Product Details รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์


“โมบาย สานรัก” เป็นโมบายจักสานใบมะพร้าวที่แสดงให้เห็นถึงทักษะฝีมือและภูมิปัญญาของคนในชุมชนวัดจำปา ในการสร้างงานหัตถกรรมเกี่ยวกับการจักสานจากใบมะพร้าว โดยผลิตภัณฑ์โมบายของเรามีการออกแบบให้ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นงานจักสานจากใบมะพร้าวอยู่

Usability การใช้งาน


ใช้สำหรับแขวนประดับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พร้อมสร้างความเพลิดเพลินและผ่อนคลายจากเสียงของกระดิ่งลม

Highlight the uniqueness จุดเด่นและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์


โมบาย สานรัก เป็นของประดับตกแต่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของงานสานใบมะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถหาได้ง่ายภายในชุมชน โดยผลิตภัณฑ์ของเราจะเป็นการรวมงานสานหลากหลายรูปแบบเข้ามาประกอบกันกลายเป็นโมบาย และมีการประดับกระดิ่งลมเข้าไปจนเกิดเป็

Value creation การสร้างมูลค่า


คณะผู้จัดทำได้ได้เล็งเห็นต้นทุนทางวัฒนธรรม หัตถกรรมงานสานของคนในชุมชนวัดจำปา จึงได้ทำการเพิ่มมูลค่าต่อยอดจากตะกร้าสานจากใบมะพร้าวซึ่งเป็นสิ่งที่คนในชุมชนทำอยู่เดิม มาปรับเปลี่ยนรูปแบบของงานสานจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ จนเกิดเป็น “โมบาย

Creating value back to the community การสร้างคุณค่ากลับเข้าสู่ชุมชน 


1) โมบายของคณะผู้จัดทำเป็นตัวอย่างการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ให้ชุมชนได้พัฒนา ต่อยอดจากสิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัวที่ชุมชนมีอยู่แล้วเพียงแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้มีมูลค่ามากขึ้น จากงานที่คุณป้าวิภาเคยทำอยู่แล้วอย่างหมวก มาใส่ลูกเล่นน่ารักอย่างปลาตะเพียนสาน จน

ความเป็นมาของงานสานทางมะพร้าว ป้าวิภา


        งานสานชุมชนวัดจำปา เริ่มต้นมาจากงานจักสานจากคุณตาของคุณป้าวิภาที่แต่เดิมใช้ไม้ไผ่เพื่อใช้แทนกระถางต้นไม้ใส่กิ่งตอนของต้นไม้ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับงานจักสานที่คุณตาเคยทำในสมัยก่อน ทำให้คุณป้าวิภาเริ่มสนใจด้านงานสา

คุณค่าและประโยชน์ของงานสานทางมะพร้าว ชุมชนวัดจำปา


        งานสานทางมะพร้าวชุมชนวัดจำปา เป็นงานหัตถกรรมที่ทำด้วยมือ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านจนกลายมาเป็นความรู้ คุณค่าของงานสานทางมะพร้าวนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยและวิธีการทำแล้ว ยังมีความภูมิใจของผู้ที่มาเรียนรู้วิธีการสานใบ

ราคาของงานสานทางมะพร้าว ป้าวิภา


        งานสานทางมะพร้าวชุมชนวัดจำปาเน้นการดำเนินงานในลักษณะของงานอดิเรกที่สามารถสร้างรายได้พิเศษ โดยคุณป้าจะรับทำเป็นกรณีเมื่อมีงานของเขตหรือมีคนสั่งทำเป็นโอกาส มากกว่าการทำเป็นรายได้ประจำ โดยมีราคางานสานทางมะพร้าวชิ้นเล็กอยู่

ข้อจำกัดในการสร้างงานและถ่ายทอดงานสานทางมะพร้าว


1) งานสานทางมะพร้าวชุมชนวัดจำปาเป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะฝีมือและสมาธิในการทำเป็นอย่างมาก ทำให้บางคนไม่สามารถที่จะทำได้ ปัจจุบันคุณป้าจึงเป็นคนเดียวในครอบครัวที่สามารถทำได้ 

2) งานสานทางมะพร้าวมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 1 สัปดาห์ วิธีการแก้ปั

การสานก้นตะกร้า


1) ดึงปลายใบมะพร้าวทั้ง 14 ใบที่เหลือจากการสานตัวตะกร้าขึ้นมาก่อน 

2) ทำการแบ่งใบมะพร้าวทั้ง 14 ใบออกเป็น 2 ส่วน (ส่วนละ 7 ใบ) โดยครึ่งหนึ่งให้นำคลิปมาหนีบเอาไว้ก่อน 

3) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งให้หยิบใบมะพร้าวขึ้นมา 1 ใบ

การทำหูตะกร้า


1) หยิบใบมะพร้าวที่เหลือไว้ทั้ง 7 ใบรวบขึ้นมา และแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 

2) นำใบมะพร้าวทั้ง 2 ส่วนมาประกบกัน 

3) ม้วนให้มีลักษณะเป็นวงกลม 2 วงประกบกันคล้ายกับโบว์ 

4) นำเชือกฟางมาผูกไว้ให้แน่น แล้วจึงใช้กรรไกรตัดตกแต่ง

การสานตัวตะกร้า


1) ให้สังเกตทิศทางของใบมะพร้าวก่อนว่ามีลักษณะวนไปในทิศทางใด ในกรณีนี้ใบมะพร้าวมีลักษณะวนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ดังนั้นจึงต้องสานตัวตะกร้าวนไปทางขวา 

2) ในขั้นตอนของการสาน ให้หยิบใบมะพร้าวขึ้นมา 1 ใบ และนำไปวางซ้อนทับใบมะพร้าวใบแรกที่อยู่

การขึ้นโครงตะกร้า


1) เลือกใบมะพร้าวที่มีลักษณะสวยและอ่อนทั้งหมด 14 ใบ เพื่อใช้ในการสานตะกร้า 

2) ใช้มีดตัดใบมะพร้าวที่ไม่ต้องการออก และทำการเหลาบริเวณแกนทางมะพร้าวให้บางลง เพื่อให้ง่ายต่อการขดแกนทางมะพร้าวให้เป็นวงกลม 

3) เมื่อเหลาแกนทางมะพร้า

เชือกฟาง


เชือกฟาง ใช้สำหรับมัดตะกร้าให้แน่น ปัจจุบันหาง่ายกว่าเชือกกล้วยและเชือกปอ

คลิปหนีบกระดาษ


คลิปหนีบกระดาษ ใช้สำหรับหนีบแกนใบมะพร้าวให้อยู่ทรง

มีด


มีด ใช้สำหรับตัดใบมะพร้าวและเหลาแกนใบมะพร้าว

กรรไกร


กรรไกร ใช้สำหรับตัดใบมะพร้าวและเชือกฟาง

ใบมะพร้าว


ใบมะพร้าว ใช้สำหรับสานตะกร้า สาเหตุที่เลือกใช้ใบมะพร้าวเพราะภายในชุมชนมีต้นมะพร้าวอยู่จำนวนมาก สามารถหาได้ง่ายภายในชุมชน

ตะกร้าสานทางมะพร้าว


        ลักษณะพิเศษของงานจักสานชุมชนวัดจำปาที่โดดเด่นกว่าชุมชนอื่น คือ การที่คนในชุมชนทำใช้กันเอง บ้านป้าวิภาเป็นผู้ริเริ่มคนแรก ไม่เน้นเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์เพื่อจัดจำหน่ายเป็นรายได้หลัก แต่หากคนภายนอกจะเรียนรู้ คนในชุมชนก็ยินด