มหาอำมาตย์ตรีพระยาภูมินารถภักดี : ยุครัฐและประชาชนร่วมกันสร้างบ้านแปงเมือง

รายละเอียด

	พระยาภูมินารถภักดี เดิมชื่อ กูเด็น บิน กูแมะ คำว่า “บิน” แปลว่า “เป็นบุตรชายของ” ตามประเพณีของมลายูนั้นไม่มีนามสกุลแต่จะบอกชื่อบิดาไว้เพื่อให้จำแนกบุคคลได้เท่านั้นพระยาภูมินารถภักดีหรือกูเด็น บิน กูแมะ เป็นบุตรคนที่ ๖ ของนายกูแมะกับนางเจ๊ะจิเกิดที่ตำบลอลอร์สตาร์ เมืองไทรบุรีเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๒ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ 
	พระยาภูมินารถ เป็นพัศดีเรือนจำ เมืองไทรบุรีต่อมาได้เลื่อนตำแหน่ง มีความก้าวหน้าในราชการได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองชั้นสูงของเมืองไทรบุรีซึ่งเป็นประสบการณ์สำคัญที่นำมาพัฒนาสตูล ได้มาช่วยปกครองเมืองสตูล เจ้าเมืองสตูลสมัยนั้นคือพระยาอภัยนุราช ตนกูอับดุลเราะห์มาน เมื่อเจ้าเมืองสตูลถึงแก่อนิจกรรมไม่มีผู้สืบเชื้อสายเจ้าพระยาไทรบุรี ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะนั้น ยังไม่มีบรรดาศักดิ์เวลาลงนามในหนังสือราชการก็ใช้ว่า ตนกูบาฮะรุดดิน บิน กูแมะ
	ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงการจัดระเบียบการปกครองราชอาณาจักรไทยครั้งสำคัญ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ ขึ้นใช้บังคับทั่วประเทศ พระยาภูมินารถภักดีได้จัดการปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ในประเทศสยามท่านได้จัดระบบการปกครองแบ่งส่วนราชการอย่างชัดเจนมีผู้รับผิดชอบฝ่ายงานต่างๆ เรียกว่าคณะกรรมการจังหวัด มีล่ามภาษาไทยซึ่งมีนายน้าว ณ นคร ผู้มีความรู้แตกฉานทั้งภาษาไทยและภาษามลายู จึงถูกขอตัวจากพังงามาช่วยราชการเพราะสมัยนั้นใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการพระยาภูมินารถภักดีต้องการให้มีล่ามภาษาไทยในสำนักงานราชการ แทนการใช้ภาษามลายูเพียงอย่างเดียวภายหลังนายน้าว ณ นคร ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงวิธานบัญชาพระยาภูมินารถภักดีจึงแบ่งเขตการปกครองเมืองสตูลออกเป็น๒ อำเภอกับ๒ กิ่งอำเภอประกอบด้วยอำเภอมำบัง อำเภอสุไหงอุเปกิ่งอำเภอละงู และกิ่งอําเภอดูสนเป็นการเตรียมการขยายท่าเรือสินค้าที่อำเภอสุไหงอุเปแต่ละอำเภอก็ให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่รวมทั้งสร้างสถานีตำรวจเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ราษฎรในทุกอำเภอนั้นด้วย  สมัยนั้นยังไม่เรียกว่าอำเภอ แต่เรียกว่าเขตปกครองท่านแบ่งเขตปกครองออกเป็น๓เขตการปกครอง ได้แก่ มำบังนังคะราละงูและสูไงอูเปะฮฺแบ่งตำบลต่างๆเป็น ๒๑ ตำบล และตำบลต่างๆตำบลในสมัยนั้นเรียกว่า “มูกิม” หรือ “มูเก็ม” แต่ละตำบลมีผู้ปกครองเรียกว่า กำนัน หรือ “ปังฮูลู”ตำบลหนึ่งๆ แบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้านสมัยนั้นเรียกว่ากำปง มีหัวหน้าหมู่บ้านหรือผู้ใหญ่บ้าน เรียกว่า เกอตัว เป็นผู้ปกครองอีกชั้นหนึ่ง 
	ท่านจัดให้มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขขึ้นตั้งอยู่ที่ทำการไปรษณีย์ปัจจุบันมีการเดินสายโพลีเอสเตอร์ผ่านอำเภอทุ่งหว้าไปถึงจังหวัดตรังในตัวเมืองก็มีโทรศัพท์ใช้ติดต่อกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้ตั้งแต่ด่านศุลกากรเกาะนกไปถึงสถานีตำรวจฉลุงนอกจากนั้นยังมีการเดินสายโทรเลขไปถึงเมืองปะลิสโดยผ่านทางบ้านทุ่งมะปรัง ตำบลควนสะตอและบ้านวังเกลียนของเมืองปะลิสสำหรับ ด้านคมนาคมได้ก่อสร้างได้ก่อสร้างขยายไปถึงบ้านวังประจันโดยแยกจากบ้านจีนไปทางบ้านกุบังปะโหลดจากบ้านจีนแยกไปบ้านควนโพธิ์และกรุยทางจากบ้านจีนไปยังบ้านดุสนตัดถนนจากตัวเมืองถึงท่าเรือศาลากันตงต่อไปถึงท่าเรือเกาะนก ตัดถนนจากอำเภอสุไหงอุเปไปกิ่งอำเภอละงูจากละงูไปยังบ้านปากบาราเป็นต้น ตัวเมืองสตูลมีท่าเรือสำคัญได้แก่ท่าเรือเซ่งหิ้นหรือท่าเรือเหรียญทองปัจจุบันเลิกใช้แล้วเป็นท่าเรืออยู่ในตําบลมำบังนังคะราท่าเรือศาลากันตงท่าเรือเกาะนกตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองมีเรือกลไฟมาเทียบท่าได้ต่อมาท่านขยายท่าเรือเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ ท่าเรือคลองเส็นเต็นเนื่องจากลำคลองมีน้ำลึกและสามารถทะลุไปออกปากคลองเจ๊ะสมาดสู่ทะเลใช้เป็นท่าเรือบรรทุกขนถ่ายไม้โกงกาง ไม้แสมไปขายที่เกาะปีนัง
