แหล่งสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในพื้นที่ย่านชุมชนเก่า หัวเขา-แหลมสน



สวนไดโนเสาร์


ชื่อแหล่งข้อมูล สวนไดโนเสาร์ วันที่เก็บข้อมูล 18/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง 531/39, ตำบล สำนักขาม อำเภอสะเดา สงขลา 90320 พิกัด ละติจูด 6.5324076 ลองจิจูด 100.4054356 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) สวนไดโนเสาร์ ตั้งอยู่ที่ ด่านนอก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นชายแดนไทย – มาเลเซีย นั่นเอง สวนไดโนเสาร์ เป็นส่วนหนึ่งของ หมู่บ้านวัฒนธรรมอาเซียน (Asian Cultural Village) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะที่นี่มีบริเวณพื้นที่กว้างขวางมาก มีหลายสถานที่ ที่น่าตื่นตาตื่นใจให้เยี่ยมชม ที่นี่ เป็นดินแดนพหุวัฒนธรรมที่ผสมผสานระหว่างไทย จีน ได้อย่างลงตัว นักท่องเที่ยวที่มาที่นี่ส่วนใหญ่ก็เป็นชาวมาเลเซีย ชาวสิงคโปร์ที่มีเชื้อสายจีน เข้ามาจำนวนมาก ที่นี่เป็นสถานที่ ที่เหมาะสำหรับการพาเด็ก ๆ มาเปิดโลกใบใหม่ พานักเรียนมาทัศนศึกษา หรือจะมากับเพื่อน กับคนรู้ใจก็มีความสุขทั้งนั้น โดยที่สวนแห่งนี้จะแบ่งเป็น 6 สวนคือ สวนไดโนเสาร์ สวนกระต่าย สวนแห่งอนาคต สวนน้ำ สวนสัตว์ และแฮปปี้คาร์ ซึ่งแต่ละที่ก็สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว สวนไดโนเสาร์เป็นสวนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะ มีบริเวณกว้างขวาง และมีการจำลองไดโนเสาร์หลากหลายสายพันธุ์ เป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ พร้อมป้ายที่คอยให้ความรู้แก่ผู้ที่ไปเยี่ยมชม ได้เดินเยี่ยมชม และถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ส่วนใครที่อยากจะสัมผัสกับบรรยากาศของภาคเหนือ ที่สวนไดโนเสาร์แห่งนี้ก็มีเหมือนกัน เพราะที่นี่มีบ้านชาวกะเหรี่ยงคอยาว ที่มาตั้งร้านขายของ ซึ่งล้วนแต่เป็นของขึ้นชื่อ และของพื้นเมืองของชาวภาคเหนือทั้งสิ้น โดยไม่ต้องไปไกลถึงภาคเหนือ แค่มาที่นี่ก็จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงแบบที่เราไม่เคยเห็นกันมาก่อน ยามเย็น เราก็จะได้เห็น แสงไฟที่สวยงามของที่นี่ พร้อมทั้งไฮไลท์สำคัญ นั่นคือ ตลาดอู่หลิน ไนท์ มาร์เก็ต ที่เรียกได้ว่าเป็นตลาดวัฒนธรรมจีนของชาวสงขลาที่หาได้ยาก สินค้าที่นี่ก็เป็นสินค้าที่บ่งบอกถึงความเป็นจีนอย่างแท้จริง รวมทั้งมีการแสดงที่ล้วนแต่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมทั้งสิ้น โดยตลาดนี้จะเปิดทำการทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป


หาดบ่ออิฐ


ชื่อแหล่งข้อมูล หาดบ่ออิฐ วันที่เก็บข้อมูล 19/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง หมู่ที่ 8 ต. เกาะแต้ว อ. เมือง จ. สงขลา พิกัด ละติจูด 7.1151328 ลองจิจูด 100.6621436 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) บริเวณชายหาดบ่ออิฐตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ต. เกาะแต้ว อ. เมือง จ. สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของจ.สงขลาอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว มีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในตำบลเกาะแต้ว และตำบลใกล้เคียง บรรยากาศท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ชายหาดบ่ออิฐในวันที่มีคลื่นลมแรงพัดเข้าหาชายหาดอีกครั้ง ไม่เงียบเหงา ยังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากชายหาดบ่ออิฐเป็นเวิ้งอ่าวที่มีเขื่อนหินป้องกันคลื่นกั้นความยาว 200 เมตร ทำให้คลื่นลมบริเวณชายหาดไม่รุนแรงมากนัก อีกทั้งบริเวณชายหาดมีความร่มรื่นของทิวสนที่ทอดยาวไปตามแนวชายหาดและนักท่องเที่ยวสามารถนำรถยนต์และรถจักยานยนต์ลงไปจอดริมชายหาดได้ ซึ่งสร้างความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวรวมทั้งมีร้านค้าซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่นำขนมขบเคี้ยว ลูกชิ้น น้ำและเครื่องดื่มมาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วยและไม่มีเหล้าเบียร์จำหน่าย


สวนสัตว์สงขลา


ชื่อแหล่งข้อมูล สวนสัตว์สงขลา วันที่เก็บข้อมูล 10/02/2562 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง เลขที่ 189 ถนนสงขลา-นาทวี ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พิกัด ละติจูด 7.1429569 ลองจิจูด 100.6021214 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) สวนสัตว์สงขลาเป็นสวนสัตว์แห่งแรกของภาคใต้ จัดตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ในพื้นที่ 878 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาและโอบล้อมด้วยทะเลสาบสงขลา บริเวณเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาและได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ตุลาม พ.ศ. 2541 ซึ่งปัจจุบันมีสัตว์ต่างๆให้ประชาชนชาวจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงได้ชม เช่น สมเสร็จ กระจง อูฐ ลามา ยีราฟ หมี เสือ ลิง ชะนี กวาง ละมั่ง เก้ง นกสวยงาม เช่น นกแก้ว นกมาร์คอว์ นกคาสโชวารี นกฟลามิงโกและสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย ภายในสวนสัตว์มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศและต่างประเทศ เช่น อูฐ นกชนิดต่างๆ วัวแดง เสือ จระเข้ เป็นต้น นอกเหนือจากสัตว์ป่าชนิดต่างๆ อันควรค่าแก่การศึกษา สวนสัตว์สงขลายังมีจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดคือ จุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองสงขลา บริเวณนั้นมีร้านอาหารไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ มีรูปปั้นไดโนเสาร์และมนุษย์ดึกดำบรรพ์และสัตว์ป่าที่หายากจัดแสดงไว้ให้ท่านได้ชมอีกด้วย


