ธนาคารแห่งแรกในลำปาง


ธนาคารแห่งแรกในลำปางคือบริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด สาขาลำปาง หรือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นบนถนนฉัตรไชย เพื่อรองรับเงินหมุนเวียนสะพัดจากการค้า โดยเฉพาะการค้าไม้ ยาสูบ และฝิ่น ช่วงแรกผ็จัดการธนาคารเป็นชาวต่างประเทศ ตต่อมา ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นคนไทยคนแรกที่ได้มาเป็นผ็จัดการในยุครอยต่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยาวนานถึง 8 ปี (พศ.2478 – 2486)


โรงภาพยนต์


ตั้งแต่ทศวรรษ 2480 เป็นต้นมา การชมภาพยนตร์ถือเป็น “แฟชั่น” อย่างหนึ่ง โรงภาพยนตร์สมัยแรกในลำปางมี 2 โรงคือ โรงภาพยนตร์ตงก๊ก เจ้าของเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ฉายหนังจีนและหนังฝรั่ง และโรงภาพยนตร์พัฒนากร เจ้าของเป็นคนไทย ฉายหนังไทยและหนังคาวบอยที่วัยรุ่นชื่นชอบ ทั้ง 2 แห่งตั้งอยู๋บนถนนเจริญนคร (เชื่อมระหว่างถนนบุญวาทย์กับถนนทิพย์ช้าง) ซึ่งถือเป็นย่านมันสมัยที่สุดในลำปางยุคนั้น มีร้านค้าชั้นนำสารพัดชนิด ไม่เว้นแม้แต่ร้านถ่ายรูป และอู่ซ่อมรถซึ่งถือเป็นสิ่งพิเศษสำหรับผู้มีฐานะในสมัยนั้น


เครื่องบินและสนามบิน


กิจการการบินในประเทศสยามมีกำเนิดมาจากกองทัพบก ครั้งพลโทหม่อมเจ้าบวรเดช เป็นอุปราชมณฑลพายัพ มีดำริสร้างสนามบินขึ้นหลายแห่งรวมทั้งสนามบินลำปางที่ปรับปรุงมาจากสนามฝึกซ้อมรบทหาร เมื่อมีสนามบินแล้ว ในราวปีพศ.2466 ชาวนครลำปางทุกระดับตั้งแต่เจ้าเมือง เจ้าของบริษัทห้างร้าน พ่อค้า ประชาชน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนซื้อเครื่องบินอุดหนุนกองทัพ ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้จารึกอักษรไว้ที่เครื่องบินขับไล่แบบสปัด ปีกสองชั้น ลำนั้นว่า “จังหวัดลำปาง1


งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานฤดูหนาว


จังหวัดลำปางมีการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญและงานฤดูหนาว ในงานมีการออกร้าน ประกวดนางงาม และประกวดชายงามอย่างคึกคัก ในปี พ.ศ.2478 ลำปางมีนางสาวลำปางคนแรกคือนางสาวติ้วหลั่น แซ่จาง (เตียวตระกูล) การประกวดนางงามนับเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยของผู้หญิงลำปางที่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติว่า “คนธรรมดาจะงามส็เจ้านายไม่ได้” ลงอย่างสิ้นเชิง


ตลาดรถไฟ


ลำปางเป็นเมืองริมน้ำ ย่านค้าขายสำคัญมาแต่ดั้งเดิมคือย่านตลาดจีนหรือกาดกองต้า เชิงสะพานรัษฎาฯฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวัง เรือจากทางใต้จะขึ้นมาจอดแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าวัวต่างจากทางเหนือที่นี่ เมื่อรถไฟมาถึง สินค้าจำนวนมากขนส่งได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เกหิดตลาดริมทางรถไฟบริเวณต้นขะจาวใหญ่ เป็นที่รู้จักกันในนาม ตลาดเก๊าจาวและที่ใกล้สถานีรถไฟพ่อค้าแม่ขายปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นย่านการค้าสำคัญ ร็จักกันดีในชื่อย่านสบตุ๋ย


