แจกัน Monique Vase


“Monique Vase” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถ่ายทอดลักษณะเด่นเฉพาะตัวของพื้นผิวงานจักสานพื้นบ้านลงบนงานเซรามิค เพื่อให้สามารถใส่น้ำและดอกไม้สดได้ช่วยให้รู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การใช้เซรามิคเป็นวัสดุหลักยังช่วยลดการใช้ไม้ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเซรามิคยังทำความสะอาดได้ง่ายกว่าผลิตภัณฑ์ไม้


แจกัน


แจกัน ที่มีแนวคิดจากความงดงามของหยดน้ำที่กระทบกับผิวน้ำ ก่อให้เกิดระลอกคลื่นที่แผ่ขยายไม่ รู้จบเมื่อพิจารณาจะพบถึงความสงบสุขของในใจ ซึ่งได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับสินค้าชิ้นนี้ การตกแต่งพื้นผิวคล้ายผิวไม้ถักทอสี ธรรมชาติได้ความรู้สึกถึงความละเอียดประณีต เกิดความรู้สึกสงบนิ่งและมีสมาธิ จึงเป็นที่มาของชื่อสินค้า “นิพพาน (NIPPAN)“


ที่วางสบู่ แปรงสีฟัน


ที่มีแนวคิดในการนำเอาลวดลายมาตกแต่งโดยการนำเอาลวดลายของเอเชียตะวันออกมาผสมผสานกับลายเส้นสาง อันละเอียดอ่อนก่อให้เกิดลวดลายคล้ายเครื่องจักรสาน “ย่านลิเภา” ทำให้เกิดความแปลกใหม่ของชิ้นงาน เน้นการออกแบบที่ทันสมัย ดัดแปลงหรือผสมผสานกับพื้นผิวเลียนแบบธรรมชาติ สร้างสรรค์งานที่แตกต่างระหว่างเซรามิกกับเครื่องจักรสาน


การวงถ้วยขนม


การวงสีถ้วยขนม เป็นการตกแต่งถ้วยขนม ด้วยการนำถ้วยขนมวางบนแป้นหมุนไฟฟ้า จากนั้นใช้พู่กันแต้มสีน้ำเงินตรงขอบปากและตรงกลางถ้วยขนม สีน้ำเงิน ทำมาจากแร่โคบอล เป็นสีใต้เคลือบ วาดแล้วนำไปเคลือบและนำไปเผาใช้เวลา 8 ชม. หลังจากเผาแล้วตัวถ้วยจะเกิดความมันวาวและเห็น


แก้วใส่เทียน


แก้วใส่เทียน ที่มีแนวคิดในการสร้างความโรแมนติกหรูหรา ของโต๊ะอาหารใต้แสงเทียนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ Angle lamp ความโปร่งแสงของเนื้อดิน และความใสของแก้ว ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ สวยงาม และบอบบาง ของลายกุหลาบป่าที่กลายมาเป็นลวดลายสินค้าอีกด้วย และมีการเน้นการออกแบบที่รูปแบบทันสมัยดัดแปลงหรือผสมผสานระหว่างเซรามิคกับแก้ว โดยอ้างอิง Trend การออกแบบและนำมาประยุกต์กับชิ้นงานโดยสินค้าเซรามิคประเภท Porcelain มีคุณสมบัติเด่นในด้านความขาว ความแข็งแกร่ง และน้ำหนักเบา ซึ่งผนวกกับเทคนิคการพ่นทราย ในการตกแต่งลวดลายให้สวยงามที่มีมิติความอ่อนหวานจากลายกุหลาบป่า


บ้านหลังแรก ตระกูลธนบดีสกุล


บ้านหลังแรก ตระกูล ธนบดีสกุล บ้านรูปทรงล้านนาโบราณที่สร้างจากไม้บ้านเก่าของชาวบ้านในละแวกวัดจองคำ เพื่อให้ครอบครัวได้มีที่อาศัย หลังจากที่ อาปาอี้ได้พาครอบครัวอพยพจากจังหวัดเชียงใหม่ สร้างใน ปี 2507 มีเสา 9 เสา มีบันไดทางเดียวยื่นมาจากตัวบ้าน มีหน้าต่าง และบานไม้เลื้อนเพื่อเปิดระบายลม ปัจจุบันได้อนุรักษ์ตัวบ้านเพื่อเป็นอนุสรณ์ของครอบครัวและให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม


สีวาดชามไก่


สีที่ใช้วาดชามไก่มีทั้งหมด 5 สี จะเป็นสีของสนิมของโลหะ สีส้มได้จากแร่แอนติโมนี่ สีเขียวได้จากแร่โคมิค สีดำได้จากแร่โคบอลท์ เป็นที่ปลอดสารพิษ นำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน สีที่แพงที่สุด คือสีชมพูอมม่วง ที่ได้จาก สนิมทองคำ มีราคาแพงถึงกิโลกรัมละ 15,000 บาท เสร็จแล้วนำไปอบสีอีกครั้งที่อุณหภูมิที่ 750 องศาเซลเซียส จึงจะได้ชามไก่ที่สีสันสวยงาม สามารถทำความสะอาดได้ง่าย


