พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา

ชื่อแหล่งข้อมูล		พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
วันที่เก็บข้อมูล		9/04/2564
ที่อยู่ หรือที่ตั้ง		ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา
พิกัด ละติจูด		7.202332
ลองจิจูด		100.5863323
รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ)		
	อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นโบราณสถานของชาติ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมตะวันตก อายุกว่า 100 ปี ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ตอนล่าง  อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เดิมเป็นคฤหาสน์ของ พระยาสุนทรานุรักษ์(เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ต่อมาได้ถูกใช้เป็นสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ
พ.ศ.2437 ใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)
พ.ศ.2496 ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับ
พ.ศ.2516 กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอาคารแห่งนี้เป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติ
วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2525 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพวรางกูล ในหลวงรัชกาลที่ 10 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เพื่อให้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง นอกจากนี้ ยังจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับตระกูล ณ สงขลา ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองสงขลาในอดีตด้วย
อาคารจัดแสดงมี 2 ชั้น
	ชั้นล่าง แบ่งการจัดแสดงเป็น 8 ส่วน  ได้แก่
            	- วิถีชีวิตสงขลา
		- ภูมิลักษณ์คาบสมุทรสงขลา
		- สงขลายุคก่อนประวัติศาสตร์
		- สงขลาสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
		- เมืองสงขลาหัวเขาแดง
		- เมืองสงขลาแหลมสน
		- เมืองสงขลาบ่อยาง
		- สงขลาย้อนยุค 
 	ชั้นที่ 2  มีห้องจัดแสดง 5 ห้อง ได้แก่
		- ความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ
		- บันทึกสงขลา
		- ศิลปกรรมสงขลา
		- ประวัติศาสตร์โบราณคดีภาคใต้ตอนล่าง
		- สุนทรียภาพในวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ตอนล่าง