ข่าวและกิจกรรม

กิจกรรมทำสบู่กลิ่นดอกลำดวน

การทำสบู่ก้อนกลิ่นดอกลำดวนเพื่อเป็นตัวเลือกใหม่ในการเลืกซื้อผลิตภัณฑ์จากผการันดูล โดยได้มีการดัดแปรงจากการทำสบู่เหลวอาบน้ำ การทำสบู่ก้อนนี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น เช่นผู้ใช้บางคนไม่ถนัดใช้ครีมอาบน้ำเราก็มี สบู่ก้อน เพื่อเป็นตัวเลือกอีกตัวเลือกหนึ่ง

วัตถุดิบ ได้แก่

1.กลีเซอรีนก้อนแบบขุ่นและแบบใส

2.หัวเชื้อน้ำหอมกลิ่นดอกลำดวน

3.น้ำมันมะพร้าว

4.น้ำรังไหมสกัด

วิธีการทำ

1.นำกลีเซอรีนมาละลายให้เหลว

2.หลังจากนั้นใส่ หัวเชื้อน้ำหอม น้ำมันมะพร้าว และน้ำรังไหมที่สกัดไว้แล้ว ใส่ลงไปแล้วคนให้เข้ากัน

3.นำกลีเซอรีนที่ผสมแล้ว มาเทใส่พิมพ์(สบู่) ที่เตรียมไว้

4.ทิ้งไว้จนกว่ากลีเซอรีนเซ็ตตัว ประมาณ 15-20 นาที

5.พอกลีเซอรีนเซ็ตตัวแล้วก็แกะออกจากพิมพ์ได้เลย



กิจกรรมการทำเจลล่้างมือ

     เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 จัดกิจกรรมทำเจล โดยทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้จัดการการอบรมเชิงปฏิบัติการทำเจล และ สบู่เหลว ให้กับกลุ่ม อสม.ในตำบลลำดวน จำนวน 36 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 18 หมู่บ้าน ซึ่งทาง อสม.ต่างก็ให้ความร่วมือเป็นอย่างดี ทำให้ได้รับความรู้และสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้ อีกทั้งสามารถนำกลับไปอบรมให้แก่ชุมชนของตน เพื่อใช้ในการประดิษฐ์สิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การให้ความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้รับความร่วมมือจากกลุ่ม อสม.เป็นอย่างดี   “การทำผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าไหม จากเส้นไหม”ประโยชน์และสรรพคุณ Silk Protein Liquid Soap ด้วยสรรพคุณของโปรตีนไหม  (Silk Protein) หรือเซริซีน (Sericin) ที่สกัดได้จากรังไหม เซริซีน มีสารสำคัญบางชนิดที่ช่วยป้องกันผิดแห้ง ลดการเจริญเติบโตของไวรัส มีสารต้านไวรัส อีกทั้งกรดอามิโน 16-18 ชนิด จาการวิจัยพบว่า เซริซีน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการทำลายเซลล์ โดย oxygen free radicals ผลิตภัณฑ์ซักผ้าไหม จากเส้นไหม จุดเด่นสำคัญคือการใช้โปรตีนไหมบ้านแท้ ปลอดภัยไม่มีสารอันตราย เมื่อใช้แล้วทำให้ผ้าไหม มีสีสดสวยผ้าไม่หงอก สปริงตัว สามารถซ่อมแซมเส้นใยผ้า คืนความนุ่นของผ้าไหม ต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคผิดหนัง เมื่อสวมใส่แล้วทำให้รู้สึกเย็นสบายไม่อับชื้น



