หนักแน่นและมั่นคง แม้ต้องขึ้นอยู่ในพื้นโคลนเลน

รายละเอียด

  

 ในป่าชายเลนท่าระแนะเราสามารถพบรูปแบบรากจะพบได้ในป่าชายเลนมี 2 กลุ่ม ร่วม 5 แบบ ได้แก่

1. รากที่ทำหน้าที่คำยันลำต้น มี 2 แบบย่อย ได้แก่ 1) รากค้ำจุน (Prop root) เป็นรากที่เกิดจากโคนต้นหรือกิ่งเหนือดินแล้วเจริญลงไปยึดกับดิน ทำหน้าที่ช่วยค้ำยันต้นไม้ให้ทรงตัวในดินเลน พืชที่มีรากแบบนี้ เช่น โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) และ โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) และ 2) รากพูพอน (Buttress root) เป็นรากที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนขยายออกจากส่วนโคนของลำต้น ทำหน้าที่ค้ำจุนและดูดซับออกซิเจน พืชที่พบรากแบบนี้ เช่น ตะบูนขาว (Xylocarpus granatum) มะคะ (Cynometra ramiflora) และ หงอนไก่ทะเล (Heritiera littoralis)

2. รากที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนดูดซับออกซิเจน มี 3 แบบย่อย ได้แก่ 1) รากอากาศทรงกรวยคว่ำ (Pneumatophore) เป็นรากที่งอกจากรากแก้ว แผ่ในดินตื้นๆ ในแนวราบ แล้วมีส่วนที่โผล่พ้นดินหรือน้ำ ชู ส่วนปลายสู่อากาศ รูปร่างคล้ายทรงกรวยคว่ำ ส่วนที่อยู่เหนือดินหรือน้ำทำหน้าที่ในแลกเปลี่ยนออกซิเจน พบในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง พืชที่พบรากชนิดนี้ เช่น ลำพู (S. caseolaris) ลำแพน (S. ovata) และตะบูนดำ (Xylocarpus moluccensis) 2) รากอากาศทรงดินสอ (Pneumatophore, pencil root) มีลักษณะและหน้าที่คล้ายรากอากาศทรงกรวยคว่ำทุกประการยกเว้นรูปทรงที่มมีขนาดเล็กคล้ายแท่งดินสอ พืชที่พบรากชนิดนี้ เช่น ใบพาย (Aegialitis rotundifolia) แสมขน (Avicennia lanaya) และแสมขาว (A. alba) เป็นต้น และ 3) รากอากาศทรงหัวเข่า (Pneumatophore, Knee root) เป็นรากใต้ดินที่แผ่ตามแนวราบ แทงขึ้นพ้นดินหรือน้ำแล้ววกกลับลงดินอีกครั้ง รูปร่างคล้ายคล้ายเข่าของมนุษย์ ส่วนที่พ้นดินหรือน้ำจะทำหน้าที่ดูดซับออกซิเจน พบในบริเวณที่ชื้นแฉะมีน้ำท่วมขัง พืชที่พบรากชนิดนี้ เช่น ถั่วขาว (Bruguiera cylindrica) โปรงขาว (Ceriops decandra) และพังกาหัวสุมดอกแดง (B. gymnorrhiza) เป็นต้น 













ภูมิทัศน์ที่แปลกตาที่ท่านจะได้เห็นและสัมผัสด้วยตาอย่างหนึ่งในพื้นที่ป่าชายเลน เช่น ที่บ้านท่าระแนะ ได้แก่ ความแตกต่างและความหลากหลายระบบรากของพรรณไม้ในป่าชายเลนชนิดต่างๆ ที่พบเห็น ซึ่งเกิดจากการปรับตัวของไม้ป่าชายเลนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีการขึ้นลงของน้ำทะเลสม่ำเสมอ มีความแปรปรวนของภูมิอากาศริมชายฝั่ง รวมถึงสภาพพื้นโคลนที่อ่อนนิ่ม ซึ่งสภาพแวดล้อมเหล่านี้นอกจากทำให้พื้นดินของป่าชายเลนมีออกซิเจนน้อยจนถึงอยู่ในสภาวะขาดออกซิเจนในบางเวลาแล้ว ยังเป็นการยากที่ต้นไม้จะตั้งลำต้นอยู่ได้ด้วยรูปแบบของรากแบบพืชบก ดังนั้นต้นไม้ชายเลนจึงมีลักษณะของรากหลากหลายแบบ บางรูปแบบทำหน้าที่ค้ำยันลำต้น บางแบบทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะทำหน้าที่ทั้งสองอย่างควบคู่กัน เมื่อมายังท่าระแนะไม่ว่าจะเดินชมป่าโกงกาง หรือล่องเรือผ่านป่าชายเลนในคลองท่าระแนะ คลองล่องเจ๊ก และคลองขอน ท่านสามารถสังเกตรูปแบบการเจริญของไม้ป่าชายเลนได้ทั้งหมดดังที่กล่าวมา












ขนาด

รูปร่างที่แตกต่างกันของรากพรรณไม้ในป่าชายเลนเกิดจากการปรับต่อสภาพพื้นดินอ่อนนิ่มและมีออกซิเจนน้อย ระบบรากที่รุกรังและซับซัอนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการค้ำยันลำต้น รากที่โผล่พ้นน้ำช่วยในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน