ลำปางยุคเมืองเท็กซัส


หลังสงครามโลกครั้งที่๒ กระบวนการค้าฝิ่นระบาดอย่างรุ่นแรง ตำรวจ เจ้านาย ผู้มีอิทธิพลต่าง ในทุกระดับ สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง การซื้อขายฝิ่นจึงเกิดขึ้นในเมืองลำปาง มีเงินหมุนเวียนในลำปางจำนวนมหาศาล มีผู้ร่ำรวยจากกระบวนการค้าฝิ่น เมืองลำปางใน พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงมักเกิดการโจรกรรม ทะเลาะเบาะแว้ง หรือยิงกันตาย เนื่องจากการขดผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นทุกวัน จึงเกิดเสียงกล่าวถึงลำปาง เทียบกับ “เมืองเท็กซัส”


โรงเรียนจีน


คนจีนที่เข้ามาค้าขายและสร้างทางรถไฟในลำปางตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย โรงเรียนจีนแห่งแรกตั้งขึ้นโดยกลุ่มพ่อค้าชาวไหหลำใน พ.ศ. 2466 มีชื่อว่าโรงเรียนยกส่าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 กลุ่มชาวจีนแคระ แต้จิ๋ว และกวางตุ้งในลำปางได้ร่วมกันตั้งโรงเรียนจีนแห่งใหม่ชื่อฮั่วเคี้ยว (หมายถึงจีนโพ้นทะเล) แต่โรงเรียนทั้งสองถูกปิดลงในช่วงใกล้สงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากสงครามโลกสงบลง โรงเรียนทั้งสองแห่งได้รวมกันเปิดสอนในระดับประถมใช้ชื่อว่าโรงเรียนยกฮั้ว (กงลิยิหวา ลำปาง) หรือชื่อไทยว่าโรงเรียนประชาวิทย์ ต่อมามีโรงเรียนมัธยมวิทยา สอนระดับมัธยมศึกษา ปัจจุบันโรงเรียนจีนในลำปางบริหารจัดการโดยมูลนิธิประชาวิทย์ – มัธยมวิทยา


ธนาคารแห่งแรกในลำปาง


ธนาคารแห่งแรกในลำปางคือบริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด สาขาลำปาง หรือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน ถือกำเนิดขึ้นบนถนนฉัตรไชย เพื่อรองรับเงินหมุนเวียนสะพัดจากการค้า โดยเฉพาะการค้าไม้ ยาสูบ และฝิ่น ช่วงแรกผ็จัดการธนาคารเป็นชาวต่างประเทศ ตต่อมา ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นคนไทยคนแรกที่ได้มาเป็นผ็จัดการในยุครอยต่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยาวนานถึง 8 ปี (พศ.2478 – 2486)


โรงภาพยนต์


ตั้งแต่ทศวรรษ 2480 เป็นต้นมา การชมภาพยนตร์ถือเป็น “แฟชั่น” อย่างหนึ่ง โรงภาพยนตร์สมัยแรกในลำปางมี 2 โรงคือ โรงภาพยนตร์ตงก๊ก เจ้าของเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ฉายหนังจีนและหนังฝรั่ง และโรงภาพยนตร์พัฒนากร เจ้าของเป็นคนไทย ฉายหนังไทยและหนังคาวบอยที่วัยรุ่นชื่นชอบ ทั้ง 2 แห่งตั้งอยู๋บนถนนเจริญนคร (เชื่อมระหว่างถนนบุญวาทย์กับถนนทิพย์ช้าง) ซึ่งถือเป็นย่านมันสมัยที่สุดในลำปางยุคนั้น มีร้านค้าชั้นนำสารพัดชนิด ไม่เว้นแม้แต่ร้านถ่ายรูป และอู่ซ่อมรถซึ่งถือเป็นสิ่งพิเศษสำหรับผู้มีฐานะในสมัยนั้น