มะม๊วด

    เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 มีการจัดพิธีรำแม่มด หรือ มะม็วดมันเป็นพิธีโบราณของคนเชื้อสายเขมร  พิธีนี้ไม่มีความแน่นอนหรือไม่มีกำหนดตายตัวว่าจะต้องจัดขึ้นปีละกี่ครั้ง แล้วแต่ผู้จัดและความเชื่อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะจัดขึ้นเมื่อต้องการแก้บน มีลักษณะคล้ายการทรงเจ้าเพราะเชื่อว่าเทพหรือผีนั้น มี 2 พวก คือ พวกที่อยากได้สิ่งของโดยให้คนจัดให้กับพวกที่คอยมาดูแลมนุษย์ รำแม่มดจะทำขึ้นเมื่อผู้ป่วย ซึ่งรักษาโดยวิธีการปกติธรรมดาหรือรักษาที่โรงพยาบาล หรือแพทย์แผนปัจจุบันแล้วไม่หาย จึงต้องจัดพิธีกรรมรำแม่มดขึ้น การจัดให้มีการรำนั้นจะจัดขึ้นในช่วงเวลาหัวค่ำจนถึงเช้า การสืบทอด ต้องจัดให้มีการรำแม่มด เพื่อหาผู้สืบทอดคนที่จะมารำแม่มดคนต่อไป ผู้สืบทอดจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรำแม่มดทุกครั้ง เมื่อใครก็ตามในหมู่บ้านจัดพิธีขึ้น ซึ่งหากแม่มดเลือกคนไหน ไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม เมื่อในหมู่บ้านจัดพิธีจะต้องมารำ ห้ามปฏิเสธหรือมาไม่ได้เด็ดขาด



การปรับภูมิทัศน์วัดบ้านลำดวน

    เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ทีมผการันดูล U2T ได้ร่วมทำความสะอาดวัดบ้านลำดวน เพื่อจัดเตรียมสถานที่ในงานทอดกฐินสามัคคีประจำปี ประเพณีทอดกฐินนี้ เป็นประเพณีที่มีมาแล้วแต่ครั้งสมัยพุทธกาล และเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายทุกยุคทุกสมัยมีความนับถือกันว่าเป็นยอดของมหากุศลผลบุญ จะเป็นปัจจัยนำให้ผู้ได้ทอดกฐินนั้นได้ประสบซึ่งความสุขความเจริญในอธิโลกและปรโลกตลอดกาลนาน ดังนั้นทีมผการันดูลได้ร่วมด้วยช่วยกันปรับภูมิทัศน์และร่วมแห่ทอดกฐินกับชาวบ้านตำบลลำดวล บรรยากาศภายในงาน สนุกสนานเสียงหัวเราะรอยยิ้ม อิ่มบุญกันทั่วหน้า



การมอบลายผ้าไหม

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 กิจกรรมการมอบลายผ้าไหมให้กับกลุ่มทอผ้าหมู่11 และกลุ่มทอผ้าหมู่1 โดยทางผู้ปฏิบัติงานได้ออกแบบลายผ้าไหมลายผการันดูล เพื่อเป็นลายเอกลักษณ์ประจำตำบลลำดวน และมอบเส้นไหมให้กับชาวบ้านกลุ่มทอผ้า ทั้ง 2 กลุ่ม เพื่อจะนำไปมัดหมี่ลายผการันดูล และทอเป็นผืนผ้า สร้างความเป็นเอกลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร


กิจกรรมการแปรรูปของที่ระลึกจากเศษผ้าไหม

 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2564 จัดกิจกรรมการแปรรูปของที่ระลึกจากเศษผ้าไหมมาทำพวงกุญเเจ และ เข็มกลัดดอกลำดวน ณ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากรสำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ คุณสุริสา มุ่งดี เป็นผู้ให้ความรู้และให้ไอเดียในการแปรรูปจากเศษผ้าไหมที่เหลือใช้มาทำพวงกุญเเจ และ เข็มกลัดดอกลำดวน เพื่อให้ชุมชนนำมาแปรรูปและสร้างรายได้แก่ชุมชน ให้เป็นอาชีพเสริมที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ งาน handmade หรือเย็บปักถักร้อย เป็นการลองนำไอเดียและบวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านสร้างชิ้นงานให้เกิดประโยชน์พร้อมพัฒนาเป็นงานฝีมือเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย



