แจกัน Monique Vase


“Monique Vase” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถ่ายทอดลักษณะเด่นเฉพาะตัวของพื้นผิวงานจักสานพื้นบ้านลงบนงานเซรามิค เพื่อให้สามารถใส่น้ำและดอกไม้สดได้ช่วยให้รู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การใช้เซรามิคเป็นวัสดุหลักยังช่วยลดการใช้ไม้ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเซรามิคยังทำความสะอาดได้ง่ายกว่าผลิตภัณฑ์ไม้


ที่วางสบู่ แปรงสีฟัน


ที่มีแนวคิดในการนำเอาลวดลายมาตกแต่งโดยการนำเอาลวดลายของเอเชียตะวันออกมาผสมผสานกับลายเส้นสาง อันละเอียดอ่อนก่อให้เกิดลวดลายคล้ายเครื่องจักรสาน “ย่านลิเภา” ทำให้เกิดความแปลกใหม่ของชิ้นงาน เน้นการออกแบบที่ทันสมัย ดัดแปลงหรือผสมผสานกับพื้นผิวเลียนแบบธรรมชาติ สร้างสรรค์งานที่แตกต่างระหว่างเซรามิกกับเครื่องจักรสาน


แก้วใส่เทียน


แก้วใส่เทียน ที่มีแนวคิดในการสร้างความโรแมนติกหรูหรา ของโต๊ะอาหารใต้แสงเทียนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ Angle lamp ความโปร่งแสงของเนื้อดิน และความใสของแก้ว ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ สวยงาม และบอบบาง ของลายกุหลาบป่าที่กลายมาเป็นลวดลายสินค้าอีกด้วย และมีการเน้นการออกแบบที่รูปแบบทันสมัยดัดแปลงหรือผสมผสานระหว่างเซรามิคกับแก้ว โดยอ้างอิง Trend การออกแบบและนำมาประยุกต์กับชิ้นงานโดยสินค้าเซรามิคประเภท Porcelain มีคุณสมบัติเด่นในด้านความขาว ความแข็งแกร่ง และน้ำหนักเบา ซึ่งผนวกกับเทคนิคการพ่นทราย ในการตกแต่งลวดลายให้สวยงามที่มีมิติความอ่อนหวานจากลายกุหลาบป่า


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ ชมัยภร บางคมบาง


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง)เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2557


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ เดชา วราชุน


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ เดชา วราชุน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์และสื่อผสม) ประจำปี 2550


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ธงชัย รักปทุม


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ธงชัย รักปทุม วันที่เกิด 3 มิถุนายน 2484 ศิลปินแห่งชาติผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2553


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ ศิลปินสองซีกโลก กมล ทัศนาญชลี


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ ศิลปินสองซีกโลก กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) เกิดเมื่อ 17 มกราคม 2487 ถือเป็นศิลปินดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ทางด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ปรีชา เถาทอง


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ปรีชา เถาทอง วันที่เกิด 27 เมษายน 2491 ศิลปินแห่งชาติผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยการ ประจำปีพุทธศักราช 2552


ผลิตภัณฑ์ ช้างเผือก


เซรามิคที่ระลึกรูปช้างดีไชน์สมัยใหม่ ได้ออกแบบและผลิตสินค้าเซรามิคของที่ระลึกที่เป็นรูปช้างกลากหลายประเภท โดยใช้ชื่อว่า "White Elephant" หรือ "ช้างเผือก" ซึ่งช้างเผือกถือเป็นช้างมงคลประจำแต่ละรัชกาลและเคยเป็นสัญลักษณ์บน ธงชาติไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 6 ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์แบบที่ ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สินค้า "ช้างเผือก" จึงเป็นสัญลักษณ์ของการตอบแทนคุณของแผ่นดินและสังคม


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


แจกันร้อยไหมปักลาย


แจกันที่ออกแบบโดยนักออกแบบของธนบดี ซึ่งเป็นแจกันที่ทำขึ้นการหล่อน้ำดิน การทำฉลุลาย และขูดลาย และพ่นทรายบนเนื้อดินขาว ตัวแจกันสามารถเปลี่ยนลายได้ แนวคิดมาจากลายผ้าเพิ่มด้วยการนำเส้นทองแดงมาร้อย แกนเป็นสแตนเลส ทำให้การใช้งานได้นานไม่เป็นสนิมไม่กัดกร่อน มีอายุการใช้งานนานยิ่งขึ้น ผสมผสานอย่างลงตัวสวยงามถือเป็นวิวัฒนาการของการออกแบบแจกันตกแต่งบ้าน ได้รับรางวัลดีเด่นเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติครั้งที่ 17