ตลาดกิมหยง


ชื่อแหล่งข้อมูล ตลาดกิมหยง วันที่เก็บข้อมูล 9/04/2562 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ สงขลา 90110 พิกัด ละติจูด 7.0077684 ลองจิจูด 100.4677853 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) ตลาดกิมหยง เป็นตลาดขายของฝากและของที่ระลึกขนาดใหญ่ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่บนอาคารสองชั้น ริมถนนละม้ายสงเคราะห์ ชั้นบนเป็นร้านขายสินค้า ชั้นล่างเป็นตลาดขายของแห้ง เดิมอาคารแห่งนี้เคยเป็นโรงภาพยนตร์ ชื่อ โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ชื่อตลาดกิมหยง มาจากชื่อเต็มว่า "ตลาดชีกิมหยง" เป็นชื่อของคหบดีชาวจีนชื่อ ชีกิมหยง และภรรยาชื่อ ละม้าย เจ้าของที่ดินแต่เดิม ตลาดกิมหยงเป็นตลาดที่มีชื่อเสียงคู่กับ ตลาดสันติสุข ซึ่งจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำหอมและเครื่องสำอาง ซึ่งอยู่ริมถนนนิพัทธ์อุทิศ ในย่านเดียวกัน ในอดีตตลาดกิมหยงบริเวณชั้นล่างนอกจากจะเป็นตลาดสดเหมือนตลาดทั่วไปแล้วยังมีการจำหน่ายสินค้าที่มาจากประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะอาหารแห้ง กาแฟสำเร็จรูป ขนม เครื่องสำอางค์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้าเหล่านี้ถูกลักลอบนำเข้ามาโดยไม่ได้เสียภาษี ดังนั้นตลาดกิมหยงจึงเป็นแหล่งทีนักท่องเที่ยวชาวไทยมาซื้อหาสินค้าเหล่านี้เพื่อกลับไปเป็นของฝาก (ในขณะที่คนไทยมักลักลอบนำข้าวสาร น้ำตาล เข้าไปขายในปาดังเปซาร์ ฝั่งมาเลเซีย)ส่วนชั้นสองของอาคารนั้นในอดีตเคยเป็นโรงภาพยนตร์ชื่อเฉลิมไทยซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากเพราะมักจะฉายภาพยนตร์ฝรั่งโดยมีผู้ให้เสียงพากษ์ภาษาไทยที่มีชื่อเสียง คือ กรรณิการ์ อมรา


สวนสองเล


ชื่อแหล่งข้อมูล สวนสองเล วันที่เก็บข้อมูล 18/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2267408 ลองจิจูด 100.5753637 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) สวนสองทะเลเป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม ตั้งอยู่ระหว่างท่าแพขนานยนต์สงขลา และศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์(อย่าลืมกราบไหว้เพื่อความเป็นศิริมงคล) นอกจากนั้นยังพิเศษเพราะอยู่ระหว่างทะเลสาบสงขลาและทะเลฝั่งอ่าวไทย ที่สวนสองทะเลนี้มีต้นสนให้ความร่มรื่น ลมพัดเย็นสบายทั้งวัน และมีประติมากรรมรูปปั้นพญานาคส่วนหัว สร้างจากโลหะรมสนิมสีเขียว สูงเกือบ 10 เมตรดูยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม ซึ่งพญานาคจะพ่นน้ำตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้าของทุกวัน เป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์นั่นเอง ถ้าขับรถเลาะชายหาดมาตั้งแต่หาดสมิหลา หาดชลาทัศน์ ก่อนถึงสวนสองทะเลก็จะเห็นหางและลำตัวพญานาคครบทั้ง 3 ส่วน เป็นกิจกรรมตามล่าแลนด์มาร์คระยะทางยาว 4 กิโลเมตรที่น่าทำอีกอย่างเมื่อมาเยือนอำเภอเมืองสงขลา  สำหรับนาคหรือพญานาค เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดน้ำ ความยิ่งใหญ่แห่งน้ำ เป็นเทพเจ้าแห่งการให้น้ำ และความอุดมสมบูรณ์แก่สรรพชีวิตทั้งปวง ชาวใต้มีความเชื่อว่า นาคหรือพญานาค จะพ่นโปรยน้ำทิพย์มาชโลมไล้ให้มนุษย์มีความสุขสดชื่น ชำระล้างมลทินทั้งกายและทางใจ ชาวภาคใต้นับถือนาคหรือพญานาค เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกราบไหว้ขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนสืบไป ส่วนหัวของพญานาคจะมีน้ำพ่นออกมาทุกวันเวลาประมาณ 8.00 น. ส่วนสะดือพญานาคอยู่บริเวณระหว่างแหลมสนอ่อนและหาดสมิหลา ส่วนหางพญานาคอยู่ที่หาดชลาทัศน์ รวมความยาว ประมาณ 4 กิโลเมตร


