สีที่ใช้ในการระบายสีร่ม


สีที่ใช้วาดร่ม คือสีอะคลิลิคน้ำ เป็นสีน้ำที่สดใส เหมาะสำหรับร่มกระดาษและร่มผ้าที่ไม่กันฝน และสีน้ำมัน (ประเภทสีทาภายนอก หรือสีที่ใช้ทาเรือ) จะผสมน้ำมันเบนซิน เพื่อให้วาดภาพได้ง่ายขึ้น ลื่น และสามารถจับติดร่มที่เคลือบด้วยน้ำมันได้เป็นอย่างดี และสามารถกันแดด กันฝนได้


น้ำมันมะพอก (น้ำมันตังอิ๊ว)


น้ำมันมะพอก หรือน้ำมันตังอิ๊ว มีสีคล้ายน้ำมันพืช แต่เหนียวข้น ก่อนนำมาใช้จะต้มโดยการก่อไฟอ่อนๆ แล้วเคี่ยวน้ำมันจนเป็นสีใส จากนั้นนำเทียนไขหรือขี้ผึ้งมาต้มละลายผสมกับน้ำมันตังอิ๊วเพื่อเป็นการเพิ่มความมันวาวให้กับน้ำมันและความลื่นมือเวลาจับร่ม นำน้ำมันตังอิ๊วที่ต้มเสร็จแล้วมาผสมกับสีน้ำมันที่ใช้ลงสีร่ม น้ำมันตังอิ๊วที่ผสมไขจะทำให้ร่มมีความยืดหยุ่นไม่เปราะง่าย สีสันสดใสและมันวาว Parinari anamense Hance, which is the local palm that we use oil from its fruit to mixed with color or just it is to make umbrella’s waterproof. Parinari anamense Hance Mixed oil with colour and apply at least 3 times, on top, underneath then finally coating for water protection and colourful. Each coating, the colour must be 100% dried and the colour on umbrella will last longer


ลูกตังอิ๊ว, บ่ะหมื้อ (คำเมือง)


ตังอิ๊ว, มะพอก หรือบ่ะหมื้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)Parinari anamense Hance. วงศ์ Rosaceae ประเภท (Type of tree) ไม้ยืนต้น ลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-20 เมตร ยอดเป็นพุ่มเปลือกต้นหนา สีเทา แตกเป็นร่องลึก ใบเดี่ยวรูปกลมรี โคนกใบมนปลายใบหยักคอด หน้าใบเขียว ท้องใบเหลือบขาว ออกดอกเป็นช่อ ตามปลายกิ่ง มีก้านดอกสั้นมาก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก มีสีขาว มีกลิ่นอ่อนบริเวณโคนดอก รองกลีบดอก เป็นกรวยปากกว้าง ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน มีความยาวเท่าๆ กับกลีบรองกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5-12 อัน รังไข่รูปทรงกลม ผลกลมรีเหมือนไข่ ผิวฉ่ำน้ำเนื้อชุ่มบางเมล็ดเดี่ยวโตแข็ง เกิดได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ รสเฝื่อนเมา ต้มดื่มแก้ประดงผื่นคันตามตัว แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย น้ำมันจากผลใช้ทากระดาษทำร่ม การทาสีผสมน้ำมันตังอิ๊วนั้น จะต้องทาทับด้านบนของกระดาษสา หรือผ้าฝ้ายที่หุ้มบนร่มให้ทั่ว จากนั้นนำออกตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นจึงนำกลับมาทาทับอีกครั้ง โดยเฉพาะจะต้องเก็บสีที่ด้านในของร่ม เพื่อให้สีกลมกลืนกันและดูสวยงาม นำออกตากแดดอีกครั้ง จากนั้น ควรจะนำร่มมาทาสีเพื่อเคลือบด้านบนอีกครั้ง การลงสีครั้งนี้ เพื่อให้ร่มเกิดความเงางามและคงทนยิ่งขึ้น Parinari anamense Hance, which is the local palm that we use oil from its fruit to mixed with color or just it is to make umbrella’s waterproof. Parinari anamense Hance Mixed oil with colour and apply at least 3 times, on top, underneath then finally coating for water protection and colourful. Each coating, the color must be 100% dried and the colour on umbrella will last longer


ลูกตะโก


ตะโก ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyiosrhodcalyxวงศ์Ebenaceaeชื่อพื้นเมืองตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำลักษณะโดยทั่วไปเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 15 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว อายุยืนยาว ลำต้นมีเปลือกหุ้มสีดำแตกเป็นสะเก็ดหนาๆ ฝัก หรือผล มีลักษณะกลมเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง โคนและปลายผลมักบุ๋ม มียางมากฤดูกาลออกดอกจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- เมษายนในการนำมาทำร่มจะใช้แป้งเปียกผสมกับยางของลูกตะโกที่ได้จากการทุบตะโกให้ละเอียดแล้วนำไปดองไว้ประมาณ 3 เดือนจึงนำออกมาใช้ น้ำตะโกจะช่วยทำให้ร่มกันฝนได้และทำให้ร่มตึง ทั้งยังช่วยให้แป้งเปียกเหนียวยึดวัสดุที่ใช้คลุมร่มเข้ากับโครงร่มได้สนิทยิ่งขึ้น


