ตะเกียงเจ้าพายุ

ตะเกียงเจ้าพายุถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1895 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม โดยนาย Meyenberg, Wendorf และ Henlein ได้ทำการจดลิขสิทธิ์เอาไว้ ซึ่งการนำไปใช้งาน ณ เวลานั้นนอกจากให้แสงสว่างแก่บ้านเรือนแล้ว ยังสามารถนำไปส่องสว่างตามท้องถนน รวมถึงบอกพิกัดแจ้งเตือนภัยในท้องทะเลได้ด้วย ตะเกียงเจ้าพายุใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงโดยการเป่าผ่านไส้ใยผ้า (ไส้ไหม) ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเคลือบด้วยเซรามิกประเภท แมกนีเซียมออกไซด์, ซีเรียมออกไซด์ และทอเรียม ออกไซด์ จะให้แสงได้ดีที่สุดทำให้ติดไฟได้ยาวนานและให้ความสว่างกว่าเปลวไฟจากน้ำมันถึง 6 เท่า หลักการใช้ตะเกียงคือใช้น้ำมัน จุดไส้ในครอบแก้ว สูบลมให้น้ำมันพุ่งจากรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า นมหนูจุดให้แสงสว่าง มาก สันนิษฐานว่า ในพื้นที่ตำบลคลองกระจง ช่วงแรกจะมีเพียงแค่บ้านของคนมีฐานะเท่านั้นที่จะมีตะเกียงเจ้าพายุไว้ใช้งาน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มากับเรือกลไฟที่ล่องไปขายกล้วยตากและส้มโอที่นครสวรรค์  และพ่อค้าแม่ค้าได้มีการซื้อตะเกียงและสินค้าอื่นๆจากนครสวรรค์และพื้นที่ใกล้เคียงกลับขึ้นมา ตะเกียงเจ้าพายุจึงเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ชาวบ้านทั่วไปจึงไม่มีใช้

ขนาด

สูง 53  ซม. กว้าง 33  ซม. ฐาน 17 ซม.

ชื่อเจ้าของ

โรงเรียนวัดคลองกระจง 

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

นักเรียนโรงเรียนวัดคลองกระจง