	ด้านการศึกษา แม้ว่าพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนหลังแรกขึ้นในเมืองสตูลคือโรงเรียนไทยมลายูจัดเป็นโรงเรียนหลักสูตรพิเศษคือสอนทั้งภาษาไทยและภาษามลายู การศึกษาของจังหวัดสตูลจึงเริ่มเป็นปึกแผ่นนับแต่บัดนั้น จัดให้มีการจัดระบบการถือครองที่ดินของประชาชนโดยออกเป็นหลักฐานให้ยึดถือไว้มีการรังวัดปักหลักหินแสดงเขตที่ดินแต่ละเจ้าของการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน ได้พัฒนากิจการค้าระหว่างประเทศจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดสมัยหนึ่งอำเภอสุไหงอุเป (ทุ่งหว้า)มีท่าเรือใหญ่ มีเรือกลไฟแล่นไปมาระหว่างทุ่งหว้ากับปีนัง หลักฐานที่หลงเหลืออยู่ทุกวันนี้คือย่านตลาดทุ่งหว้ายังมีอาคารร้านค้าแบบเก่าที่พ่อค้าชาวจีนสร้าง ด้านภาษีอากรท่านได้ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีอากรภาษีศุลกากรในการส่งสินค้าออกที่สำคัญเมืองสตูลได้เก็บภาษีผูกขาดกิจการต่างๆ หลาย และมีการเก็บภาษีขาเข้าทำให้รัฐบาลมีรายได้สูงขึ้นสามารถนำมาพัฒนาบ้านเมืองได้มากมาย 
	ด้านศาสนาท่านปรับปรุงส่งเสริมบทบาทของกอฎีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดีมรดกคดีครอบครัวหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดระเบียบจะมีการเปรียบเทียบปรับหรือจำคุกตามโทษานุโทษ พระยาภูมินารถภักดีได้จัดสร้างเรือนจำสมัยใหม่เลียนแบบเรือนจำซึ่งอังกฤษสร้างขึ้นที่เกาะปีนังปัจจุบันคือเรือนจำจังหวัดสตูลตั้งอยู่ที่ถนนยาตราสวัสดีเกี่ยวกับกิจการพยาบาลก็มีการขยายโรงพยาบาลสถานที่ผ่าตัดคนไข้จัดสร้างที่พักให้แพทย์จากที่เคยอยู่ในย่านชุมชนของตำบลมำบังนังคะราก็ให้มาอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ 
	ในบันทึกจดหมายเหตุ พระยาภูมินารถภักดี พ.ศ. ๒๔๓๙ - พ.ศ. ๒๔๔๓ มีหนังสือจากเจ้าเมืองหลายฉบับที่สั่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ไปช่วยทำงานต่างๆนั่นแสดงให้เห็นว่า พระยาภูมินารถภักดีบริหารจัดการบ้านเมืองในรูปแบบการปกครองแบบรัฐพึ่งพาอาศัยประชาชนรัฐและประชาชนร่วมกันสร้างบ้านแปงเมืองร่วมมือกันเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมถือเป็นแบบอย่างการปกครองท้องถิ่น ก็ว่าได้ 
	พระยาภูมินารถภักดีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอินทรวิชัยพระอินทรวิชัยและพระยาอินทรวิชัยตามลำดับจนกระทั่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อวยยศให้เป็นมหาอำมาตย์ตรี พระยาภูมินารถภักดีจางวางกำกับราชการเมืองสตูลและได้ออกจากราชการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสตูลรวมทั้งสิ้น ๑๔ปี  พระยาภูมินารถภักดีถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุ ๘๓ ปีได้ทำพิธีฝังศพ ณ สุสานมากามาฮาซึ่งเป็นที่ดินที่ท่านอุทิศไว้สำหรับฝังศพชาวมุสลิมทั่วไปชาวบ้านเรียกสุสานนี้ว่า “สุสานพระยาภูมินารถ” ตั้งอยู่ที่ถนนสตูลธานีซอย ๑๗ หรือที่เรียกกันว่าซอยกูโบร์
	พระยาภูมินารถภักดีเป็นต้นตระกูล “บินตำมะหงง” เป็นนามสกุลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้แก่ อำมาตย์เอก พระยาอินทรวิไชย  (กูเด็น บิน กูแมะ หรือ ตนกูบาฮารุดดิน) ผู้ว่าราชการเมืองสตูล เมื่อวันที่ ๕กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๘มีพระปรมาภิไธย “วชิราวุธ ปร” พระราชทานนามสกุล  “บินตำมะงง”  (ทรงสะกด “บินตำมะงง” ไม่มีตัว “ห”) และสะกดนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Bin Tamangong”