ต้นข้าวตาก


มะไพ


กำจัด พริกไทย สไตล์โคกสลุง


กำจัด บางพื้นที่เรียก มะข่วง หรือหมากข่วง เป็นเครื่องเทศและสมุนไพรประจำถิ่นของชุมชนโคกสลุง เป็นพืชที่มีผลกลมเล็ก ผิวขรุขระ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลหรือแดง และแตกได้ มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดพริกไทยไม่มาก พบอยู่ในบริเวณเขาในป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง ลำต

ปลาตะเพียนทอง


ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาที่มีอยู่มากในเขื่อนป่าสักฯ นิยมนํามาทําเป็นปลาเค็ม ปลาแดดเดียว หรือ ย่างแล้วตําป่น เนื่องจากเป็นปลากระดูกอ่อนตําง่าย และเนื้อจะฟู

ปลาน้ำเงิน


ปลาน้ําเงิน เป็นปลาแม่น้ําเนื้ออ่อน ลักษณะคล้าย กับปลาแดง แต่มีสีออกเงิน มีรสชาติเหมือนกับปลาแดง จึงนิยมนํามาปรุงเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาแดง แต่หาได้ยากกว่า

ปลากา


ปลาแม่น้ําพื้นถิ่น ลักษณะตัวมีสีดํา เนื้อมีสีเหลือง รสชาติดีกินอร่อย เป็นปลาที่นิยมนํามาทําลาบเครื่อง สด เพราะจะให้รสดีที่สุด บางคนก็ทําเป็นสไบบาง (แล่เอาแต่เนื้อ แล้วซอยเป็นชิ้นบางๆ กินสด) นอกจากนี้ ยังมีความพิเศษ คือ นําพุงมาทําเป็นเพลี้ยปลากา ให้ร

ปลาแดง


ปลาแดง เป็นปลาเนื้อ กินอร่อย พบมากในเขื่อนป่าสักฯ ชาวไทยเบิ้งนิยมนํามาทําอาหาร 3 อย่างด้วยกัน คือ ทําปลาเกลือ ต้มยํา และแกงกับหน่อไม้ส้ม

ปลากราย


ปลากราย เป็นปลาที่มีมากในลุ่มแม่น้ําป่าสัก ชาวบ้านนิยมแล่ปลา แล้วขูดเนื้อมาทํา ปลาเห็ด หรือ ลาบเครื่องสด คือการนําน้ํามะขามเปียกมาขยํากับเนื้อ ปลาให้เข้ากัน คั้นเอาน้ําคาวออก ให้เหลือแต่เนื้อปลา จากนั้นนําน้ําคาวมาหลน ตั้งไฟให้เดือด แล้วนําเ

ไข่น้ำ


ไข่น้ํา หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า ผำ มีสีเขียว ขนาดเล็ก พบในแหล่งน้ําสะอาดเท่านั้น ชาวไทยเบิ้ง มักจะนํามาแกงเหมือด(ผสม) กับ ปลาย่าง กากหมู เป็นต้น

ต้นหัวแมงวัน


ดอกหัวแมงวัน มักกินในช่วงเกี่ยวข้าว ยอดอ่อนมี รสชาติเปรี้ยวอ่อน ส่วนของยอดใบ มีรสฝาดมัน นิยม กินคู่กับลาบ ปลาร้าสับ น้ําพริกปลาป่น

บอน


บอน เป็นพืชพื้นบ้านกินในส่วนของก้านใบ โดยทํา การลอกเปลือกออกให้หมด ในกระบวนการปรุงสุก มักนํามาต้มกบั ของเปรี้ยว เช่นมะขามหรือยอดมะขาม หากทําไม่ดี จะทําให้คันปาก บอนมีรสจืด เมื่อสุกแล้ว จะให้รสสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ชาวไทยเบิ้งมักชื่นชอบแกง บอนกันทุก

สามสิบ


ต้นสามสิบ เป็นพืชพื้นบ้านที่นิยมปลูกกันภายในครัวเรือน ลำต้นมีหนามแหลม มักนิยมกินในส่วนของยอด โดยการสับยอดให้ละเอียด บุบพอแตก แล้วนำมาแกงเหมือด(ผสม) หมูสับหรือเนื้อสัตว์อื่นๆ

ขจร


สลิด เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมกินกันทั่วไป ใส่ส่วน ของฝักมีรสชาติหวานกรอบ เมื่อต้มสุกแล้วจะมีความ หวานและนิ่ม ส่วนของใบจะต้องนํามาต้ม มีรสจืดมัน เล็กน้อย เป็นผักเคียงกินกบั น้ําพริก

