ผลมะตูม

ชื่อ : มะตูม
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Corr.
ชื่อวงศ์ : 	Rutaceae

สรรพคุณ

ตามตำราไทย

1. ผลอ่อนมี 2 รสชาติ
     1.1 รสฝาดร้อนปร่าขื่น หากฝานบาง ๆ ฝานสดหรือฝานแห้งก็ดี นำมาชงน้ำดื่มแก้ท้องเสีย โรคบิด 
            โรคกระเพาะอาหาร 
     1.2 รสฝาดสมาน ทำให้เจริญอาหาร เป็นยาธาตุแก้ธาตุพิการ ขับผายลม บำรุงกำลัง และรักษาโรค 
            ลำไส้เรื้อรั้งในเด็ก
2. ผลแก่มี 2 ลักษณะ
     2.1 ผลแก่ไม่สุกมีรสฝาดหวาน แก้บิด แก้เสมหะ โรคบิด ลม บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร
     2.2 ผลแก่สุก นำมาทุบให้เปลือกแตก ต้มกับน้ำตาลแดง เป็นยาระบายท้องเหมาะกับผู้สูงอายุ และผู้ 
            ที่ท้องผูกเป็นประจำ ช่วยขับผายลม แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลมเสียดแทงในท้อง มูกเลือก โรคบิด 
            เรื้อรัง โรคไฟธาตุอ่อน ครั่นเนื้อตัว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร
3. มะตูมทั้ง 5 ส่วน รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ปวดศีรษะ ตาลาย ลดความดันโลหิตสูง ช่วยให้เจริญอาหาร

ตำราแพทย์แผนไทย "คัมภีร์สมุฎฐาน" (คัมภีร์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดโรค และเจริญขึ้น) ระบุว่ามะตูมเป็น "พิกัดตรีผลสมุฎฐาน" (ผลไม้ 3 อย่าง) แก้สมุฎฐานแห่งตรีโทษได้แก่ขับลมต่าง ๆ แก้โรคไตพิการ

ตามบัญชียากจากสมุนไพร 

1. ประกาศคณะกรรมการระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติระบุว่ามะตูมตามตำรับ "ยาตรเกสรมาศ" ประกอบด้วยลูกมะตูมอ่อน เกสรบัวหลวง เปลือกฝิ่นต้นมีสรรคุณแก้อ่อนเพลีย ปรับธาตุให้ผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากอาการไข้ หรือท้องเสีย เป็นต้น 
2. ตำราแพทย์โบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรมของกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าจำนวนตัวยาเสรทอง 3 อย่างข้างต้นมีสรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงกำลัง  แก้ท้องเดิน คุมธาตุ บำรุงธาตุ

การศึกษาทางเภสัชวิทยามะตูมมีฤทธิ์ 4 ฤทธิ์
1. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
2. ฤทธิ์ลดการอักเสบของลำไส้ใหญ่
3. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
4. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และผลลดการอักเสบ

4 เมนูยอดนิยมจากมะตูม 

1. น้ำมะตูม
2. เค้กมะตูม
3. มะตูมเชื่อม
4. มะตูมเชื่อมแห้ง

ขนาด

ผลรูปไข่ หรือรูปกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร ยาว 12-18 เซนติเมตร เปลือกหนา และแข็งมาก ผิวเปลือกเรียบ สีเขียวอมน้ำตาล ผลดิบเปลือกสีเขียว ผลสุกเปลือกสีเหลืองอมน้ำตาล ภายในผลมีเนื้อหนาสีเหลืองส้ม มีน้ำเหนียว ๆอยู่รอบเมล็ด มีเมล็ดจำนวนมากฝังอยู่ในเนื้อ ผลแก่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลอ่อนรสฝาดปราขื่น ผลแก่ที่ยังไม่สุกรสฝาดหวาน