รถม้า


เมื่อมีรถยนต์เข้ามา รถม้าจากพระนครจึงถูกส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ ผู้รู้ในลำปางสรุปตรงกันว่าก่อนรถไฟมาถึง รถม้าเป็นพาหนะส่วนตัวที่ใช้อยู่ในหมู่เจ้านาย ฝรั่งทำไม้ หรือผ็มีฐานะบ้างเชื่อกันว่ารถม้าคันแรกคือรถม้าของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของนครลำปาง โดยว่าจ้างแขกปากีสถานเป็นสารถีและดูแลม้า เมื่อรถไฟมาถึง รถม้าที่เคยมีใช้จำนวนจำกัดกลุ่มได้เพิ่มจำนวนขึ้นในฐานะ “รถม้าแท็กซี่” รับจ้างวิ่งรับส่งคนและสินค้าจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองในระยะทางราว 4 กิโลเมตร รถม้าบรรทุกของได้มากและรวดเร็วกว่าม้าต่าง วัวต่าง และเกวียน ต่อมารถม้าได้ขยายบริการรับส่งผู้คนระหว่างชุมชนต่างๆจนกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของนครลำปางมาจนทุกวันนี้


สะพานรัษฎาภิเศก


ในพ.ศ. 2436 ชาวลำปางได้ร่วมกันสร้างสะพานไม้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลต่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ในวโรกาสงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก (ครองราชย์สมบัติ 25 ปี) และได้รับพระราชทานพระนามสะพานนี้ว่า “สะพานรัษฎาภิเศก” ซ฿งสะพานรัษฎาภิเศกนี้มีการซ่อมแซมอีกหลายครั้งจนใน พ.ศ.2459 เมื่อรถไฟขบวนที่ 2 ได้บรรทุกซีเมนต์และอุปกรณ์สร้างทางรถไฟมาถึงสะพานรัษฎาภิเศกจึงกลายเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กทาสีขาว ราวสะพานแต่ละข้างเป็นรูปโค้งข้างละ 4 โค้ง มีเสาที่หัวสะพานฝั่งละ 2 ต้น กลางเสาประดับด้วยรูปไก่ขาว ชาวลำปางนิยมเรียกว่าขัว 4 โค้ง ขัวขาว หรือขัวไก่ขาว เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคู่นครลำปางมาจนปัจจุบัน


ความเจริญที่มากับรถไฟ


เมื่อรถไฟเข้ามา ทุกอย่างก็ไหลเข้ามามากมาย เช่น ภาพยนตร์ ,เวชภัณฑ์, โรงภาพยนตร์, ตลาดรถไฟ กาดเก๊าจาว ,รถม้า, สะพานรัษฎาภิเศก , งานฤดูหนาว, เทศบาลเมืองลำปาง, เครื่องบิน สนามบิน, ธนาคารแห่งแรกในลำปาง ,โรงเรียนจีน , การแต่งการ ,ความคึกครื้นที่กรุงเทพมีแบบไหน ลำปางก็มีแบบนั้น


กบฏเงี้ยว


การจักการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลของรัฐบาลสยาม ได้สร้างความไม่พอใจให้กับเจ้านายและราษฎรล้านนาที่ต้องสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์รวมไปถึงป่าไม้ ที่ต้องถูกยึดไปเป็นของรัฐบาลสยาม และการดูหมิ่นความพื้นเมือง รวมถึงการเข้มงวดกับคนไทใหญ่หรือเงี้ยวซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษ โดยรัฐบาลสยามห้ามไม่ให้คนบงคับอังกฤษมีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่และการตัดไม้ไปสร้างบ้านเรือน รวมไปถึงตลอดการเดินทางต้องมีหนังสือเดินทางโดยให้คนไทยรับรองให้ทุกครั้ง จึงเกิดการไม่พอใจกับคนในกลุ่มน้อย จึงมาการกบฏเงี้ยวขึ้นในเมืองแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ภายใต้การสนับสนุนของเจ้านายเมืองแพร่และขยายต่อไปทั่วดินแดนล้านนา รวมถึงในลำปาง เหตุการณ์ลุกลามขึ้น รัฐบาลสยามต้องส่งกองกำลังขึ้นไปปราบปราม


อุปกรณ์ในการทำไม้


ในการทำไม้สมัยก่อนนั้นจะใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมีการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการจัดการการทำไม้ให้ง่ายที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือเช่น เลื่อยมือ ขวานสั้น ขวานยาว และแบบเหล็กตีตราไม้ทำทะเบียนเพื่อที่ได้ตรวจทานได้ง่าย