อึ่ง


ในช่วงฤดูฝน ฝนตกหนัก ชาวบ้านต่างพากันไปหา จับอึ่งในป่า หรือพากันไปขุด อึ่ง จึงเป็นสัตว์อีกชนิด หนึ่งที่คนไทยเบิ้งนิยมนํามาทําอาหาร เช่น ต้มอึ่งยอด ใบมะขามอ่อน แกงอึ่งเหมือด(ผสม)เปราะ เป็นต้น

บึ้ง


บึ้ง มีลักษณะคล้ายแมงมุม คนไทยเบิ้งนิยมขุดบึ้ง ในบริเวณป่า ตัวบึ้งมีความมันเมื่อนํามาหมก กินคู่กับ พริกตะเกลือ หรือนําไปทําเป็นลาบบึ้ง

เปราะ


เปราะเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณป่าชื้น มีรสจืด กลิ่นฉุนอ่อนๆ สามารถกินได้ทั้งสด เช่นนํามายํา หรือ นําไปแกงเหมือด(ผสม)กับเนื้อต่าง ๆ เช่น แย้ หมู อึ่ง เป็นต้น

ตะคร้อ


ตะคร้อ เป็นไม้ป่า และสามารถพบต้นภายในชุนชนอยู่บ้าง ผลตะคร้อ หรือลูกตะคร้อให้รสเปรี้ยวจัด และมีรสชาติเฉพาะ ลักษณะคล้ายผลลําไย แต่มีสีส้มสด คนไทยเบิ้งมักนิยมเคล้ากินกับพริกตะเกลือไทยเบิ้ง หรอื ใส่น้ําปลาพริก บ้างก็ใส่น้ําตาลเพื่อตัดหวาน

มะสัง จี้ดจ้าดไม่แพ้มะนาว


ในยามที่มะนาวแพง จนต้องหาอย่างอื่นมาทดแทน โชคดีที่ประเทศไทยมีพืชอยู่มากมายที่มาให้รสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ ไม่ต้องไปเสี่ยงกินน้ำส้มสายชูให้เสียสุขภาพ ที่โคกสลุงขอนำเสนอพืช ที่ให้รสเปรี้ยวได้เฉกเช่นเดียวกับมะนาว นั้นคือ “มะสัง” มะสัง เป็นไม้ยืนต้น

ผักกะลืมผัว อร่อยนี้ไม่เผื่อสามี


“ผักกะลืมผัว” (ผักลืมผัว) พบบริเวณทุ่งนาที่ มีความชื้นหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวช่วงปลายฝนต้นหนาว ผักกะลืมผัวมีชื่อเรียกเป็นเอกลักษณ์ชวนให้นึกถึงที่มา จากเรื่องเล่าที่ภรรยากินผักนี้อย่างเอร็ดอร่อยจนลืมเหลือไว้ให้สามีอันเป็นที่รัก ช่วงเ

ผักงาด สีย้อมในอดีต


ก่อนที่จะมีสีเขียวจากโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ย้อมผ้า ชาวบ้านโคกสลุงเคยนำใบของผักงาด จากบริเวณชายป่ารอบๆ ชุมชนมาเป็นสีย้อมธรรมชาติ ซึ่งให้สีเขียวสดสว่าง สำหรับการทอโจงกระเบนเพื่อสวมใส่ ต่อมาการนำผักงาดมาใช้ย้อยผ้าได้หายไปจากชุมชนโคกสลุง ที่เป็นเช่นนั้นเพ

อรพิม


ปอระพิม หรือเรียกได้อีกว่า ออระพิม และ บอระพิม เป็นไม้เลื้อย ใบพุ่มหนา ให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ดอกสีขาวบานสะพรั่งให้ความสวยงาม และในส่วนของราก คนไทยเบิ้งมักนิยมนํามาทุบให้แบน ตากให้แห้ง แล้วนํามากินเป็นหนึ่งส่วนผสมในการกินหมาก

ค้อ


ต้นค้อ เป็นพืชที่พบได้เป็นจํานวนมากในเขตลุ่มแม่น้ําป่าสักฯในสมัยก่อน ในสมัยนั้นคนไทยเบิ้งนิยมนําใบค้อมากรุด้านนอกของตัวบ้าน เรียกว่า ฝาค้อ

กลอย


กลอย เป็นพืชกินหัว พบบริเวณเขา คนไทยเบิ้งจึงต้องออกเดินทาง เพื่อไปขุดกลอยนํากลับมาทําอาหาร โดยการทําให้เป็นแผ่นบาง ๆ ผ่านกระบวนการล้าง หลายน้ําและหมักเพื่อให้กลอยหมดฤทธิ์ก่อน จึงนึ่งให้ สุก รสชาติจืด เหนียวหนึบ แต่มีกลิ่นเฉพาะชวนกิน บางคนก็นําไปหุงกิ