ปางช้างเผือก หาดใหญ่


ชื่อแหล่งข้อมูล ปางช้างเผือก หาดใหญ่ วันที่เก็บข้อมูล 18/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง อำเภอหาดใหญ่ สงขลา 90110 พิกัด ละติจูด 7.0838821 ลองจิจูด 100.5366876 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) “ปางช้างเผือกหาดใหญ่” ตั้งอยู่ที่ 86 ม.1 ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ท่ามกลางบรรยากาศที่ประทับใจ โดยมีกิจกรรมหลักๆ ประจำวันที่ทางปางช้างเผือกหาดใหญ่ ได้จัดให้นักท่องเที่ยวได้มาสนุกสนานกัน คือ นั่งช้างเที่ยวชมธรรมชาติ เพิ่มความมันด้วยการขับรถ ATV กิจกรรมยิงธนู และยิงปืน และภายในปางช้างเผือกหาดใหญ่ ก็มีบริการสปานวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพให้นักท่องเที่ยวได้รู้สึกผ่อนคลายจากการเมื่อยล้าในราคาที่เป็นกันเอง 250 บาทต่อท่าน รวมถึงมีการจำหน่ายของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์โอทอปจากเชียงใหม่ ไฮไลต์ ของ “ปางช้างเผือกหาดใหญ่” เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ นั่นคือ “โชว์ช้าง” นั่นเอง โดยมีพระเอก 2 เชือก หลักๆ โหมโรงโดยมายากล และกายกรรม ก่อนที่จะได้ชื่นชมความสามารถ และความน่ารักของช้างน้อย โดยทุกครั้งนักแสดงจะให้เด็กๆ ที่เข้าไปชมได้มีส่วนร่วมในการแสดง เพิ่มความตื่นเต้นและความสนุกให้แก่เด็กๆ ได้เป็นอย่างดีทีเดียว


หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ


ชื่อแหล่งข้อมูล หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ วันที่เก็บข้อมูล 18/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง หอดูดาวภูมิภาคสงขลา ถนนตำบล เขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.1587364 ลองจิจูด 100.6052567 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา สงขลา เป็นหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ละติจูด 7 0 9’ 29’’ N 1000 36' 39'' E บริเวณตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 นับเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์ที่สำคัญของภาคใต้ สนับสนุนวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน บริการวิชาการทางดาราศาสตร์และงานวิจัยดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน นักศึกษา และสถาบันการศึกษาในภาคใต้ และยังเป็นศูนย์เรียนรู้ดาราศาสตร์มุสลิมอย่างครบวงจร ภายในเนื้อที่ 25 ไร่ นั้นสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารไว้สำหรับให้บริการวิชาการดาราศาสตร์ไว้ 3 อาคาร ได้แก่ อาคารอำนวยการ อาคารฉายดาว อาคารหอดูดาว และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ อาทิ จุดชมวิวที่มีมุมเปิดกว้างมากกว่า 270 องศา ให้สามารถมองทัศนียภาพของเมืองสงขลาได้ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และ ลานดูดาวที่จัดแสดงสัญลักษณ์รูปกลุ่มดาวแมงป่อง เป็นต้น


หัวนายแรง เก้าเส้ง


ชื่อแหล่งข้อมูล หัวนายแรง เก้าเส้ง วันที่เก็บข้อมูล 12/03/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง อําเภอ หมู่ 3, ตําบล ตำบล เขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.1807214 ลองจิจูด 100.6160725 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) เรื่องเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งที่เมืองพัทลุง มีสามี ภรรยาคู่หนึ่งอยู่ด้วยกันเป็นเวลาช้านาน แต่ยังไม่มีลูก จึงพากันไปหาสมภารที่วัด สมภารจึงแนะนำให้ไปหยิบก้อนกรวดที่ริมบ่อน้ำ นำไปห่อผ้าขาววางไว้ใต้หมอนแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอลูก ไม่ช้าภรรยาก็ตั้งครรภ์ และคลอดออกมาเป็นลูกชาย ชาวบ้านก็แตกตื่นกันมาดูเพราะทารกโตเกือบเท่าเด็ก 1 ขวบ ชื่อนายแรง และกินอาหารจุกว่าทารกปกติ ด้วยความผิดปกติของลูก ในที่สุดพ่อแม่ก็ยากจนลง จึงคิดที่จะฆ่าลูกชายเพราะไม่สามารถเลี้ยงดูต่อไปได้ ความพยายามฆ่าลูกชายเกิดขึ้นหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ นายแรงสามารถกลับมาที่บ้านได้ทุกครั้ง พ่อแม่ก็สำนึกผิดเลยเต็มใจเลี้ยงต่อไป นายแรงสงสารพ่อแม่ที่ตนเองเป็นต้นเหตุให้ยากจน จึงรับอาสาทำงานทุกอย่างเพื่อแลกกับอาหารมาเลี้ยงดูพ่อแม่ ครั้งหนึ่งเมืองในแถบมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยเกิดแข็งเมือง นายแรงอาสาไปรบศึกด้วย โดยเป็นกองหน้า และสามารถบุกตะลุยข้าศึกจนได้รับชัยชนะ นายทัพฝ่ายไทยจึงแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง ครั้นทางเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมือง ทางปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปร่วมบรรจุด้วย เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะเดินทาง เรือสำเภาถูกคลื่นลมพัดกระหน่ำจนชำรุด จึงต้องแวะเข้าจอดยังชายหาดแห่งหนึ่งเพื่อซ่อมแซม หลังซ่อมแซมเสร็จ ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนเขาลูกหนึ่ง แล้วสั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้บนยอดเขา เขาลูกนี้ภายหลังจึงเรียกว่า “เขาเก้าแสน” และเพี้ยนมาเป็น “เก้าเส้ง” ในเวลาต่อมา และก้อนหินที่ปิดทับอยู่บนยอดเขา เรียกว่า “หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญาณของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์จวบจนทุกวันนี้


บ้านนครใน


ชื่อแหล่งข้อมูล บ้านนครใน วันที่เก็บข้อมูล 9/04/2564 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง 117 ถนน นครใน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.1968161 ลองจิจูด 100.5878031 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) บ้านเก่าหลังหนึ่งในย่านถนนวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลาที่ถูกแปลงสภาพเป็นพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมถิ่น โดดเด่นด้วย “แจกัน โถไหกระเบื้องเคลือบขนาดใหญ่ ที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม” ตกแต่งหน้าประตูทางเข้าทั้งสองฝั่งถนนนครนอก ถนนนครใน รู้จักกันในชื่อ “บ้านนครใน” บ้านนครใน เป็นบ้านเก่าที่ถูกสร้างสรรค์ใหม่ด้วยฝีมือของคุณกระจ่าง จารุพฤกษ์พันธ์ ด้วยความรักและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมเก่าสงขลา จึงได้ซื้อบ้านเก่าหลังนี้และพัฒนาเป็น “พิพิธภัณฑ์เมืองเก่าสงขลา” แหล่งบันทึกประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสงขลา ไว้ให้ลูกหลานชาวสงขลาและชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้ ตลอดทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์/วัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจจากทั่วโลก ที่นี่มีการตกแต่งแบบชิโนยูโรเปี้ยนสวยงามสะดุดตาและยังกลมกลืนกับวัฒนธรรมจีนที่เคล้ารวมกันอย่างลงตัว ตั้งแต่ทางเข้าประตูทั้งสองด้านของถนน จะพบจานโบราณ แจกันโบราณ ถูกนำมาประดับตกแต่งอย่างพิถีพิถัน