การสัมปทานป่าไม้


ธุรกิจการทำป่าไม้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2433 หลังอังกฤษยึดหัวเมืองมอญจากพม่าแล้วได้ขยายเข้ามาสู่ล้านนา ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณนี้ดึงดูดให้คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก ระยะแรกการทำป่าไม้ไม่ผิดกฎหมายแน่นอนเพราะป่าไม้ยังไม่ใช่ทรัพยากรที่มีค่าในเชิงธุรกิจ การอนุญาตให้เข้ามาทำไม้จึงขึ้นอยู่กับเจ้านาย ต่อมามีปัญหาการอนุญาตให้ทำป่าไม้ซ้อนพื้นที่กัน จนเกิดการฟ้องร้องถึงรัฐบาลสยามที่กรุงเทพ จึงเกิดเป็นข้อตกตกลงที่ชัดเจนว่า “สนธิสัญญาที่เชียงใหม่”


ชาวอเมริกา


ชาวอเมริกันกลุ่มแรกที่เข้าอยู่ในเมืองลำปางคือมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียน ที่เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา นิกายโปแตสแตนต์ มีศาสนาจารย์ แดเนียล แมคกิลวารี และศาสนาจารย์โจนาธาน วิลสัน เป็นผ็มีบทบาทสำคัญในระยะแรกโดยได้ตั้งคริสตจักรที่ 1 ลำปาง ในปีพ.ศ.2423 มิชชันนารีอเมริกาที่มาเผยแพร่ศาสนาได้วางรากฐานทางการศึกษาและการพยาบาลในลำปางไว้อย่างมาก มีโบสถ์คริสต์ โรงเรียนและโรงพยาบาลในความดูแลของคริสตจักรเกิดขึ้นหลายแห่งในย่านฝั่งตะวันตกของสะพานรัษฎาภิเศก ซึ่งต่อมากลายเป็นโบสถ์ฟลีสัน เมโมเรียล โรงเรียนวิชานารี โรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซี และโรงพยาบาลแวนแซนวูร์ดในปัจจุบัน


ชาวล้านนา


ด้วยพื้นฐานเอื้ออารีของคนล้านนา คนพื้นเมืองลำปางซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาและค้าขายทั่วไป ได้เปิดรับการเข้ามาของผู้มาทีหลังด้วยมิตรไมตรี แม้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม แต่ในที่สุดก็ผสมผสานกันได้อย่างกลมกลืน เรียนรู้วิถีชีวิต การทำมาหากิน ภาษา ประเพณีความเชื่อจากกันและกัน เกิดการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ โดยเฉพาพะกลุ่มจีนที่อพยพเข้ามาและลงหลักปักฐานกับสาวชาวพื้นเมือง


ชาวจีน


คนจีนเข้ามาในลำปางในช่วงที่มีการค้าขายทางน้ำโดยเดินทางมาพร้อมกับเรือสินค้า คนจีนรุ่นแรกที่เข้ามาเมืองลำปางคือจีนไหหลำ ถัดมาเป็นจีนแคะ และกลุ่มอื่นๆ เมื่อการคมนาคมเริ่มเจริญขึ่นมีคนจีนโพ้นทะเลจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาในดินแดนไทยอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจีนแต้จิ๋ว กลุ่นคนจีนที่เข้ามาทำการค้าขายที่ลำปางส่วนมากเข้ามาอยู่บริเวณตลาดจีนหรือกาดกองต้า


ชาวขมุ


ชาวขมุ กำมุหรือขมุ เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาเป็นแรงงานทำไม้ โดยเข้ามาเป็นลูกจ้างของบริษัทธุรกิจป่าไม้ของต่างประเทศ มีนายหน้าพามาเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่มักมีสัญญาเป็นรายปีและจะกลับถิ่นฐานเดิมเมื่อหมดสัญญา พวกกำมุหรือขมุมีความอดทนต่อความยากลำบากสูงจึงเหมาะแก่การทำป่าไม้และที่สำคัญมีค่าแรงถูกกว่าคนกลุ่มอื่น


ชาวไทใหญ่


คนไทใหญ่หรือเงี้ยวได้เข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทธุรกิจป่าไม้ของอังกฤษเช่นเดียวกับกลุ่มชาวพม่าและคนในบังคับอังกฤษกลุ่มอื่น ต่อมาบางคนก็ได้รับการแบ่งงานไปทำธุรกิจป่าไม้เองและสะสมทุนของตนเองกลายเป็นผู้มีฐานะ ชาวไทใหญ่มีชุมชนของตนเองอยู่บริเวณบ้านปป่าขามและได้สร้างวัดศิลปกรรมแบบไทใหญ่ขึ้นหลายแห่งเช่น วัดม่อนปู่ยักษ์, วัดม่อนจำศีล เป็นต้น


