พืชชะคราม / Seabite

ชะครามถูกจัดอยู่ในหมวดพืชล้มลุก สามารถพบได้ในพื้นที่ที่มีน้ำเค็ม เช่นบริเวณชายทะเล ป่าชายเลน นาเกลือ หรือพื้นที่ที่มีน้ำกร่อยเข้าถึง อาทิ แถบจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดอื่นๆที่อยู่ติดชายทะเล โดยชะครามเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Chenopodiaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Suaed amaritima ซึ่งลักษณะโดยรวมของต้นชะครามจะมีหน้าตาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีความสูงโดยประมาณ 1 เมตร


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Suaeda maritima

ชื่อท้องถิ่น = ภาคกลาง เรียกว่า “ชักคราม” ภาคใต้ เรียกว่า “ชีคราม” สมุทรสาครเรียกว่า “ส่าคราม”

หมายเหตุ = ชะครามถูกจัดอยู่ในหมวดพืชล้มลุก สามารถพบได้ในพื้นที่ที่มีน้ำเค็ม เช่นบริเวณชายทะเล ป่าชายเลน นาเกลือ หรือพื้นที่ที่มีน้ำกร่อยเข้าถึง อาทิ แถบจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดอื่นๆที่อยู่ติดชายทะเล โดยชะครามเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Chenopodiaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Suaed amaritima ซึ่งลักษณะโดยรวมของต้นชะครามจะมีหน้าตาเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีความสูงโดยประมาณ 1 เมตร ใบของชะครามจะมีความอวบอ้วน ซึ่งทำให้เกิดการอุ้มน้ำ โดยปกติใบของชะครามจะมีสีที่เขียวสด แต่ในช่วงฤดูแล้งใบของชะครามจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอมสีม่วงอ่อนๆ ในส่วนของดอกชะครามจะออกดอกบริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งดอกจะมีลักษณะเป็นช่อแบบแยกแขนง ในส่วนของผลของต้นชะครามมีลักษณะเป็นผลกลมขนาดเล็ก การที่ชะครามอยู่ติดกับชายทะเลหรือบริเวณที่มีน้ำกร่อยและน้ำเค็มเข้าถึง จึงทำให้พืชชะครามมีลักษณะเด่นคือทนความเค็มได้สูง ส่งผลให้พืชชะครามมีรสชาติเค็ม ดังนั้นลักษณะเด่นของชะครามข้อนี้จึงเป็นจุดเด่นที่จะนำในส่วนของใบและก้านของพืชชะครามมาประกอบอาหาร

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง

ลักษณะของสถานที่เก็บตัวอย่าง/สถานที่พบ = ตามเเถบชายทะเลจังหวัดสมุทสาคร-สมุทรสงคราม

จังหวัด = สมุทรสาคร

อำเภอ = เมืองสมุทรสาคร

ตำบล = บ้านบ่อ