น้ำตกโตนหญ้าปล้อง


ชื่อแหล่งข้อมูล น้ำตกโตนหญ้าปล้อง วันที่เก็บข้อมูล 10/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบล ทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา 90110 พิกัด ละติจูด 7.0351772 ลองจิจูด 100.5231958 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) น้ำตกโตนหญ้าปล้อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ห่างจากตัวอำเภอหาดใหญ่ไปประมาณ 13 กม. เป็นทางเลือกใหม่ใจกลางเมือง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์ ทางผ่านเต็มไปด้วยธรรมชาติอันสมบูรณ์ สวนยางพารา สวนไม้ผล ไม้ป่านานาพันธ์และแมลงหลากหลายชนิด เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเที่ยวเชิงอนุรักข์ ได้เข้าไปศึกษา การเดินทางมายังน้ำตกโตนหญ้าปล้อง เดินทางจากหาดใหญ่มาทางถนนกาญจนวนิช (สายหาดใหญ่-สงขลา สายเก่า) ถึงแยกไฟแดงน้ำน้อยเลี้ยวขวาเข้ามาทางถนนสายบ้านหัวนอนถนน-ทุ่งหวัง ประมาณ 2 กม. (เข้ามาทางโรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม) ก่อนถึงสะพานคอกช้าง มีทางแยกเลี้ยวขวาเป็นถนนลูกรังเข้าสู่น้ำตกโตนหญ้าปล้อง เป็นระยะทาง 1.7 กม. ฤดูท่องเที่ยว แบ่งออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม และช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ของทุกปี


ศาลกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวนสองทะเล สงขลา


ชื่อแหล่งข้อมูล ศาลกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สวนสองทะเล สงขลา วันที่เก็บข้อมูล 19/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง แหลมสนอ่อน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2278204 ลองจิจูด 100.5762403 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) สวนสองทะเล เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และที่ตั้งของศาลกรมหลวงชุมพร ภายในศาลแห่งนี้มีพระราชประวัติ พระบรมฉายาลักษณ์ และเรื่องราวที่น่าสนใจมากมาย สำหรับพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด พระองค์ทรงได้รับสมัญญานามว่า "องค์บิดาของทหารเรือไทย" พระองค์ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบริหารงานของกองทัพเรือ ทรงได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" หรือ "หมอพร" และ "พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย" ต่อมาในปี 2536 มีประกาศกองทัพเรือขนานพระนามพระองค์ว่า "พระบิดาของกองทัพเรือไทย" พระองค์ทรงการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ระยะแรกทรงศึกษาวิชาการขั้นต้นเช่นเดียวกันกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แต่ต่อมาได้ทรงแยกไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ด้วยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นว่า กิจการทหารเรือของไทยในสมัยนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ต้องอาศัยชาวต่างประเทศมาเป็นครูและควบคุม พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ อยู่ในประเทศอังกฤษ เป็นเวลานานถึง 6 ปี จึงทรงสอบไล่ได้ตามหลักสูตรสูงสุดของโรงเรียนนายเรืออังกฤษ แล้วเสด็จกลับประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2443 ถึงเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2449 ขณะทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือในสมัยนี้เอง ที่พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไข และวางหลักสูตรในโรงเรียนนายเรือขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ มีความรู้ความสามารถทัดเทียมกับผู้ที่สำเร็จจากโรงเรียนนายเรือในต่างประเทศ เมื่อครั้งพระองค์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2466 ไปสู่ตำบลปากน้ำชุมพร และประทับอยู่ที่นั่นได้ไม่นาน ก็ทรงประชวรด้วยไข้หวัดใหญ่ และเพียง 3 วันเท่านั้น ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 รวมพระชนมายุเพียง 44 พรรษา ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ได้มีการจัดสร้างศาลและอนุเสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมทั้งสิ้น 217 แห่งทั่วประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร หรือที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมถึงที่สวนสองทะเล หาดสมิหลา สงขลาแห่งนี้ด้วย แม้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จะสิ้นพระชนม์ไปนานแค่ไหนก็ตาม ประชาชนชาวไทยยังคงเคารพในพระมหากรุณาธิคุณ ชาวสงขลาและนักท่องเที่ยวที่มาเยือนสงขลาแทบทุกคนไม่มีใครพลาดการมาสักการะอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรแห่งนี้


