บ้านหลังแรก ตระกูลธนบดีสกุล


บ้านหลังแรก ตระกูล ธนบดีสกุล บ้านรูปทรงล้านนาโบราณที่สร้างจากไม้บ้านเก่าของชาวบ้านในละแวกวัดจองคำ เพื่อให้ครอบครัวได้มีที่อาศัย หลังจากที่ อาปาอี้ได้พาครอบครัวอพยพจากจังหวัดเชียงใหม่ สร้างใน ปี 2507 มีเสา 9 เสา มีบันไดทางเดียวยื่นมาจากตัวบ้าน มีหน้าต่าง และบานไม้เลื้อนเพื่อเปิดระบายลม ปัจจุบันได้อนุรักษ์ตัวบ้านเพื่อเป็นอนุสรณ์ของครอบครัวและให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม


การกลับมาของชามไก่


การกลับมาของชามไก่ คุณพนาสิน ได้ทำการผลิตชามไก่ในปี 2539 เกิดจากเห็นชามไก่เก่าที่บ้านจึงทำการผลิตชามไก่ในรูปแบบดั้งเดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ผู้เป็นพ่อได้นำไปโชว์ในงานแสดงสินค้านานาชาติที่กรุงเทพฯ (งาน BIG+BIH) ของกรมส่งเสริมการส่งออก ประสบความสำเร็จรับการสั่งซื้อจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทำให้ชามไก่กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ตั้งแต่ ปี 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย ทำให้โรงงานเซรามิคต่างๆ ลดกำลังการผลิตและบางส่วนปิดตัวลงไป แต่ธนบดีผลิตชามไก่ส่งขายสวนกระแสเศรษฐกิจในยุคนั้น โรงงานอื่นก็ผลิตชามไก่ขายบ้างทำให้เศรษฐกิจเซรามิคลำปางเริ่มดีขึ้น และชามไก่ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของเซรามิคลำปางมาถึงปัจจุบัน แต่ผู้ผลิตชามไก่ปัจจุบันเกือบทั้งหมดผลิตด้วยวิธีการลดต้นทุนคือการเขียนสีครั้งเดียวแล้วเผาในอุณหภูมิต่ำทำให้สีซีดจางและทนทานน้อยกว่าชามไก่แบบดั้งเดิม แต่ชามไก่ของธนบดียังยืนหยัดในการผลิตด้วยเนื้อดินขาวอย่างดี เผาอุณหภูมิสูง และเขียนลายไก่ด้วยสีบนเคลือบการวาดแบบโบราณ และใช้สีในการวาดคุณภาพดีปลอดจากสารเคมีที่เป็นพิษนำเข้ามาจากเยอรมันและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากล เพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยมีโลโก้เป็นภาษาจีน อ่านว่า เล้งเอี้ย ซึ่งแปลว่า เตามังกร เป็น ที่เดียวในประเทศที่ผลิตจนปัจจุบัน


ประวัติต้นกำเนิดชามไก่


ชามไก่กำเนิดในภาคใต้ของจีน เมื่อกว่าสองร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป โดยเรือสำเภา โดยเฉพาะหลัง ที่มีชาวจีนอพยพลี้ภัยมาอยู่ในประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย แต่ชาวจีนก็ยังคุ้นชินกับการใช้ชามไก่ในการพุ้ยข้าว ดังนั้นชามไก่จึงกลายเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ลวดลายที่วาดบนชามมาจากวิถีชีวิตของคนจีนที่มีอาชีพเกษตรกรรม เป็นสิ่งใกล้ตัวซึ่งมีความหมายที่ดีทั้งสิ้น ชามไก่ธนบดีจะต้องมีองค์ประกอบ ได้แก่ ไก่ ดอกโบตั๋น ใบไม้ ต้นกล้วย ต้นหญ้า ที่ปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นสินค้า GI ของจังหวัดลำปาง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์


โรงงานผลิตถ้วยขนม-ถ้วยตะไลแห่งแรกในประเทศไทย


โรงงานผลิตถ้วยขนม-ถ้วยตะไลแห่งแรกในประเทศไทย หลังจาก นายซิมหยู แซ่ฉิน แยกตัวออกมาจากโรงงานร่วมสามัคคี ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตถ้วยขนม-ถ้วยตะไล ปี 2508 ช่วงแรกใช้ชื่อว่าโรงงานแปะซิมหยู ต่อมาเปลี่ยนเป็น โรงงานธนบดีสกุล ผลิตสินค้าประเภทถ้วยขนม ถ้วยน้ำจิ้มและถ้วยตะไลมาตลอด 54 ปี ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณและเผาในเตามังกร นายซิมหยู ได้เสียชีวิตเมื่อปี 2535 อายุ 83 ปี หลังจากนั้นบุตรสาวคนโต นางสาวยุพิน ธนบดีสกุล เป็นผู้สืบทอดกิจการจนถึงปัจจุบัน โดยรักษาความเป็นโรงงานดั้งเดิมไว้ทุกอย่างเพื่อความตั้งใจที่จะสานต่อธุรกิจของครอบครัว มีการจำหน่ายแบบปลีก-ส่ง มีพ่อค้าคนกลางมาซื้อและขายต่อทั่วประเทศ