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ ชมัยภร บางคมบาง


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง)เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2557


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ เดชา วราชุน


ผลงานการประพันธ์บทกลอนด้วยลายมืออาจารย์ เดชา วราชุน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์และสื่อผสม) ประจำปี 2550


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ธงชัย รักปทุม


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ธงชัย รักปทุม วันที่เกิด 3 มิถุนายน 2484 ศิลปินแห่งชาติผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2553


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ ศิลปินสองซีกโลก กมล ทัศนาญชลี


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ ศิลปินสองซีกโลก กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ปี 2540 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) เกิดเมื่อ 17 มกราคม 2487 ถือเป็นศิลปินดีเด่นในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัยของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในไทยและต่างประเทศ ทางด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ในแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณีไทยในอดีต


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ปรีชา เถาทอง


ผลงานการวาดลวดลายบนชามไก่ยักษ์ อาจารย์ปรีชา เถาทอง วันที่เกิด 27 เมษายน 2491 ศิลปินแห่งชาติผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ สาขาย่อยการ ประจำปีพุทธศักราช 2552


ผลิตภัณฑ์ ช้างเผือก


เซรามิคที่ระลึกรูปช้างดีไชน์สมัยใหม่ ได้ออกแบบและผลิตสินค้าเซรามิคของที่ระลึกที่เป็นรูปช้างกลากหลายประเภท โดยใช้ชื่อว่า "White Elephant" หรือ "ช้างเผือก" ซึ่งช้างเผือกถือเป็นช้างมงคลประจำแต่ละรัชกาลและเคยเป็นสัญลักษณ์บน ธงชาติไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 6 ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์แบบที่ ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สินค้า "ช้างเผือก" จึงเป็นสัญลักษณ์ของการตอบแทนคุณของแผ่นดินและสังคม


การกลับมาของชามไก่


การกลับมาของชามไก่ คุณพนาสิน ได้ทำการผลิตชามไก่ในปี 2539 เกิดจากเห็นชามไก่เก่าที่บ้านจึงทำการผลิตชามไก่ในรูปแบบดั้งเดิมเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ผู้เป็นพ่อได้นำไปโชว์ในงานแสดงสินค้านานาชาติที่กรุงเทพฯ (งาน BIG+BIH) ของกรมส่งเสริมการส่งออก ประสบความสำเร็จรับการสั่งซื้อจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทำให้ชามไก่กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ตั้งแต่ ปี 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย ทำให้โรงงานเซรามิคต่างๆ ลดกำลังการผลิตและบางส่วนปิดตัวลงไป แต่ธนบดีผลิตชามไก่ส่งขายสวนกระแสเศรษฐกิจในยุคนั้น โรงงานอื่นก็ผลิตชามไก่ขายบ้างทำให้เศรษฐกิจเซรามิคลำปางเริ่มดีขึ้น และชามไก่ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของเซรามิคลำปางมาถึงปัจจุบัน แต่ผู้ผลิตชามไก่ปัจจุบันเกือบทั้งหมดผลิตด้วยวิธีการลดต้นทุนคือการเขียนสีครั้งเดียวแล้วเผาในอุณหภูมิต่ำทำให้สีซีดจางและทนทานน้อยกว่าชามไก่แบบดั้งเดิม แต่ชามไก่ของธนบดียังยืนหยัดในการผลิตด้วยเนื้อดินขาวอย่างดี เผาอุณหภูมิสูง และเขียนลายไก่ด้วยสีบนเคลือบการวาดแบบโบราณ และใช้สีในการวาดคุณภาพดีปลอดจากสารเคมีที่เป็นพิษนำเข้ามาจากเยอรมันและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากล เพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยมีโลโก้เป็นภาษาจีน อ่านว่า เล้งเอี้ย ซึ่งแปลว่า เตามังกร เป็น ที่เดียวในประเทศที่ผลิตจนปัจจุบัน


ประวัติต้นกำเนิดชามไก่


ชามไก่กำเนิดในภาคใต้ของจีน เมื่อกว่าสองร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป โดยเรือสำเภา โดยเฉพาะหลัง ที่มีชาวจีนอพยพลี้ภัยมาอยู่ในประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย แต่ชาวจีนก็ยังคุ้นชินกับการใช้ชามไก่ในการพุ้ยข้าว ดังนั้นชามไก่จึงกลายเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ลวดลายที่วาดบนชามมาจากวิถีชีวิตของคนจีนที่มีอาชีพเกษตรกรรม เป็นสิ่งใกล้ตัวซึ่งมีความหมายที่ดีทั้งสิ้น ชามไก่ธนบดีจะต้องมีองค์ประกอบ ได้แก่ ไก่ ดอกโบตั๋น ใบไม้ ต้นกล้วย ต้นหญ้า ที่ปัจจุบันได้จดทะเบียนเป็นสินค้า GI ของจังหวัดลำปาง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์