สนามกีฬาติณสูลานนท์


ชื่อแหล่งข้อมูล สนามกีฬาติณสูลานนท์ วันที่เก็บข้อมูล 19/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2070903 ลองจิจูด 100.5963698 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) จุดเริ่มต้นของสนามแห่งนี้ คงต้องย้อนกลับไปประมาณปี 2514 – 2515 ซึ่งในขณะนั้นจังหวัดสงขลาถือเป็นหลักของเขต 9 เมื่อครั้งกีฬาที่มีความสำคัญที่สุดอย่างกีฬาแห่งชาติ ยังคงเป็นกีฬาเขตและแบ่งการแข่งขันเป็น10 เขต จึงจำเป็นต้องมีสนามกีฬาหลักประจำเขตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ขณะนั้นองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.) ปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ได้มีโครงการจัดสร้างสนามกีฬาในภูมิภาคขึ้น โดยในจังหวัดสงขลา ใช้ชื่อสนามว่า “ สนามกีฬาเขต 9 ” ตั้งอยู่ ณ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นเอง พ.ศ 2532 จังหวัดสงขลา ได้รับคัดเลือกให้เจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ทำให้สนามกีฬาเขต 9 ต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมไปถึงการเปลี่ยนชื่อสนามจาก “ สนามกีฬาเขต 9 ” เป็น “ สนามกีฬาติณสูลานนท์ ” ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น สนามกีฬาติณสูลานนท์กลายเป็นสนามกีฬาที่สำคัญในภาคใต้ในการจัดการแข่งขันกีฬาในประเภทต่าง ๆ พ.ศ 2541 สนามกีฬาติณสูลานนท์ ได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพรายการใหญ่ที่สุดอย่างการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ปี 2541 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ สนามติณสูลานนท์ จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง เพราะสนามได้รับการคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันรอบคัดเลือกและนัดชิงที่ 3 ของกีฬาฟุตบอล โดยในนัดชิงที่ 3 ทีมชาติไทยพบกับทีมชาติจีน ทีมชาติไทยแพ้ไป 0-3 แต่ในทางกลับกันกับสามารถสร้างสถิติที่มีผู้เข้าชมการแข่งขั้นประมาณ 30000 กว่าคน เป็นยอดคนดูที่มากที่สุดในขณะนั้น พ.ศ 2554 สนามติณสูลานนท์ในฐานะรังเหย้าของสงขลา เอฟซี (วัวชนแดนใต้) ยังคงเป็นสนามเจ้าของสถิติผู้เข้าชมฟุตบอลสูงสุดที่ 36,715 คน ในนัดที่เจอกับบุรีรัมย์ เอฟซี เมื่อ 7 ส.ค.54 ในระดับดิวิชั่น 1 ณ ตอนนั้น ปี 2557 สนามติณสูลานนท์ เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยทางการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้โอนการดูแลสนามมาให้กับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และมีการใช้งบประมาณร่วม 200 ล้านบาทในการปรับปรุงสนามทั้งสนามฟุตบอลและสนามอื่นๆ โดยเพิ่มความจุสนามจาก 35,000 ที่นั่งเป็น 45,000 ที่นั่งและเป็นเก้าอี้นั่งทั้งหมด เพื่อรองรับงานใหญ่กีฬาแห่งชาติ สงขลาเกมส์ 20-30 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา


หาดสะกอม


ชื่อแหล่งข้อมูล หาดสะกอม วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง เทพา อำเภอ เทพา สงขลา 90150 พิกัด ละติจูด 6.9600425 ลองจิจูด 100.8377612 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) หาดสะกอม ชายหาดที่มีหาดทรายขาวสะอาดแห่งนี้ อยู่ห่างจากตัวเมืองสงขลาตามเส้นทางสงขลา-จะนะ-เทพาประมาณ 53 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่เป็นที่รู้จักของคนในท้องถิ่น มีลักษณะชายหาดทอดตัวยาวจากเหนือจรดใต้ น้ำทะเลใส ที่สำคัญ หาดสะกอม ยังเป็นหาดที่ยังคงอบอวลไปด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านและการทำประมงท้องถิ่น เราจึงยังคงเห็นเรือประมงทั้งลำน้อยลำใหญ่ ทั้งแล่นอยู่ในทะเลและจอดอยู่ตามชายฝั่งตลอดแนวชายหาด ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมายังหาดสะกอมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากถนนลาดยางเข้าไปถึงชายหาด ขณะเดียวกัน เราจึงเห็นจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนกันที่หาดสะกอมแห่งนี้มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และช่วงวันหยุดเทศกาล เพราะนอกจากกิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ รวมถึงนอนรับลมทะเลชิล ๆ ใต้แนวต้นสนสูงแล้ว จากหาดสะกอมนักท่องเที่ยวยังสามารถเช่าเรือไปเที่ยวที่เกาะขาม เกาะบริเวณใกล้เคียง อันเป็นแหล่งตกปลาที่มีชื่อเสียงอีกด้วย นอกจากนี้ บริเวณหาดสะกอมยังมีร้านอาหารและที่พักไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวครบถ้วน


อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง


ชื่อแหล่งข้อมูล อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบล คลองกวาง อำเภอ นาทวี สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 6.5647433 ลองจิจูด 100.5832956 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) อุโมงค์ประวัติศาสตร์เขาน้ำค้าง หรือหมู่บ้านปิยมิตร 5 อยู่บริเวณเขาน้ำค้าง หมู่ที่ 1 ตำบลคลองกวาง ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร ถนนเป็นทางลาดยางเดินทางสะดวก สองข้างทางเป็นป่าที่ยังสมบูรณ์ เป็นฐานที่มั่นหรือฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดของโจรจีนคอมมิวนิสต์ในแถบนี้ มีลักษณะเป็นถ้ำหรืออุโมงค์ธรรมชาติที่ใหญ่ และมีความวิจิตรพิสดารของธรรมชาติ เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารที่สำคัญ และทางทิศตะวันออกของอุโมงค์ มีน้ำตกพรุชิงที่สวยงามด้วยด้านหน้าก่อนเดินเข้าไปชมภายในอุโมงค์จะมีนิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมา ข้อมูล และภาพถ่ายให้ได้ชมกัน บริเวณอุโมงค์ในอดีตเป็นหมู่บ้านคอมมิวนิสต์ หลังจากการสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเกือบ 40 ปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศยุติการสู้ เข้าร่วมเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อปี พ.ศ. 2530 อุโมงค์นี้เป็นอุโมงค์ดินเหนียวมีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทย ขุดด้วยกำลังคนใช้เวลาประมาณ 2 ปี ภายในแบ่งเป็น 3 ช่องทาง ลึก 3 ชั้น มีมีช่องทางเข้า-ออก 16 ช่อง มีบันไดเชื่อมระหว่างชั้น ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงภายในอุโมงค์ยาว 1 กิโลเมตร ภายในอุโมงค์แบ่งเป็นห้อง ๆ เช่น ห้องประชุม ห้องพยาบาล ห้องวิทยุ ห้องครัว สนามซ้อมยิงปืน เป็นต้น และยังมียาสมุนไพรจำหน่าย