ขลุ่ยเซรามิก หนัก 8 ขีด


สภาพสมบูรณ์


ชามไก่ โดยศิลปินแห่งชาติ


สภาพสมบูรณ์ ขนาดเท่าไก่ทองคำ


ชามไก่สีใต้เคลือบ


มีอายุ 50 กว่าปี สภาพชำรุด


ชามไก่เจ้าแรกของลำปาง


สมบูรณ์ มีอายุ 62 ปี


ชามไก่โบราณ


ลักษณะพิเศษตามอย่างของชามไก่โบราณคือ ปากของชามจะไม่กลมสนิทแต่จะออกเป็นรูปแปดเหลี่ยม เนื่องจากการผลิตในสมัยโบราณไม่มีเครื่องจักร การควบคุมความหนาของชามทำได้ยากมาก หากเป็นแบบกลมเมื่อเผาแล้วก็จะบิดเบี้ยว จึงได้ทำโครงสร้างเป็นเหลี่ยมเพื่อเป็นตัวบังคับทรงไม่ให้เบี้ยวง่าย ส่วนที่สองคือขาของชามจะต้องสูงและบานออก เนื่องจากชาวจีนจะนิยมจับปากและขาชามเพื่อพุ้ยข้าวและข้าวต้ม ขาสูงจะช่วยลดไม่ให้ขาชามร้อนมาก และสุดท้ายคือลายเขียนไก่และดอกไม้จะต้องสีสดและลอยอยู่บนผิวเคลือบของชามไก่หรือเรียกว่าการวาดสีบนเคลือบจึงจะเป็นของแท้ ชามไก่ในยุคสุดท้ายหรือยุคที่มีการลดต้นทุนและตัดราคากันทำให้ชามไก่สีสันซีดจางลวดลายไม่สวยงาม จึงเริ่มเสื่อมความนิยมลงไปเรียกการวาดสีใต้เคลือบ แต่เดิมนั้นชามไก่ในประเทศจีนจะมีเพียง 2ขนาด คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว และ 6 นิ้ว ขนาด 8 นิ้วจะใช้กับผู้ใช้แรงงานที่ทานจุ ส่วนขนาด 6 นิ้วจะใช้กับบ้านเรือน และร้านอาหารทั่วไป


ชามไก่ยักษ์


ชามไก่ยักษ์ผลิตโดยดินขาวจาก อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง จะใช้การวาดมือ องค์ประกอบลวดลายจะเหมือนลวดลายชามไก่โบราณ เป็นการวาดมือโดยช่างของ ธนบดี ข้อมูลจำเพาะ: เส้นผ่านศูนย์กลาง 17 นิ้ว สูง 5.5 นิ้ว ลวดลายประกอบด้วย ตัวไก่สีส้ม ดอกโบตั๋น ใบไม้ ต้นหญ้า ตันกล้วย ใช้การเผา ครั้งที่ 1 ใช้อุณหภูมิ 1260 องศา เผาครั้งที่ 2 หลังจากวาดสี ใช้อุณหภูมิ 750 องศา


ถ้วยขนม


ถ้วยขนม หรือ ถ้วยขนมฟู ต้นกำเนิดมาจากจอกน้ำชาของกังฟู ของคนจีน ถ้วยมีสีขาวล้วนไม่มีลาย มีการผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดลำปางปี 2508 โดย นายซิมหยู แซ่ฉิน โรงงานธนบดีสกุล คนไทยได้นำถ้วยนี้ไปเป็นอุปกรณ์ช่วยนึ่งขนมเช่น ขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด เป็นต้น ขั้นตอนการผลิตถ้วยขนมจะปั้นโดยเครื่องจิ๊กเกอร์ และแม่พิมพ์ ใช้ดินขาวอำเภอแจ้ห่ม ซึ่งโรงงานธนบดีสกุลยังมีการผลิตจนถึงปัจจุบัน และถือเป็นโรงงานแรกที่ผลิตถ้วยขนมในประเทศไทย