เส้นทางท่องเที่ยว ::“ตามรอยดอกไม้เพลิงที่หายไป”


1. สะพานมหาดไทยอุทิศและคลองโอ่งอ่าง

ตำบลแขวง บ้านบาตร อำเภอเขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

สะพานมหาดไทยอุทิศ หรือชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า สะพานร้องไห้ เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2457 เป็นสะพานของถนนบริพัตร ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เพื่อข้ามคลองมหานาค ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง-บางลำพู มาเชื่อมกับถนนดำรงรักษ์และถนนหลานหลวง รวมทั้งถนนราชดำเนิน สะพานมหาดไทยอุทิศมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานด้านขวามีภาพประติมากรรมนูนต่ำเป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อดอกซ่อนกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศรกเศร้าอาลัยรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อ สะพานร้องไห้ อยู่บริเวณคลองโอ่งอ่าง ซึ่งคือส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุงที่ต่อจากคลองบางลำพู ตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ปลายคลองไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร บริเวณริมคลองโอ่งอ่างเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับชุมชนบ้านดอกไม้ โดยคลองโอ่งอ่างได้ถูกนำมาใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการขนส่งดอกไม้เพลิงและยังเป็นที่รองรับการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากดอกไม้เพลิงอีกด้วย

2. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง)

ตำบลแขวง บ้านบาตร อำเภอเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า "วัดสระเกศ" โดยในอดีตบริเวณชุมชนบ้านดอกไม้ตั้งอยู่หลังวัดสระเกศ เป็นแหล่งผลิตดอกไม้เพลิงโบราณของไทย โดยหลังจากที่ถูกเวณคืนพื้นที่ บ้านดอกไม้จึงได้ย้ายมาอยู่ใกล้ๆกับชุมชนบ้านบาตร ซึ่งบ้านหลายหลังในชุมชนทำอาชีพการทำดอกไม้เพลิง เพื่อใช้ในการทำพิธีและงานเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น วันชาติ โดยในปัจจุบันชุมชนบ้านดอกไม้ไม่มีการสานต่ออาชีพและองค์ความรู้ ในการทำดอกไม้เพลิงหรือพลุไทยโบราณอยู่ เนื่องจากคนส่วนมากที่เคยทำอาชีพเดียวกันได้ย้ายถิ่นฐานออกไปและประกอบอาชีพอื่นๆ ทำให้องค์ความรู้นี่เริ่มหายไป

3. ชุมชนบ้านดอกไม้

ตำบลแขวง บ้านบาตร อำเภอเขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ในอดีต ชุมชนบ้านดอกไม้เคยตั้งอยู่ที่บริเวณคลองโอ่งอ่างริมกำแพงพระนคร  โดยหลังจากที่ถูกเวณคืนพื้นที่ บ้านดอกไม้จึงได้ย้ายมาอยู่ใกล้ๆกับชุมชนบ้านบาตร ซึ่งบ้านหลายหลังในชุมชนทำอาชีพการทำดอกไม้เพลิง เพื่อใช้ในการทำพิธีและงานเฉลิมฉลองต่างๆ เช่นวันชาติ ต่อมาในภายหลังเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ ทำให้คนในชุมชนย้ายไปอยู่ในละแวกพญาไท ตรงข้ามกระทรวงการต่างประเทศในปัจจุบัน และเรียกชุมชนที่ย้ายไปใหม่นี้ว่า ชุมชนบ้านดอกไม้ใหม่ ชุมชนบ้านดอกไม้เดิม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2537 โดยในปัจจุบันชุมชนบ้านดอกไม้ไม่มีการสานต่ออาชีพและองค์ความรู้ในการทำดอกไม้เพลิงหรือพลุไทยโบราณอยู่ เนื่องจากคนส่วนมากที่เคยทำอาชีพเดียวกันได้ย้ายถิ่นฐานออกไปและประกอบอาชีพอื่นๆ ทำให้องค์ความรู้นี่เริ่มหายไป แต่ในชุมชนก็ยังคงมีผู้ที่เคยประกอบอาชีพการทำดอกไม้ไฟอยู่ และเป็นผู้ให้ข้อมูลในการจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับดอกไม้เพลิงที่สำคัญนั่นเอง ปัจจุบัน หากต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบ้านดอกไม้และการทำดอกไม้เพลิงโบราณ สามารถศึกษาได้จากร้านนายต่วนดอกไม้เพลิงโบราณ โดยมี คุณทศพล ชมเสาร์หัศ และร้านป.ปานจินดา โดยมีคุณสุรีรัตน์ ปานจินดาเป็นผู้ให้ข้อมูล

4. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ตำบลแขวง พระบรมมหาราชวัง อำเภอเขต พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ (ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส โดยสามารถศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับดอกไม้เพลิงได้จาก ภาพจิตกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์รอบพระระเบียง ห้อง81ทศกัณฐ์เผาศพอินทรชิต และ ห้อง113 พิเพษถวายเพลิงศพทศกัณฐ์ โดยปรากฏภาพไฟพเยียมาศและไฟระทา

5. นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ตำบลแขวง วัดบวรนิเวศ อำเภอเขต พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ มีแนวคิดการจัดแสดงด้วยเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม คือสิ่งที่ต้องถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมได้รับรู้ ดื่มด่ำ และเห็นคุณค่า ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มเยาวชน จึงเป็นโจทย์สำคัญที่จะทำอย่างไรให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เกิดประสิทธิผลสูงสุด เพราะการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับเยาวชน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมต้องใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในการจัดแสดงนิทรรศการ เพราะการรวบรวมความรู้ โดยการนำเทคโนโลยีหรือเทคนิคที่ทันสมัยเข้ามาให้กับเยาวชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม จะทำให้เยาวชนเกิดความสนใจ เข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยให้กับเยาวชนรุ่นหลัง โดยสามารถศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนบ้านดอกไม้ผ่านนิทรรศการภายในห้องห้องดื่มด่ำย่านชุมชน ที่ปรากฏแบบจำลองต้นไฟพเยียมาศ