เขาตังกวน


ชื่อแหล่งข้อมูล เขาตังกวน วันที่เก็บข้อมูล 19/08/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง 1 3 ถนน สุขุม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2103554 ลองจิจูด 100.5871116 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในอ.เมือง จ.สงขลา เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต จากยอดเขาตังกวนนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมือง สงขลาซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี(อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต ) โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์ และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.9) ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุในองค์พระเจดีย์ในทุกๆ ปีในเดือนตุลาคม จะมีงานพิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์ และประเพณีตักบาตรเทโวและลากพระของสงขลา


พระพิฆเนศใหญ่ที่สุดในภาคใต้ Dannok Ganesh Temple


ชื่อแหล่งข้อมูล พระพิฆเนศใหญ่ที่สุดในภาคใต้ Dannok Ganesh Temple วันที่เก็บข้อมูล 10/02/2562 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบล สำนักขาม อำเภอสะเดา สงขลา 06050 พิกัด ละติจูด 6.5293239 ลองจิจูด 100.4121463 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) บ้านด่านนอก เมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย อ.สะเดา จ.สงขลา ได้ทุ่มทุนสร้าง พระพิฆเนศ ขนาดใหญ่ สูง 30 เมตร หน้าตักกว้าง 20 เมตร มูลค่าการก่อสร้าง กว่า 30 ล้านบาท องค์พระพิฆเนศ หรือ Ganesha มีรูปลักษณ์สวยสดงดงาม สร้างด้วยโครงสร้างเหล็กถือปูน สีเหลืองอร่าม ตั้งอยู่บนฐานคอนกรีต ขนาดความศุง 10 เมตรชั้นล่างเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปและพระพุทธรูปบูชา โดยใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 1 ปี พระพิฆเนศ ตั้งติดกับศาลพระพรหม อยู่ที่หน้าโรงแรมโวค หมู่7 ต.สำนักขาม อ.สะเดา นับเป็นองค์พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ สร้างเพื่อให้คนไทยและนักท่องเที่ยวได้มาสักากระบูชา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนะธรรมอีกแห่งหนึ่งนอกจาก การมาเที่ยวเมืองบันเทิงชายแดนใต้แล้ว


นางเงือกทองสงขลา


ชื่อแหล่งข้อมูล นางเงือกทองสงขลา วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2153836 ลองจิจูด 100.5936162 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) นางเงือกทอง เป็นเรื่องในนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่งขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้เล่าไว้ ในวันดีคืนดี นางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ กระทั่งวันหนึ่ง มีชายชาวประมงเดินผ่านมาทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนี ลงทะเล ไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ชาวประมงเห็นดังนั้น ก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏ กายให้เห็นอีกเลย สำหรับ “นางเงือกทอง” ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ในท่านั่งหวีผม หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออก แบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ ด้วยเงิน 60,000 บาท(ในสมัยนั้น) โดยใช้เงินจากงบประมาณของเทศบาลสงขลา


แหลมสนอ่อน


ชื่อแหล่งข้อมูล แหลมสนอ่อน วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2226785 ลองจิจูด 100.5766096 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) แหลมทรายที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุฯ นั้น ปัจจุบันเรียกว่า แหลมสนอ่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองสงขลาหลายครั้ง ในครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. 2458 นั้น มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรทางรถไฟหลวงสายใต้ซึ่งได้ทำแล้วเสร็จเป็นระยะ ๆ ไปด้วย ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา มีบันทึกเกี่ยวกับการเสด็จฯ ในครั้งนั้นไว้ไม่ละเอียดนัก แต่ยังมีเอกสารสำคัญอีกฉบับหนึ่งที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้เรื่องราวของเมืองสงขลาในอดีตเมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว นั่นคือ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ ของสักขี พ.ศ. 2458 หนังสือเล่มนี้ ปัจจุบันกลายเป็นหนังสือเก่าหายาก ยังไม่มีการนำมาพิมพ์ซ้ำ ผมลองไปถามหาที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่บอกว่า หาต้นฉบับไม่พบ แต่สามารถไปดูฉบับถ่ายสำเนาได้ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ทางทิศเหนือของอาคารหอสมุดแห่งชาติ พระราชกรณียกิจของ ร.6 ในช่วงที่เสด็จฯ มายังเมืองสงขลานั้น อยู่ในจดหมายเหตุฯ ฉบับที่ 5 และฉบับที่ 6 โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2458 มีบันทึกไว้ดังนี้ (ตัดตอนมาบางส่วน) เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชทอดอยู่น่าแหลมทรายเมืองสงขลา เห็นพระเจดีย์แลประภาคาร เสาธงบนยอดเขาตังกวน แลเห็นเสาวิทยุโทรเลข เห็นหลังคาพลับพลาทองแลตำหนักตึกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ฯ สมุหเทศาภิบาล ซึ่งพึ่งทำแล้วใหม่ที่เชิงเขาน้อย อันได้จัดเป็นที่ประทับแรมรับเสด็จคราวนี้ และแลเห็นรถยนต์เดินขวักไขว่อยู่ในระหว่างทิวไม้ ในตอนนั้นเรือพระที่นั่งกรรเชียงเคลื่อนจากเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เสด็จพระราชดำเนินมายังท่าซึ่งสร้างขึ้นเปนพิเศษทางแหลมทราย มีสพานยาวประมาณ 4 เส้นเศษเพื่อให้ตกน้ำลึก ตกแต่งด้วยใบสนของป่า และมีผ้าลาดพระบาทตั้งแต่ทางขึ้นจนถึงรถพระที่นั่ง แหลมทรายที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุฯ นั้น ปัจจุบันเรียกว่า แหลมสนอ่อน อยู่ถัดไปทางเหนือของหาดสมิหลา แม้จะหาตำแหน่งที่แน่ชัดไม่ได้ว่าสะพานของท่าแหลมทรายนี้อยู่ตรงจุดใด แต่จากภาพถ่ายที่ยังเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ บอกเล่าเรื่องราวในครั้งนั้นได้เป็นอย่างดี