ไม้กระท้อน


ไม้กระท้อน ชื่อพฤกษศาสตร์ Sandoricumkoetjape ( Burm. F.) Merr. วงศ์ MELIACEAE ไม้กระท้อนนำมาจากต้นกระท้อนซึ่งเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปล่า ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ต้นกระท้อนสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เนื้อไม้ ใช้ทำกระดานพื้น เครื่องเรือน ลังใส่ของ ฝา เพดาน วงกบประตู หน้าต่าง ผลแก่ กินเป็นผลไม้ และแทนผัก ราก รักษาโรคบิด ต้นกระท้อนมีถิ่นกำเนิดในทุกภาคของประเทศ เป็นไม้ประจำป่าดิบแล้งและชื้น พบบริเวณใกล้แหล่งน้ำที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 700 เมตร ซึ่งส่วนประกอบของร่มคือหัวและตุ้มทำมาจากไม้เนื้ออ่อนหลายชนิดซึ่งภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ไม้กระท้อน หรืออาจใช้ ไม้ตีนเป็ด ไม้ส้มเห็ด ไม่ตุ้มคำ และไม้แก การทำหัวและตุ้มนี้ใช้วิธีกลึงโดยเครื่องมือโบราณ ซึ่งเป็นวิธีการที่บรรพบุรุษได้เคยใช้ทำมาก่อน


สา, ปอสา


สา หรือปอสา ชื่อสามัญ Paper mulberry ชื่อทางพฤกษศาสตร์ Broussonetiapapyrifera (L.) L’Herit วงศ์ MORACEAE มีแหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์จากประเทศจีน และญี่ปุ่นปอสาจึงเป็นไม้ต้นพื้นเมืองในแถบจีนและญี่ปุ่น และเป็นพืชในวงศ์เดียวกับต้นหม่อนที่นำใบมาใช้เลี้ยงไหม การเก็บเปลือกไม้จากต้นปอสาเพื่อนำไปใช้ทำกระดาษสา มักเก็บจากป่า และทำการลอกเปลือกลำต้นปอสาซึ่งมีอายุราว 6-12 เดือน ลำต้นปอสามีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 3-5 เซนติเมตร โดยอาจใช้วิธีลอกสด ต้ม ย่าง ทุบ หรือขูดก็ได้ จากนั้นจะลอกเอาแต่เปลือกชั้นในมาคัดคุณภาพ ตัด แล้วแช่น้ำค้างคืน ต้มกับด่างฟอกขาว ตีป่น และย้อมสี ในการทำกระดาษสาจะใช้เส้นใยที่ตีป่นแล้ว นำมาลอยในน้ำ ทิ้งให้ตกตะกอนเป็นแผ่นบางๆบนตะแกรง เขย่าและช้อนตะแกรงขึ้น แล้วนำตะแกรงไปตากแดดหรือใส่ในตู้อบ เมื่อแห้งแล้วจะลอกกระดาษออกจากตะแกรงได้เป็นแผ่นและนำกระดาษสามาเป็นส่วนประกอบในการทำร่ม


ไผ่รวก


ไผ่รวกชื่อวิทยาศาสตร์ Thyrsostachyssiamensis Gambleวงศ์ Gramineaeชื่อพื้นเมือง ตีโย รวก ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่งฮวก สะลอมลักษณะโดยทั่วไป เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 2- 5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีข้อปล้องชัดเจนแต่ละปล้องจะยาว15-30 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับจะใช้ในส่วนของลำต้นมาทำเป็นด้ามร่ม


ไผ่ซาง


ไผ่ซาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamusstrictus (Roxb.) Neesวงศ์Poaceaeชื่อท้องถิ่นไม้ซาง(คนเมือง), ครั่งเปร้า(ปะหล่อง), ลำซาง(ลั้วะ), เพ้าเบี่ยง(เมี่ยน)ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ไผ่หน่ออัดใบ ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ไม่มีหนาม ผิวเป็นมัน มีกิ่งเเขนงมาก สูงประมาณ 6-20 เซนติเมตร มีเนื้อประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ปล้องยาวประมาณ 15-50 เซนติเมตร เนื้อไม้หยาบ โดยทั่วไปลำต้นมีไม้ผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-12.5 เซนติเมตร ถ้าพบบริเวณเนินเขาสูงลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,5-10 เซนติเมตร ข้างนอกกาบจะมีขนแข็งสีน้ำตาลเหลือง ในพื้นที่เเห้งเเล้งอาจจะไม่มีขนขณะที่ยังอ่อน กาบหุ้มลำมีสีเขียวอมเหลือง ครีบกาบเล็กหรือไม่มีกระจังกาบเเคบหยักซึ่งจะใช้ในส่วนของลำต้นมาทำเป็นโครงร่มขนาดใหญ่


ไผ่บง


ไผ่บง ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusanutans Wall. Ex Munro วงศ์ GRAMINEAE พบได้ในแถบภาคเหนือ และภาคกลาง เป็นไม้ยืนต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นต้นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8เซนติเมตร สูงประมาณ 6-10 เมตร ขึ้นเป็นกอแน่น ผิวของลำไม่เรียบ และจะเห็นลักษณะคล้ายขนสีนวลหรือสีเทา บางครั้งมีผงคล้ายแป้งติดอยู่ที่ลำ โดยเฉพาะตรงส่วนของโคนลำ จึงทำให้ลำสีเขียวเข้มอมเทา มีส่วนที่สามารถนำไปบริโภค คือหน่ออ่อน การขยายพันธุ์ คือการใช้เหง้า ปักชำลำ หรือเมล็ด ส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นโครงร่มคือส่วนของลำต้น