การปรับสูตรสบู่เหลวซักผ้าไหมจากโปรตีนไหม 100%

     เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 จัดการปรับสูตรสบู่เหลวซักผ้าไหมจากโปรตีนไหม 100% ณ ศาลาบ้านลำดวน หมู่ 16 โดยจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำและลงพื้นที่ “ทำผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าไหม จากเส้นไหมปรับปรุงสูตรใหม่เข้มข้นกว่าเดิม  สกัดจากหัวไหม 100% ธรรมชาติสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ น้ำยาซักผ้าไหม จากเส้นไหม จุดเด่นสำคัญผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าไหม คือ การใช้โปรตีนไหมบ้านแท้ปลอดภัยไม่มีสารอันตราย เมื่อใช้แล้วทำให้ผ้าไหม มีสีสด สวย หอม สปริงตัว สามารถซ่อมแซมเส้นใยผ้า คืนความนุ่นของผ้าไหม ต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคผิดหนัง เมื่อสวมใส่แล้วทำให้รู้สึกเย็นสบายไม่อับชื้น


กิจกรรมเชิงปฏิบัติการการยกระดับผลิตภัณฑ์ การทำสบู่เหลวซักผ้าไหม

      เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ทีมผการันดูล U2T ตำบลลำดวน นำทีมโดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลลำดวน และทีมงานปฏิบัติงานลงพื้นที่ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ มีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผ้าทอตำบลลำดวน ทั้งหมด 7 กลุ่ม โดยท่านวิทยากรได้สาธิตวิธีการทำ และให้ผู้เข้าร่วมรับฟังการอบรมได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน ในการย้อมสีผ้าไหมไม่ให้สีตก การอาบน้ำยาผ้าไหม การสกัดโปรตีนจากเส้นไหม และการทำสบู่จากโปรตีนไหม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างรายได้ให้กับที่ผู้สนใจนำผลิตภัณฑ์ไปต่อยอด


กิจกรรมการรณรงค์โควิด Covid Week

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ทีมผการันดูล U2T ตำบลลำดวน ได้นำเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย และเครื่องยังชีพ สำหรับผู้กักตัว ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ที่ตั้งใจทำมอบให้แก่ รพ.สต.ลำดวน สำหรับแจกให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลลำดวนที่มาใช้บริการทางสาธารณสุขกับทาง รพ.สต.ลำดวน พร้อมทั้งขอบคุณ คุณหมอนรินทร์ ทวันเวช นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ผอ.รพ.สต.บ้านลำดวน ที่อำนวยสถานที่ให้ทีมผการันดูล U2T ตำบลลำดวน จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิญชวนฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 ซึ่งเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการเชิญชวนชาวบ้านทุกคนในตำบลร่วมฉีดวัคซีน



การปรับภูมิทัศน์ วัดหนองพลวง

 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ทีมผการันดูล U2T ตำบลลำดวน นำทีมโดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลลำดวน และทีมงานปฏิบัติงานลงพื้นที่บ้านหนองพลวง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID WEEK โดยมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อ COVID-19 ขอบคุณความร่วมมือจากท่านผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครหมู่บ้าน และชาวบ้านหนองพลวง ที่ได้เข้าร่วมรับฟังบรรยายในครั้งนี้ เพื่อเป็นการเชิญชวนให้ทุกคนในตำบล ตื่นตัวกับการฉีดวัคซีน ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน พร้อมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด พร้อมทั้งแจกหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ให้แก่ชาวบ้านทุกหลังคาเรือน เพื่อเป็นอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากโรคไวรัสโควิด และในช่วงบ่าย ทีมผการันดูล U2T ได้ดำเนินกิจกรรมการทำความสะอาดพื้นที่เสี่ยงที่ใช้งานร่วมกัน เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ณ.วัดบ้านหนองพลวง พร้อมทั้งได้ถวายอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาดวัดแด่ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองพลวง



กิจกรรมการออกแบบลายผ้าเอกลักษณ์ตำบลลำดวน

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ได้มีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย/ไหมทอมือเพื่อยกระดับ ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลลำดวน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวนพร้อมออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้าทอ โดยมีวิทยากรมาอบรม และให้ความรู้ 2 ท่าน คือ อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ และ คุณสุริสา มุ่งดี ได้รับเกียรติจาก นายประสาน  บรรจถรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน เปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวนพร้อมออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้าทอ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ต.ลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีชาวบ้านตำบลลำดวนเข้าร่วมกิจกรรม 7 หมู่บ้าน มีกลุ่มแกะลาย หมู่1 กลุ่มทอผ้าบ้านบุ หม่11 กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสตรีบ้านลำดวน หมู่16 กลุ่มทอผ้าบ้านศรีสนวน หมู่18 กลุ่มทอผ้าบ้ากระเจา หมู่7 กลุ่มทอผ้าบ้านไทรทอง หมู่17 และกลุ่มทอผ้าบ้านยาง หมู่4 จำนวน 30 คน สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้า โดยวิทยากร อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ บรรยายเรื่องการค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชุมชนตำบลลำดวน พร้อมออกแบบลวดลาย หลังจากที่อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ บรรยายเรียบร้อยแล้วได้ให้ชาวบ้านช่วยกันคิดลายอัตลักษณ์ประจำตำบลลำดวน คือ ลายดอกลำดวน และให้ชาวบ้านช่วยกันวาดภาพออกแบบลวดลายลายดอกลำดวน และทีมปฏิบัติงานได้ร่วมกิจกรรมวาดภาพออกแบบลวดลายในครั้งนี้ด้วยส่วนกิจกรรมในช่วงบ่าย โดยวิทยากรคุณสุริสา มุ่งดี บรรยายไอเดียในการออกแบบแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอ การนำผ้าทอมาแปรรูปเป็นกระเป๋าเป้ กระเป๋าสตางค์ หมวก พวงกุญแจ ฯลฯ เพื่อให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และกระจายเข้าสู่ตลาดได้ง่ายมากกว่าผ้าที่เป็นผืน และให้ชาวบ้านช่วยออกความคิดเห็นว่าอยากนำผ้าทอมาแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง ทำกระเป๋า ทำพวงกุญแจจากเศษผ้า ทำหมวก จากการความคิดเห็นของชาวบ้าน ทางทีมปฏิบัติงานจะนำมาจัดกิจกรรมในช่วงเดือนถัดไป


กิจกรรมธนาคารน้ำใต้ดิน

         เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา นำโดยนายประสาน  บรรจถรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน พร้อมทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการ เปิดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการบริหารจัดการน้ำตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการใช้ศาสตร์พระราชา และจัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าดู น่ามอง (ธนาคารน้ำใต้ดิน) ณ ศาสากลางหมู่บ้าน บ้านประดู่ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงเช้าเป็นการให้ความรู้วิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดิน โดยมีวิทยากร นายวันเฉลิม ปิ่นแก้ว ร่วมบรรยายในครั้งนี้  มีชาวบ้านในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการอบรมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมในชุมชนบ้านประดู่เป็นพื้นที่มีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น สกปรก การทำธนาคารน้ำใต้ดินจึงเหมาะที่จะนำมาแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งหลังจากที่ได้รับความรู้ในการทำธนาคารน้ำใต้ดินแล้ว ชาวบ้านเเละทีมงานในโครงการจึงได้ลงมือขุดเจาะธนาคารน้ำใต้ดินให้แก่ชาวบ้านประดู่ โดยวิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เริ่มจากขุดบ่อลึกประมาณ 2.5 เมตร และทำสะดือในหลุมอีกประมาณ 20 เซนติเมตร นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ จากนั้นปูรองก้นบ่อด้วยวัสดุ เหลือใช้ เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ยางรถยนต์ กระป๋องน้ำ ขวดพลาสติก จากนั้นคลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหินละเอียดอีกที เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดิน หรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อเกิดน้ำท่วมขังจะไหลหายลงไปในบ่อนี้ สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขังได้ จึงจุดประกายให้ชาวบ้านตื่นตัวนำไปขยายผลทำต่อเนื่องในทุกครัวเรือน ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาน้ำท่วม น้ำในบ่อยังสร้างความชุ่มชื่นให้ผืนดิน จึงเอื้อต่อการเพาะปลูกพืชผล เมื่อเกษตรกรเกิดรายได้ ปัญหาหนี้สินภาคการเกษตรก็จะเบาบาง ส่วนเศษวัสดุ ปูรองบ่อนั้น จะช่วยลดปริมาณขยะ และที่สำคัญเมื่อไม่มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ ยุงลายซึ่งเป็นตัวพาหะนำโรคไข้เลือดออกก็จะไม่มีแหล่งเพาะขยายพันธุ์อีกต่อไป วงจรของโรคร้ายแรงนี้ก็จะค่อยๆหายไปในที่สุด จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดินนั้นทำได้ไม่ยาก ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่า แก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำได้เป็นอย่างดี ชาวบ้านที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง-น้ำแล้ง สามารถนำไปปรับใช้ได้ในพื้นของตน



