ธนบดีสกุล ส่งออกจำหน่ายที่ประเทศเยอรมันในปี 2533 ประสบความสำเร็จอย่างมากราคาขาต่อชิ้นประมาณ 3,000 บาท ปัจจุบันไม่มีการผลิตแล้ว


ชามตราไก่ที่บางที่สุด


สมบูรณ์


ชามตราไก่พี่ยุพิน


สมบูรณ์