ผ่าความลับเตาบ่อสวก

บรรยายนำชม

        แหล่งเตาเผาบ่อสวก มีลักษณะเป็นเนินดิน ที่บนผิวมีเศษเครื่องปั้นดินเผา กระจายอยู่ และมีปล่องของเตาเผาโผล่มาเหนือเนินดิน เมื่อขุดเอาตะกอนดินที่ทับถมออกเราจะพบว่าตัวเตามีลักษณะเป็นเรือคว่ำ เป็นเตาที่มีห้องเดียว ที่มีการก่อขึ้นจากดินเหนียวริมแหล่งน้ำเป็นแนวกำแพงกันไฟ มีห้องไฟอยู่ล่างสุดเป็นช่องใส่เชื้อเพลิง พวกไม้ไผ่ ถ่าน เหนือขึ้นไปเป็นบริเวณวางเครื่องปั้นดินเผาที่ขึ้นรูปแล้วเรียบร้อยแล้ว อย่าง ชาม ไห ครก กระปุก กุณฑี น้ำต้น พาน ผางประทีป ตะเกียง ความร้อนจากเชื้อเพลิงระบายออกแนวเฉียงขึ้น ออกทางปล่องไฟ

        ลักษณะของเตาในบ่อสวกแต่ละเตา อย่าง เตาสุนัน และเตาจ่ามนัส ในบ้านจ่ามนัส ช่วยบอกเล่าเรื่องราวของการใช้เตาของคนโบราณ ว่า คนโบราณจะนำภาชนะที่ขึ้นรูปแล้ว มาเรียงกันในเตาเผา เมื่อเผาเสร็จแล้ว ก็จะใช้วิธีเจาะเปิดหลังคาเตา เอาภาชนะที่เผาเสร็จแล้วออกมา จากนั้นถ้าจะใช้เตาอีกครั้ง ก็จะเอาดินเหนียวมาก่อและโบกซ่อมปิดไป ทำเช่นนี้สลับไป คนโบราณบ่อสวกนี้มีเทคนิคพิเศษ คือ การใช้ “จ๊อ” กล่องดินเหนียวครอบภาชนะป้องกันไม่ให้เสียหาย แตกต่างจากเตาเผาในยุคเดียวอย่างเตาเผาทุเรียง ศรีสัชนาลัย ด้วยปริมาณของเศษเครื่องปั้นดินเผาที่มีจำนวนมากมายทำให้เชื่อได้ว่า เตาเผาบ่อสวก มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในระดับอุตสาหกรรม และอาจถูกนำไปขายไกลถึงบริเวณพม่า ตามเส้นทางการค้าเครื่องปั้นดินเผาโบราณ

 

 

 

 

 

 

ขนาด

ลักษณะแหล่งเตาเผา ในบ่อสวก