วัดนารังนก

ชื่อแหล่งข้อมูล		วัดนารังนก
วันที่เก็บข้อมูล		8/04/2564
ที่อยู่ หรือที่ตั้ง		46 หมู่ 6 ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
พิกัด ละติจูด		7.0762237
ลองจิจูด		       100.4742365

รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ)		
	วัดนารังนก ตั้งอยู่เลขที่ 46 บ้านนารังนก หมู่ 6 ต.แม่ทอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ริมคลองอู่ตะเภา ช่วงสายน้ำคลองแห เป็นวัดที่มีสถานที่ร่มรื่น และกว้างขวาง 
	วัดนารังนก เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของจังหวัดสงขลา ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและเป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ริมคลองอู่ตะเภา สายน้ำแห่งชีวิตของชาวหาดใหญ่ วัดแห่งนี้มีตำนานที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะตำนานหลวงพ่อลิ้นดำ พระผู้ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่องเมืองไทยและในระดับสากล
บรรยาย 
	สะพานแขวน ข้ามคลองอู่ตะเภา เป็นอีกหนึ่งตำนานของวัด ว่ากันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ที่ไม่มีการบูรณะซ่อมแซมทำให้สะพานอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถใช้การได้ วัดนารังนก ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวแม่ทอม ชาวคลองแห รวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่หลั่งไหลกันมาวัดแห่งนี้เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่มีประเพณีท้องถิ่นสำคัญต่างๆ
	อุโบสถ (วัดนารังนก) ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด แต่ในอดีตพระอุโบสถวัดนารังนก สร้างโดยใช้หลังคามุงด้วยสังกะสี ต่อมามุงด้วยกระเบื้องดินเผาต่างบางๆ ตามลำดับมาสมัยหลวงพ่อยก ธมมฺทินโน ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังปัจจุบัน กว้าง 9เมตร ยาว18เมตร สูง21เมตร หลังคา2ชั้น สถาปัตยกรรมอลังการ และงดงามแบบศิลปวัฒนธรรมแถวตะวันตก (ยุโรป) ถ้าเทียบเท่าในสมัยปัจจุบันของไทยเทียบได้ในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ลงรากฐานด้วยก้อนหินแท่งเกาะยอ แท่งใหญ่ ๆ สมัยนั้นยังไม่มีรถและสะพานพลเอกเปรมที่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ด้วยแรงกายของพระเณร พายเรือไปเอาเป็นแรมเดือนพอเต็มลำเรือ จึงกลับมาก่อสร้างโบสถ์ต่อด้วยความลำบากยากเย็น ความเพียร มีวิริยะ จึงได้สำเร็จเป็นรูปร่างโบสถ์ให้เห็นถึงปัจจุบันนี้ หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังไม่เคยก่ออิฐแม้แต่ก้อนเดียว ไม่เคยใช้สายล่อฟ้า แต่ฟ้าไม่เคยผ่า เพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อาถรรพณ์ และมหัศจรรย์ เพราะมีบารมีหลวงพ่อลิ้นดำคอยปกป้องรักษาตลอดเวลา และคุ้มครองภัยอันตรายต่างๆ บางคืนมีประชาชนขี่รถผ่านไปผ่านมา มองเห็นเป็นมังกรไฟพาดหลังคาโบสถ์เป็นแสงสว่างไสวเท่าต้นตาล ในสมัย พระอธิการแก้ว เป็นเจ้าอาวาสได้ทำไว้บางส่วน เช่น ตัวอาคาร มุงหลังคา เทพื้น หล่อฝาผนัง