เกาะหนู เกาะแมว


ชื่อแหล่งข้อมูล เกาะหนู เกาะแมว วันที่เก็บข้อมูล 19/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง สงขลา ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.2151691 ลองจิจูด 100.5778062 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) เป็นเกาะที่อยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งมากนัก เกาะที่อยู่ใกล้ชายฝั่งกว่า มองดูคล้ายหนู และอีกเกาะหนึ่งซึ่งอยู่ไกลออกไปคล้ายแมว เหมาะแก่การตกปลา ปัจจุบันมีประติมากรรมรูปปั้นหนูแมว บอกเล่าตำนานของเกาะหนู เกาะแมว เกาะหนู เกาะแมวเป็นสัญลักษณ์ที่รู้จักกันดีของจังหวัดสงขลา เป็นเกาะใกล้ชายฝั่งแหลมสมิหลา มีลักษณะคล้ายหนู และอีกเกาะหนึ่งซึ่งอยู่ไกลออกไปมีลักษณะคล้ายแมว มองเห็นท่าเทียบเรืออยู่ไกลๆ ที่เกาะหนูแห่งนี้ เพิ่งจะเริ่มเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เมื่อไม่นานมานี้เอง ก่อนหน้านี้ เกาะแห่งนี้เป็นที่จอดเรือ หลบลมมรสุมของชาวประมงพื้นบ้าน นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ล่าสุดของจังหวัดสงขลาแล้ว เกาะนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งสถาบันวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้เข้ามาทำวิจัยเกี่ยวกับสัตว์น้ำ เกาะจะปิดในช่วงหน้าลมมรสุม ดังนั้นในการมาท่องเที่ยวที่นี่ สามารถมาได้เพียงไม่กี่เดือน บนเกาะหนูยังมีมรดกทางประวัติศาสตร์ คือ ป้อมปืนใหญ่และหลุมหลบภัยสมัยสงครามครั่งที่ 2 ทั้งมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นน้ำทะเลเป็น 2 สี และอาจมีโอกาสได้สัมผัสความน่ารักของปลาโลมาในช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน อีกด้วย


อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี


ชื่อแหล่งข้อมูล อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง บ้านไร่เหนือ ตำบล บาโหย อำเภอ สะบ้าย้อย สงขลา 90210 พิกัด ละติจูด 6.326626 ลองจิจูด 100.9209291 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประเทศไทย มีพื้นที่ 225.28 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำเทพา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการสำรวจเพื่อประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา อุทยานมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (สค.) หนึ่งแห่ง คือหน่วยสันกาคีรี ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน จุดที่สูงที่สุดคือยอดเขาควนกำแพง สูง 500 เมตร สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้นโดยมีเรือนยอดไม้ปกคลุมและมีพันธุ์ไม้ที่หายาก สัตว์ที่พบเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางเล็ก รวมไปถึงนมและสัตว์เลื้อยคลาน จุดท่องเที่ยวสำคัญในอุทยาน ได้แก่ ถ้ำกระดูก ถ้ำผึ้ง และแม่น้ำเทพา จากการบินสำรวจป่าในจังหวัดสงขลาเมื่อ พ.ศ. 2538 พบว่าพื้นที่ป่าเทือกเขาสันกาลาคีรีและป่าบริวารเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเทพา ประกอบกับชาวบ้านในบ้านไร่เหนือและสภาตำบลบาโหยได้เสนอให้จัดตั้งป่าผืนนี้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ให้บุคลากรไปปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี เพื่อดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป ต่อมาใน พ.ศ. 2544 อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรีได้รับการรายงานว่ามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลต่าง ๆ และคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดสงขลา


สวนประวัติศาสตร์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์


ชื่อแหล่งข้อมูล สวนประวัติศาสตร์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา พิกัด ละติจูด 7.1487222 ลองจิจูด 100.5585755 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) บนเนื้อที่ 150 ไร่ ภายในสวนประวัติศาสตร์พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แห่งนี้ จุความเพลิดเพลินที่น่าเรียนรู้ไว้มากมาย โดยมีการแบ่งพื้นที่ได้อย่างเป็นสัดส่วนที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เลือกชมตามความสนใจเฉพาะตัว ได้แก่ บริเวณที่ 1 คือหอประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อเชิดชูเกียรติคุณความดีของ ฯ พณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ บริเวณที่ 2 ประกอบด้วยสวนสาธารณะ ประติมากรรมกลางแจ้ง สวนพฤกษศาสตร์ สวนตาลโตนด แหล่งน้ำกลางสวน เวทีเปิดอัฒจันทร์ธรรมชาติ ลานวัฒนธรรมกลางแจ้ง ศูนย์จำหน่ายเครื่องดื่ม อาคารบริการท่าเทียบเรือ และศูนย์บริการท่องเที่ยวทางน้ำ บริเวณที่ 3 ประกอบด้วยศูนย์บริการการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ที่มีสะพานทางเดินศึกษาธรรมชาติชีวภาพป่าชายเลน (Walk way) ความยาว 800 เมตร มีศาลานิทรรศการ 4 ศาลา เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน มีลานพักแรม (Camping) สำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ตลอดจนศูนย์ฝึกอบรม (ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาค 11) อาคารบ้านพักพนักงานและเรือนเพาะชำ สิ่งอำนวยความสะดวก ภายในสวนฯ มีบริการที่พัก หอพัก เต็นท์สนาม ห้องประชุม และรถรางชมสวน ที่ตั้ง : อยู่ริมทางหลวงหมายเลข 408 เชิงสะพานเชื่อมเกาะยอ สวนประวัติศาสตร์ เปิดเวลา 05.00-20.00 น. หอประวัติศาสตร์ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เปิดวันพุธ-อาทิตย์ เวลา 09.30-16.30 น. ปิดวันจันทร์-วันอังคาร สอบถามข้อมูล : โทรศัพท์ 0 7433 0267-8 เว็บไซต์ https://home.generalprempark.com