สินค้าพ่นทราย


การทำลวดลายบนพื้นผิวเซรามิคโดยใช้เทคนิคการพ่นทรายให้เกิดลวดลายคมชัด เกิดการแกะสลักขึ้น โดยใช้ลมเป่าให้ทรายเจาะตัวพื้นผิวให้เกิดลวดลายตามที่ออกแบบไหว้


วอลล์อาร์ท เศษวัสดุแตกหักมากตกแต่ง


สภาพชำรุด


การชุบเคลือบ


การชุบเคลือบในสมัยก่อนเป็นการนำขี้เถ้าผสมน้ำมาทำการเคลือบ ในปัจจุบันวิวัฒนาการนำแร่ธรรมชาติมาผสมกับน้ำในการชุบเคลือบ มีส่วนประกอบ แร่ฟันม้า แร่ควอตซ์ หินปูน ทรายแก้ว และ น้ำ เมื่อเคลือบแล้วต้องทิ้งให้ผลิตภัณฑ์แห้ง และเช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้สะอาดก่อนเข้าเตาเผา ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบเผาผ่านความร้อนอุณภูมิสูง วัตถุดิบเมื่อถึงจุดหลอมละลายชั้นของเคลือบจะกลายเป็นชั้นแก้วมันวาวติดอยู่กับผิวดิน เนื่องจากเคลือบมีสมบัติลื่นมือ สามารถทำความสะอาดง่ายกว่า ผิวดินที่มีลักษณะค่อนข้างหยาบเคลือบมีคุณสมบัติเป็นแก้วไม่ดูดซึมน้ำ และยังเพิ่มความแข็งแรงทนทานทำให้ภาชนะดินเผาไม่บิ่นง่ายเมื่อกระทบกันบ่อยๆ ขณะล้างทำความสะอาด และสามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม


เตาแก๊ส


สมบูรณ์


บ่อกวนน้ำดิน


สมบูรณ์


เตาไฟฟ้า



การติดลวดลายโดยไม่ต้องวาด


การติดลายเซรามิคแบบสมัยใหม่ซึ่งธนบดีได้นำเทคนิคนี้มาใช้เป็นที่แรกของภาคเหนือปัจจุบัน ได้ถ่ายทอดวิธีนี้ไปยังสาธารณะชนให้ได้ทราบกรรมวิธีอย่างใกล้ชิด การตกแต่งลวดลายด้วยรูปลอกสีบนเคลือบ ซึ่งเป็นสีประเภทเดียวกับที่ใช้เขียนชามไก่ แต่ใช้การผลิตด้วยซิลค์สกรีนเพื่อให้ลวดลายคมชัดมากที่สุด การใช้งานด้วยการแช่รูปลอกบนฟองนี้เปียกแล้วนำไปติดบนผลิตภัณฑ์ที่เผาสุกตัวแล้วใช้ยางรีดเอาน้ำส่วนเกินออก เช็ดให้แห้ง และนำเข้าเตาเผาแบบไฟฟ้าอุณหภูมิ 750 องศาจะได้ผลิตภัณฑ์สีสวยติดทน ธนบดีได้นำเทคนิคมาใช้เป็นที่แรกของภาพเหนือตั้งแต่ปี 2533


การตกแต่งผลิตภัณฑ์ ทำด้วยมือ



การขึ้นรูปด้วยการเทน้ำดิน


การผลิตเซรามิคแบบปัจจุบัน เรียกว่าการเทน้ำดิน เริ่มจากการเตรียมแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์แห้งที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำ จากนั้นนำน้ำดินเข้มข้นที่เตรียมไว้แล้วลงในแม่พิมพ์ พิมพ์ก็จะดูดน้ำออกจากน้ำดินทำให้ดินเกาะผนังแม่พิมพ์หนาขึ้นเรื่อยๆ เมื่อได้ความหนาตามที่ต้องการก็จะเทน้ำดินส่วนที่เหลือออกรอให้หมาดดินด้านในระร่อนออกจากแม่พิมพ์ได้เซรามิคเป็นชิ้น แม่พิมพ์แต่ละตัวมีอายุการใช้งาน 50-100 รอบขึ้นอยู่กับรายละเอียดของงาน


การวาดถ้วยกาไก่ แบบโบราณ


สี พู่กัน สีสกัดจากธรรมชาติ


ครัวโบราณ


ห้องครัวโบราณของตระกูลธนบดีสกุล ที่รวบรวมเข้าของใช้ในอดีตที่หาดูได้ยากในสมัยปัจจุบัน เป็นการแสดงวิถีชีวิตของครอบครัวที่ผสมผสานวัฒนธรรมของชาวล้านนาและชาวจีน เป็นการแสดงให้เห็นความเรียบง่ายของการใช้ชีวิตของอาปาอี้ ซิมหยู แซ่ฉิ่นและครอบครัว