ชาวพม่า


ชาวพม่าซึ่งเป็นคนในบังคับอังกฤษได้เข้ามาลำปางพร้อมกับบริษัทธุรกิจป่าไม้ โดยมาทำงานเป็นลูกจ้างด้วยความขยันขันแข็ง ต่อมาชาวพม่าหลายคนได้รับการแบ่งงานในการทำป่าไม้จากบริษัทไปทำเองและสะสมทุนมากขึ้นจนสามารถสร้างฐานะกลายมาเป็น “พ่อเลี้ยงไม้” คนสำคัญของลำปางเช่น พ่อเลี้ยงหม่องจันโอง ต้นสกุลจันทรวิโรจน์ ผู้สร้างบ้านเสานัก, พ่อเลี้ยงหม่องส่วยอัตถ์ ต้นสกุลสุวรรณอัตถ์ เป็นต้น เกิดชุมชนของชาวพม่าขึ้นที่บริเวณย่านท่ามะโอ และเกิดการสร้างวัดพม่าที่มีศิลปกรรมพม่าขึ้นหลายแห่ง เช่น วัดศรีชุม, วัดศรีรองเมือง, วัดป่าฝาง, มณฑปวัดพระแก้วดอนเต้า เป็นต้น จนชาวลำปางได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีวัดพม่ามากที่สุดในประเทศ


ชาวอังกฤษ


ในช่วงเวลานั้นภาคเหนือของประเทศสยามมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์จึงมีบริษัทธุรกิจป่าไม้จากต่างประเทศหลายแห่งเข้ามาขอสัมปทานทำไม้ในล้านนาและลำปาง ในจำนวนนั้นมีชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษประกอบด้วย ลูกจ้างที่เป็นชาวพม่า มอญ ไทใหญ่ ที่มีความชำนาญในการทำป่าไม้ มีบริษัทธุรกิจป่าไม้ของอังกฤษในลำปางถึง 4 บริษัท คือ บริษัทบริติชบอร์เนียว จำกัด, บริษัทบอมเบย์เบอร์มา จำกัด, บริษัทสยามฟอเรสต์ จำกัด, และบริษัทแอล ที เลโอโนเวนส์ บริษัทเหล่านี้มีทุนและอิทธิพลทางการเมืองอย่างมาก ถึงขนาดมีการตั้งสถานกงศุลอังกฤษประจำนครลำปางเพื่อคอยดูแลผลประโยชน์จากการทำป่าไม้และช่วยเหลือคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ


ชุดข้อมูลชุมชนนานาชาติ


ชุมชนนานาชาติ ย้อนไปสมัยก่อน ลำปางมีความคึกคักไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งอังกฤษ พม่า มอญ ไทใหญ่ กำมุ(ขมุ) จีน อินเดีย และคนพื้นเมือง ซึ่งเข้ามารทำการติดต่อค้าขายทั้งทางน้ำและทางบก และทำธุรกิจป่าไม้อย่างคึกคัก ขณะนั้นมีศุนกลางการค้าที่ตลาดท่าจีนหรือกาดกองต้า นอกจากนั้นยังมีพวกมัชชันนารีอเมริกาที่เข้ามาเผยศาสนาอีกด้วย


ตุ๊กตาคิวปิดไม้แกะสลัก


ทำไมคิวปิดมาอยู่ที่นี่? ในมณฑปแบบพม่าของวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามในเมืองลำปาง ปรากฏหุ่นไม้แกะสลักเป็นรูป “คิวปิด” หรือเทพแห่งความรักของชาวตะวันตกประดับอยู่บนเพดาน ลวดลายเป็นศิลปะแบบพม่าผสมผสานกับศิลปะยุโรปสมัยวิคตอเรีย คิวปิดนี้คงสร้างขึ้นพร้อมมณฑปเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว แต่สงสัยหรือไม่ ทำไมคิวปิดจึงมาอยู่ในขมณฑปแบบพม่า แล้วทำไมมณฑปแบบพม่าจึงมาอยู่ในเมืองลำปาง?