เครื่องบินและสนามบิน


กิจการการบินในประเทศสยามมีกำเนิดมาจากกองทัพบก ครั้งพลโทหม่อมเจ้าบวรเดช เป็นอุปราชมณฑลพายัพ มีดำริสร้างสนามบินขึ้นหลายแห่งรวมทั้งสนามบินลำปางที่ปรับปรุงมาจากสนามฝึกซ้อมรบทหาร เมื่อมีสนามบินแล้ว ในราวปีพศ.2466 ชาวนครลำปางทุกระดับตั้งแต่เจ้าเมือง เจ้าของบริษัทห้างร้าน พ่อค้า ประชาชน ได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบทุนซื้อเครื่องบินอุดหนุนกองทัพ ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้จารึกอักษรไว้ที่เครื่องบินขับไล่แบบสปัด ปีกสองชั้น ลำนั้นว่า “จังหวัดลำปาง1


งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานฤดูหนาว


จังหวัดลำปางมีการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญและงานฤดูหนาว ในงานมีการออกร้าน ประกวดนางงาม และประกวดชายงามอย่างคึกคัก ในปี พ.ศ.2478 ลำปางมีนางสาวลำปางคนแรกคือนางสาวติ้วหลั่น แซ่จาง (เตียวตระกูล) การประกวดนางงามนับเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยของผู้หญิงลำปางที่เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติว่า “คนธรรมดาจะงามส็เจ้านายไม่ได้” ลงอย่างสิ้นเชิง


ตลาดรถไฟ


ลำปางเป็นเมืองริมน้ำ ย่านค้าขายสำคัญมาแต่ดั้งเดิมคือย่านตลาดจีนหรือกาดกองต้า เชิงสะพานรัษฎาฯฝั่งตะวันออกของแม่น้ำวัง เรือจากทางใต้จะขึ้นมาจอดแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าวัวต่างจากทางเหนือที่นี่ เมื่อรถไฟมาถึง สินค้าจำนวนมากขนส่งได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เกหิดตลาดริมทางรถไฟบริเวณต้นขะจาวใหญ่ เป็นที่รู้จักกันในนาม ตลาดเก๊าจาวและที่ใกล้สถานีรถไฟพ่อค้าแม่ขายปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นย่านการค้าสำคัญ ร็จักกันดีในชื่อย่านสบตุ๋ย


รถม้า


เมื่อมีรถยนต์เข้ามา รถม้าจากพระนครจึงถูกส่งไปตามหัวเมืองต่างๆ ผู้รู้ในลำปางสรุปตรงกันว่าก่อนรถไฟมาถึง รถม้าเป็นพาหนะส่วนตัวที่ใช้อยู่ในหมู่เจ้านาย ฝรั่งทำไม้ หรือผ็มีฐานะบ้างเชื่อกันว่ารถม้าคันแรกคือรถม้าของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของนครลำปาง โดยว่าจ้างแขกปากีสถานเป็นสารถีและดูแลม้า เมื่อรถไฟมาถึง รถม้าที่เคยมีใช้จำนวนจำกัดกลุ่มได้เพิ่มจำนวนขึ้นในฐานะ “รถม้าแท็กซี่” รับจ้างวิ่งรับส่งคนและสินค้าจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองในระยะทางราว 4 กิโลเมตร รถม้าบรรทุกของได้มากและรวดเร็วกว่าม้าต่าง วัวต่าง และเกวียน ต่อมารถม้าได้ขยายบริการรับส่งผู้คนระหว่างชุมชนต่างๆจนกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของนครลำปางมาจนทุกวันนี้


สะพานรัษฎาภิเศก


ในพ.ศ. 2436 ชาวลำปางได้ร่วมกันสร้างสะพานไม้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลต่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ในวโรกาสงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก (ครองราชย์สมบัติ 25 ปี) และได้รับพระราชทานพระนามสะพานนี้ว่า “สะพานรัษฎาภิเศก” ซ฿งสะพานรัษฎาภิเศกนี้มีการซ่อมแซมอีกหลายครั้งจนใน พ.ศ.2459 เมื่อรถไฟขบวนที่ 2 ได้บรรทุกซีเมนต์และอุปกรณ์สร้างทางรถไฟมาถึงสะพานรัษฎาภิเศกจึงกลายเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กทาสีขาว ราวสะพานแต่ละข้างเป็นรูปโค้งข้างละ 4 โค้ง มีเสาที่หัวสะพานฝั่งละ 2 ต้น กลางเสาประดับด้วยรูปไก่ขาว ชาวลำปางนิยมเรียกว่าขัว 4 โค้ง ขัวขาว หรือขัวไก่ขาว เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคู่นครลำปางมาจนปัจจุบัน