ศาลหลักเมืองสงขลา


ชื่อแหล่งข้อมูล ศาลหลักเมืองสงขลา วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง นางงาม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา 90000 พิกัด ละติจูด 7.1965361 ลองจิจูด 100.5885169 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) ตามตำนานเล่าว่าบริเวณถนนนางงามย่านเมืองเก่าและโบราณของสงขลา มีความเชื่อกันว่าต้องมีพิธีลงเสาเอกของเมืองและสร้างอาคารของเมือง เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของเทพผู้รักษาหลักเมือง ตามความเชื่อโดยเรียกเทพองค์นั้นว่า “เจ้าพ่อหลักเมือง” ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาหรือศาลหลักเมืองสงขลา ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนนางงาม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลาแห่งใหม่ที่ฝั่งบ่อยางเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ เป็นโบราณสถานร่วมสมัยรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบเก๋งจีน พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในขณะนั้น ซึ่งได้รับเสาหลักเมืองที่ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งดำริให้ฝังหลักชัยของเมืองสงขลา โดยทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักไชยต้นหนึ่งกับเทียนชัยเล่มหนึ่ง ทั้นี้โปรดเกล้าฯ ให้พระอุดมปิฎกออกไปเป็นประธานด้านพุทธพิธี พร้อมด้วยพระเถระฐานานุกรมเปรียญ ๘ รูป และให้พระราชครูอัษฎาอาจารย์ เป็นประธานฝ่ายพิธีพราหมณ์พร้อมด้วยพราหมณ์ ๘ นาย งานฝังหลักชัยในครั้งนั้นพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ได้จัดทำพิธีขึ้นกลางเมืองสงขลา โดยตั้งโรงพิธีทั้ง ๔ ทิศ ในวันประกอบพิธีได้จัดขบวนแห่หลักไม้ชัยพฤกษ์กับเทียนชัยเป็นขบวนใหญ่ มีทั้งชาวไทยและชาวจีนเข้าร่วมในขบวนพิธีโดยอัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ไว้ที่ใจกลางเมืองสงขลา (ถนนนางงามในปัจจุบัน) ซึ่งเรียกว่า “หลักเมือง” เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๕ ภายหลังการฝังหลักเมืองแล้วจัดให้งานเฉลิมฉลองมีมหรสพ เช่น โขนร้อง งิ้ว ละครชาตรี (โนรา) พร้อมพิธีทางพระพุทธศาสนา ในเวลาต่อมาได้สร้างอาคารคร่อมหลักเมืองไว้ ๓ หลัง และสร้างศาลเจ้าเสื้อเมืองอีก ๑ หลัง ศาลเจ้าหลักเมืองสงขลาจึงเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง (ตามคติไทย) และเจ้าพ่อหลักเมือง (เซ่ง ห๋อง เหล่า เอี้ย) ซึ่งเป็นเทพคุ้มครองเมือง (ตามคติจีน) ทำให้ศาลหลักเมืองสงขลา เป็นที่รวมความศรัทธาของชาวจีนและชาวไทยไว้ในศาลเดียวกัน ต่อมาศาลหลักเมืองสงขลาเกิดการชำรุดและได้มีการบูรณะปรับปรุงให้มีสภาพดั่งเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) หรือปี พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนพลลพบุรีราเมศวร์ ซึ่งเป็นอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ร่วมกับพ่อค้า ประชาชนชาวสงขลา ร่วมมือกันทำเสาหลักเมืองขึ้นใหม่และวางเสาหลักเมืองใหม่ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนศาลเจ้าหลักเมืองเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขต ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนอีกครั้งโดยการกำหนดขอบเขตด้วยคือ ทิศเหนือ ยาว ๑๓ วา ทิศใต้ ยาว ๑๓ วา ทิศตะวันออก ยาว ๑ เส้น ๕ วา ทิศตะวันตก ยาว ๑ เส้น ๕ วา ศาลหลักเมืองนี้จึงอยู่คู่เมืองสงขลามาตราบจนทุกวันนี้ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสงขลา ตามความเชื่อของชาวสงขลาเชื้อสายจีน ได้มีการอัญเชิญองค์เทพศักดิ์สิทธ์ ช่วยปกปักษ์รักษาเมือง..เป็นองค์เจ้าพ่อหลักเมือง มีชื่อว่า " เซ่งห๋องเหล่าเอี๋ย" มาประดิษฐานไว้ตั้งอยู่ด้านหลังของหลักเมือง โดยจะมีงานสมโภชขึ้นเป็นประจำปีในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี


วนอุทยานน้ำตกบริพัตร


ชื่อแหล่งข้อมูล วนอุทยานน้ำตกบริพัตร วันที่เก็บข้อมูล 18/02/2563 ที่อยู่ หรือที่ตั้ง ตำบล เขาพระ อำเภอรัตภูมิ สงขลา 90180 พิกัด ละติจูด 6.994472 ลองจิจูด 100.1473459 รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ) น้ำตกบริพัตร ตั้งอยู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา วนอุทยานน้ำตกบริพัตร ห่างจากอำเภอเมือง 52 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 406 ระหว่างกิโลเมตรที่ 35-36 แยกจากปากทาง 800 เมตร เป็นน้ำตกเล็ก ๆ มีน้ำตลอดปี อยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจี เหมาะกับการเล่นน้ำ สามารถเดินขึ้นไปตามบันไดหินเลียบเขา ชั้นบนมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ อีก 1 แห่ง มนต์เสน่ห์ของน้ำตกอยู่ที่มีลานเล่นน้ำขนาดใหญ่ มองเห็นทรายสีขาวบริสุทธิ์อยู่ใต้พื้นน้ำและน้ำไม่ลึกมากสามารถลงเล่นน้ำได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใครที่ชอบความท้าทายก็สามารถเดินไต่โขดหินขึ้นไปยังชั้นต่างๆ ของน้ำตกที่มีถึง 7 ชั้น แต่ละชั้นก็จะมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เล็กแตกต่างกันไว้ให้เลือกหามุมนั่งพักกันตามอัทธยาศัย อีกหนึ่งไฮไลท์ของน้ำตกแห่งนี้จะอยู่บริเวณชั้นที่ 5 ที่เรียกว่าโตนลานไทร โดยมีแอ่งเล่นน้ำขนาดใหญ่และมีธารน้ำตกที่ไหลลงมาจากช่องโขดหินเมื่อโดนแสงแดดและลมพัดกระเซ็นเห็นละอองน้ำอย่างสวยงาม