โรงงานผลิตถ้วยขนม-ถ้วยตะไลแห่งแรกในประเทศไทย


โรงงานผลิตถ้วยขนม-ถ้วยตะไลแห่งแรกในประเทศไทย หลังจาก นายซิมหยู แซ่ฉิน แยกตัวออกมาจากโรงงานร่วมสามัคคี ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตถ้วยขนม-ถ้วยตะไล ปี 2508 ช่วงแรกใช้ชื่อว่าโรงงานแปะซิมหยู ต่อมาเปลี่ยนเป็น โรงงานธนบดีสกุล ผลิตสินค้าประเภทถ้วยขนม ถ้วยน้ำจิ้มและถ้วยตะไลมาตลอด 54 ปี ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณและเผาในเตามังกร นายซิมหยู ได้เสียชีวิตเมื่อปี 2535 อายุ 83 ปี หลังจากนั้นบุตรสาวคนโต นางสาวยุพิน ธนบดีสกุล เป็นผู้สืบทอดกิจการจนถึงปัจจุบัน โดยรักษาความเป็นโรงงานดั้งเดิมไว้ทุกอย่างเพื่อความตั้งใจที่จะสานต่อธุรกิจของครอบครัว มีการจำหน่ายแบบปลีก-ส่ง มีพ่อค้าคนกลางมาซื้อและขายต่อทั่วประเทศ


อนุเสาวรีย์ดินขาวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ


อนุสาวรีย์นายซิมหยู แซ่ฉิน ผลิตจากดินขาว มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของคนจริง ขึ้นรูปด้วยวิธีการเทน้ำดินด้วยดินขาวลำปางเคลือบด้านสีขาว เพื่อเป็นเกียรติแก่อาปาอี้ ผู้ให้กำเนิดเซรามิคของจังหวัดลำปางและผู้ก่อตั้งโรงงานเซรามิคในเครือธนบดี โดยการจัดสร้างครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์พัฒนาอุตสหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง โดย คุณอรพรรณ ตันติวีรสุต ผู้อำนวยการศูนย์ฯ มีคุณมิตร ศิริอางค์ ช่างปั้น ส่วนพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เป็นผู้ปั้นขึ้นรูปและคณะผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯ ร่วมกับช่างฝีมือของบริษัทธนบดี ฯ เกิดเป็นผลงานรูปปั้นอนุสาวรีย์แห่งแรกที่ทำจากดินขาวลำปาง


ดินขาว


ดินขาว (Kaolin, China Clay) ดินขาว หมายถึง ดินที่มีสีขาวหรือสีซีดจาง ทั้งในสภาพที่เผาและไม่ได้เผา ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่ดินกลุ่ม Kaolinite  คำว่า เกาลิน มาจากภาษาจีนแปลว่าภูเขาสูง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของดินขาวในประเทศจีน ดินขาวมีอยู่หลายชนิดแตกต่างกันไป ตามแหล่งที่อยู่บนผิวโลกดินขาวส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดอยู่ในแหล่งผุพังของหินเดิม (Residual Clay) เป็นดินที่มีเม็ดหยาบจึงมีความเหนียวน้อย ดินขาวแหล่งนี้ มักพบในลักษณะเป็นภูเขาหรือที่ราบ ซึ่งเดิมทีเป็นแหล่งแร่หินฟันม้า ในประเทศมีแหล่ง ดินขาวหลายจังหวัด มีจังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ปราจีนบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และชุมพร


จ๊อสำหรับชามไก่


จ๊อ หรือ หีบดิน คือ อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุและครอบชามไก่ ไม่ให้โดนเปลวไฟและขี้เถ้าจากไม้เชื้อเพลิงขณะเผาในเตามังกร ลักษณะถาดเป็นทรงกลม มีช่องว่างระหว่างแถวเพื่อให้ความร้อนสามารถซอกซอนผ่านไปทั่วทุกแถวได้ดี ซึ่งจ๊อจะสามารถใช้งานซ้ำได้ประมาณ 3 - 5 รอบ ก็จะเริ่มผุและแตก ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ดินที่นำมาทำจ๊อ คือ ดินทนไฟที่มาจากอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เดิมต้องปั้นด้วยมือแต่ต่อมาใช้เครื่องจักรในการปั๊มขึ้นรูปเพื่อให้รวดเร็วและแข็งแรง มีลักษณะเป็นถาดกลม จ๊อมีสีน้ำตาลเข้ม และมีสนิมเกาะ ซึ่งเกิดจากในดินเหนียวที่ใช้ปั้นจ๊อมีส่วนผสมของแร่สนิมและเหล็ก


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด


ถ้วยแปดเหลี่ยม


มีอายุมากกว่า 70 ปี สภาพชำรุด