ตะกร้าสานทางมะพร้าว

        ลักษณะพิเศษของงานจักสานชุมชนวัดจำปาที่โดดเด่นกว่าชุมชนอื่น คือ การที่คนในชุมชนทำใช้กันเอง บ้านป้าวิภาเป็นผู้ริเริ่มคนแรก ไม่เน้นเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์เพื่อจัดจำหน่ายเป็นรายได้หลัก แต่หากคนภายนอกจะเรียนรู้ คนในชุมชนก็ยินดีที่จะสอนให้ งานจักสานชุมชนวัดจำปาถูกสนับสนุนจากภาครัฐในระดับเขต เช่น การที่คุณป้าเป็นวิทยากรสอนให้กับเขตตลิ่งชันและเขตอื่น ๆ หรือสถาบันการศึกษาที่สนใจ นอกจากนี้ งานจักสานชุมชนวัดจำปายังถูกสนับสนุนโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกด้วย

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ

ชื่อเจ้าของ

นางวิภา โพธิ์ลิบ

ประวัติเจ้าของ

อาชีพ/ตำแหน่ง : นักวิชาการสรรพากรชำนาญการ กรมสรรพากร

ประวัติวัตถุจัดแสดง

แต่เดิมพื้นที่บริเวณชุมชนวัดจำปาเป็นสวนที่มีต้นมะพร้าวอยู่เป็นจำนวนมาก คนในชุมชนจึงนิยมนำใบมะพร้าวมาใช้ในงานสาน เพื่อทำของใช้สอยเป็นตะกร้าใส่ผลไม้ โดยรูปแบบในการจักสานนอกจากส่วนใหญ่ที่คนในชุมชนจะนิยมสานเป็นตะกร้า หรือบรรจุภัณฑ์อันเล็กเป็นหลักแล้ว ก็มีการทำเพื่อความสวยงาม เช่น สานเป็นซุ้มเพื่อประดับตกแต่ง สานเป็นหมวก เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษของงานจักสานชุมชนวัดจำปาที่โดดเด่นกว่าชุมชนอื่นคือการที่คนในชุมชนทำใช้กันเอง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

คุณป้าได้ไปเรียนทักษะฝีมือเกี่ยวกับการจักสานมาจากศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครฯ ในระแวกสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น และได้พัฒนาองค์ความรู้ของงานสานนี้มาจากคุณตาของตนเอง ที่แต่เดิมสานไม้ไผ่เพื่อใช้แทนกระถางต้นไม้ใส่กิ่งตอนของต้นไม้

ช่วงเวลาการสะสม

คุณป้าเป็นคนพื้นถิ่นชุมชนวัดจำปา ทำงานหัตถกรรมสานทางมะพร้าวมากว่า 20 ปี