ชื่อบ้าน : คือเรื่องเล่าของสภาพแวดล้อมและถิ่นฐานคน

รายละเอียด

	จังหวัดสตูล มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา พื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นเนินเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่มากมาย โดยมีทิวเขานครศรีธรรมราชแบ่งเขตจังหวัดสตูลกับจังหวัดสงขลา และทิวเขาสันกาลาคีรีแบ่งเขตประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำคลองหลายสาย และทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ชายฝั่งทะเลเริ่มต้นที่อำเภอเมืองสตูลเป็นแนวยาวถึงอำเภอทุ่งหว้า มีภูเขาน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่ในตอนล่างและชายฝั่งตะวันตก  
	การตั้งถิ่นฐานของชาวสตูลในยุคแรกๆ นั้นอาศัยอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง แล้วค่อยๆ ขยายลึกเข้าไปจนถึงบริเวณที่ราบเชิงเขา ดังนั้นบ้านเรือนที่ตั้งของชุมชนจึงถูกตั้งชื่อตามลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน อาศัยสภาพแวดล้อม พิจารณาว่าแถบนั้นๆ มีอะไรเด่นบ้าง หรืออีกทางก็อาจตั้งตามชื่อของคนที่ก่อตั้งชุมชนก็เป็นได้ ในจังหวัดสตูลซึ่งมีประชากรมุสลิมเป็นหลัก หมู่บ้านส่วนใหญ่ จึงมีชื่อเป็นภาษามลายู 
	ปัจจุบัน หมู่บ้านบางส่วนเปลี่ยนชื่อเป็นบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงเค้าและความหมายเดิม มีน้อยมากที่เปลี่ยนจนไม่เหลือร่องรอยเดิม

บางครั้งการตั้งชื่อหมู่บ้านจะมาจากภาษามลายู เช่น ชื่อบ้านนามเมืองที่มีสถานที่ที่ตั้งอยู่บน “ควน” มาจากภาษามลายูว่า “ฆัวร”  (Guar) แปลว่าควนเนินดิน  หรือคำว่า บากัน (bagan) แปลว่า “ที่พัก” หรือ บริเวณที่พักอาศัย มีหลายหมู่บ้านในจังหวัดสตูลที่มีความเป็นมาเป็นที่พักอาศัยของผู้คน จึงใช้คำ ขึ้นต้นด้วย “บากัน”  เป็นต้น

และหมู่บ้านบางแห่งล้วนมีที่ตั้งอยู่ริมน้ำ ลำคลอง

และมีหลายหมู่บ้านที่มีที่ตั้งเป็นท้องทุ่ง ชื่อบ้านนามเมืองของหมู่บ้านต่อไปนี้ล้วนมี ทุ่ง