การระดมความคิด วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับผู้นำชุมชน ทั้ง 18 หมู่บ้าน

        เมื่อวันที่10 กุมภาพันธ์ 2563 จัดกิจกรรมเปิดเวทีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ได้รับความร่วมมือจาก นายก อบต. กำนัน ผู้นำชุมชน ผู้ช่วย เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ทุกส่วนในตำบลลำดวน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน และดึงจุดเด่นของแต่ละหมู่บ้านเพื่อนำมาหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป จากการ SWOT ข้อมูลหาจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา ให้เกิดขึ้นและยั่งยืน จากปัญหาและความต้องการจากตำบลลำดวน อ.กระสัง พัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ลำน้ำชี ป่าชุมชน โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ กระจายรายได้สู่ชุมชน



กิจกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์โครงการศูนย์ศิลปาชีพ

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 จัดกิจกรรมปรับภูมิทัศน์โครงการศูนย์ศิลปาชีพตำบลลำดวน สถานที่หน้าศูนย์ศิลปาชีพ ซ่อมแซมทาสีตัวหนอน และป้ายโครงการ โดยมีพระครูสังฆรักษ์โกศล  โกสโล  เจ้าอาวาสวัดบ้านไทร  และนักท่องเที่ยว จากประโคนชัย อยากมาเยี่ยมชมวิถีแห่งผืนผ้าแบบฉบับผการันดูล  เลยถือโอกาสจัดทริปปฐมฤกษ์แห่งฤดูกาล  ให้เยี่ยมชมวัฏจักรน้องไหม กระบวนการทำผ้าไหมพร้อมไปชมพิพิธภัณฑ์ผ้าไหมที่วัดลำดวน และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมกลุ่มทอผ้าไหมหมู่ 11 เป็นของฝากกลับบ้าน


โฎนตา

งานประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ของชาวบ้าน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เป็นความเชื่อการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ชื่อประเพณี“แซนโฎนตา” นี้อาจเรียก “บ็อนผจุมเบ็ณฑ์” ก็ได้ด้วยที่มีความเชื่อว่า ในวันแรม1ค่ำเดือน10 (วันเบ็นฑ์ตูจ) จนถึง แรม15ค่ำ เดือน10(วันผจุมเบ็ณฑ์) ชาวเขมรมีความเชื่อว่า ระยะนี้เป็นระยะเวลา ที่ยมบาลปล่อยสัตว์นรกให้มาเยี่ยมบ้านเดิมของตน เพื่อรับส่วนบุญ ที่ญาติจะอุทิศให้ ลูกหลานและญาติ มีความเชื่อว่า ญาติของตนที่ตายไปเเล้ว อาจจะไปเกิดในอบายภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่อดอยาก จึงทำบุญอุทิศให้ โดยหวังว่า เมื่อวิญญาณ ได้รับอนุโมทนาส่วนบุญแล้ว จะได้พ้นจากภูมิอันทุกข์ทรมานนั้น แล้วจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี โดยแต่ละบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ทั้งอาหารคาว-หวาน ผลไม้ ธูป เทียน เพื่อเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน รวมทั้งไปประกอบพิธีกรรมที่วัดเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศ ให้แก่ญาติบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน


บุญกฐิน

เมื่อวันเสาร์ที่  30 ตุลาคม 2564 ณ วัดบ้านลำดวน ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดงานทอดกฐินสมัคคี โดย พระครูพิศิษฏ์ ธรรมมาพิรม เจ้าอาวาสวัดลำดวน พร้อมคณะและชาวบ้านตำบลลำดวนร่วมใจกันทำบุญกฐินในครั้งนี้ บรรยากาศในงาน ชาวบ้านต่างมาร่วมด้วยช่วยกันจัดต้นกฐินตามแรงศรัทธามากน้อยตามกำลัง สวมใส่ชุดผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวตำบลลำดวน ร่วมกันแห่ต้นกฐินไปโบถซ้อนรำและมีโรงฐานมากมายจากคณะและชาวบ้าน