วัดบ้านขาว

ชื่อแหล่งข้อมูล		วัดบ้านขาว ตำบลบ้านขาว
วันที่เก็บข้อมูล		2/04/2564
ที่อยู่ หรือที่ตั้ง		ตำบล บ้านขาว อำเภอ ระโนด สงขลา
พิกัด ละติจูด		7.8442291
ลองจิจูด		       100.2286598
รายละเอียด (ประวัติ ความสำคัญ คำอธิบายต่างๆ)		
	วัดบ้านขาว ตั้งอยู่ในชนบทกันดาร มีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ 3 งาน และมีที่ธรณีสงฆ์ อีกประมาณ 50 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตปกครองส่วนภูมิภาคหมู่ที่ 7 ตำบลตะเครียะ อำเภอ ระโนด จังหวัดสงขลา (ในสมัยนั้น) อยู่ห่างจากตัวเมืองสงขลา (ศาลากลาง) ไปทางทิศเหนือประมาณ91กิโลเมตร
อยู่ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปทางทิศใต้ประมาณ87กิโลเมตร และอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองพัทลุงไปทางทิศตะวันออกเฉียบงเหนือประมาณ54กิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลจากความเจริญมาก
เขตรอยต่อถึง3จังหวัด เพราะฉะนั้นการพัฒนาทุกอย่างยังเข้าไปไม่ถึง  ยังล้าหลังและเนิ่นนานเหมือนการถูกลืมเลือน
	สถานะปัจจุบัน วัดบ้านขาวเป็นวัดโบราณเก่าแก่วัดหนึ่งในพุทธจักร ถูกสร้างขึ้นในยุค สมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง ไม่ปรากฏในตำนาน แต่ถ้าจะให้สันนิษฐานตามหลักฐานโบราณวัตถุที่ขุดพบในบริเวณวัดและใกล้เคียง เช่นพระพุทธรูปที่ทำจากหินโบราณหน้าตักกว้างประมาณ 15 นิ้ว 2 องค์ ใบสีมา หินบดยา ตุ่มตีนช้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ปาก กว้างประมาณ 36 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ภายในตุ่มมีปั้นชาถ้วยชามีตัวหนังสือจีนสมัยศรีวิชัย เหมือนกับโบราณวัตถุที่วัดมหาธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยนั้นอย่างแน่นอน ประมาณ พ.ศ. 1300 การบันทึกร่องรอยประวัติความเป็นมาของวัดบ้านขาวเท่าที่ได้ประสบพบเห็นด้วยตัวเองและได้ยินได้ฟังมานี้ เพียงส่วนน้อยหรือโดยสังเขปเท่านั้นส่วนความวิจิตรพิสดาร สมบรูณ์กว่ายังต้องสืบหาค้นคว้ากันอีกนาน จึงขอฝากความหวังไว้กับท่านผู้รู้ดีเห็นดีมีหลักฐานทั้งหลาย ช่วยกันเพิ่มเติมเสริม
ต่อให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะได้ กลายเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านในที่สุด การพัฒนาวัดบ้านขาว เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 โดยมี คุณสุรใจ ศิรินุพงศ์ เป็นผู้ริเริ่มวางศิลาฤกษ์อุโบสถ และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2548 และฝังลูกนิมิตผูกพัธสีมา ในปีเดียวกัน  และเมื่อปี พ.ศ.2531 พระราชศีลสังวร (ปธ.4 ผ่อง จิรธมฺโม ปานขาว) ได้เริ่มพัฒนาสร้างกุฏิ 1 หลัง และต่อมา ท่านได้สร้างศาลาคู่เมรุวัดบ้านขาว และสำเร็จในปี 2536 จากนั้นได้ สร้างศาลาการเปรียญ ศาลาเอนกประสงค์ หอระฆัง กำแพงรอบบริเวณวัด ถนนบริเวณวัดเทคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิอีก 5 หลัง และหาพันธ์ไม้มาปลูก จนมีความร่มรื่น จนถึงทุกวันนี้