เครื่องใช้เจ้าหลวงเมืองลำปาง


เครื่องใช้ของเจ้าหลวงลำปาง จานกระเบื้องเซรามิกเขียนลาย และช้อนเงินตัวอย่างของเครื่องใช้ของเจ้านายสายสกุลลำปางที่นำมาจัดแสดงให้ชมได้รับมอบจากวัดม่อนคีรีชัย


เมืองนครลำปาง


เมืองนครลำปาง ถือเป็นเมืองรุ่นที่ 3 ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำกับเมืองทั้ง 2 มีเจ้าเมืองกาวิละเป็นผู้ครองเมืองคนที่ 3 และได้เลื่อนมาเป็นผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ก็ได้นำข้าบ้านและผู้สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์แห่งสยามเพื่อให้ช่วยต่อสู้กับพม่า นับตั้งแต่นั้นมา ล้านนาจึงมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของสยามโดยมีนครลำปางอยู่ในฐานะเมืองเครือญาติกับเชียงใหม่


เวียงลครหรือเมืองนคร


เมืองลคร หรือเมืองนครเป็นเมืองโบราณรุ่นที่ 2 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ขิงเขลางค์นคร มีประวัติเล่าว่าเมื่อพระยามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1839 ก็ได้เริ่มแผ่อำนาจครอบคลุมดินแดนล้านนา ยกกองทัพเข้าตีเมืองสำคัญต่างๆ ที่ไม่ยอมอยู่ใต้พระราชอำนาจรวมถึงเขลางค์นคร เมื่อตีได้สำเร็จ พระยามังรายได้แต่งตั้งให้ชาวลัวะเป็นเจ้าเมือง ซึ่งเจ้าเมืองได้ชักชวนชาวเมืองให้สร้างเมืองรุ่นที่ 2 นี้ขึ้นโดยมีศูนย์กลางเมืองคือวัดศรีจอมไคล (วัดเชียงภูมิ) หรือวัดปงสนุกในปัจจุบัน


เมืองเขลางค์นคร


เมืองเขลางค์ เป็นเมืองรุ่นแรกของลำปาง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวังด้านทิศตะวันตก ตามตำนานเล่าว่าเมื่อพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชยได้ยกเมืองหริภุญไชยให้พระเจ้ามหันตยศโอรสองค์ใหญ่ปกครอง ก็ได้โปรดฯให้สร้างเมืองเขลางค์นครขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 14 เพื่อให้พระเจ้าอนันตยศโอรสองค์น้องมาปกครอง ในสมัยอาณาจักรหริภุญไชยเรืองอำนาจเขลางค์นครจึงมีฐานะเป็นเมืองสำคัญรองจากหริภุญไชย


ตำนานเจ้าแม่สุชาดา


เจ้าแม่สุชาดา ผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ชอบไปทำบุญที่วัด โดยมักนำผลแตงโมไปถวาย หลังบ้านของนางนั้นเป็นสวนแตงโม มีแตงโมอยู่ลูกหนึ่งเมื่อผ่าออกมา นางสุชาดาได้พบกับหินหยกหรือที่คนไทยนิยมเรียกแก้วมรกต จึงได้นำไปถวายให้แด่พระภิกษุรูปหนึ่ง พระภิกษุเห็นว่าเป็นวัสดุมีค่าควรนำไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แต่ทำเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ กระทั่งคืนนั้นพระอินทร์ได้ปลอมตัวเป็นคนแก่นุ่งผ้าขาวช่วยเนรมิตองค์พระปฏิมาจนงดงาม และได้แกะสลักออกมาเป็นรูปพระแก้วมรกตที่งดงามจากนั้นนางสุชาดาและพระภิกษุ ตั้งใจจะนำไปไว้ในวิหารของวัด แต่กลับมีชาวบ้านชุบซิบนินทา แอบนำความไปเพ็ดทูลให้เจ้าเมืองทราบว่า ทั้งสองประพฤติตัวไม่เหมาะสมลักลอบเป็นชู้กัน นางสุชาดาถูกจับเข้าหลักประหารในฐานะมารพระศาสนา ก่อนเพชฌฆาตจะลงดาบ นางได้อธิษฐานจิตว่าแม้นว่าทำผิดจริงขอให้เลือดหลั่งลงสู่พื้นดิน แต่หากนางเป็นผู้บริสุทธิ์ขอให้เลือดไหลพุ่งขึ้นสู่ฟ้า พร้อมกับสาปแช่งเจ้าเมืองที่สั่งประหารนาง จากนั้นเพชฌฆาตก็ได้บั่นคอนางสุชาดา และก็ได้เห็นว่าเลือดพุ่งขึ้นว่า เพชฌฆาตจึงไปทูลกับเจ้าเมือง เจ้าเมืองโศกเศร้าและขาดใจตาย