หาดเก้าเส้ง

หาดเก้าเส้ง อยู่ทางตอนใต้ของชายทะเลเมืองสงขลา เป็นหาดทรายที่ต่อเนื่องมาจากหาดชลาทัศน์ ซึ่งอยู่ห่างกับหาดสมิหลา ประมาณ 3 กิโมตร หาดองที่นี้จะมีลักษณะเป็นแบบโขดหินสูงคล้ายภูเขา สีของเม็ดทรายไม่ขาวมากนัก แต่ภาพรวมของหาดนี้สร้างความโดดเด่นไม่น้อยกว่าที่อื่น

การเดินทางไปเก้าเส้งนี้ ง่ายมาก เริ่มจากหาดใหญ่ไปสงขลา เมื่อผ่านสถาบันราชภัฏสงขลาและสามแยกสำโรงมาแล้ว (เป็นทางโค้งไปทางซ้าย) ก็ให้เลี้ยวขวาที่แยกไฟแดงถัดไป (แยกโรงพยาบาลประสาท) ซึ่งเป็นทางไปถนนชลาทัศน์หรือถนนเลียบชายทะเล (มีป้ายบอกทางบริเวณแยกไฟแดง) ตรงไปจะผ่านตลาดซึ่งอยู่ทางขวามือ ก่อนจะเป็นทางโค้งเลี้ยวไปทางซ้าย ตรงโค้งนี้แหละจะมีทางเข้าอยู่ทางด้านขวามือ เป็นซอยเล็กๆ เข้าไปในซอยนี้จนสุดทางที่สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติสงขลา ทางขึ้นไปเขาเก้าเส้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ
จุดดึงดูดใจจุดหนึ่งสำหรับที่นี้ นอกจากวิถีชีวิตชาวประมงของที่นี่ ที่นอกจากยืนหยัดในอาชีพชาวประมงท้องถิ่นท่ามกลางชุมชนเมือง และยังเป็นแหล่งสร้างเรือกอและเรือประมงพื้นบ้านที่มีลวดลายสีสันสวยงามแล้ว ยังมีก้อนหินก้อนหนึ่งที่ตั้งเด่นอยู่เหนือโขดหินซึ่งชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า”หัวนายแรง” ตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