ธรรมจักรในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีกวางหมอบอยู่ 2 ข้าง

รายละเอียด

  

ธรรมจักรในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีกวางหมอบอยู่ 2 ข้าง เป็นไม้แกะสลักอยู่ถัดขึ้นไปจากบานประตูไม้แกะสลักรูปเทวาทวารบาลจากประตูซุ้มทางเข้าอุโบสถ (สิม) วัดคามวาสี บ้านโพน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ยังมีสัญลักษณ์ทางศาสนาของธรรมจักรในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีกวางหมอบอยู่ 2 ข้าง ตามแบบของธรรมจักรยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชในพุทธศตวรรษที่ 3 เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงการประกาศสัจธรรมอันสำคัญที่เรียกว่า ธัมมจัก กัปปวัตนสูตร คือ อริยสัจ 4 โดยมีกงล้อ 8 ซี่ ที่หมายถึง มรรค (ทางสายกลาง) ที่หมายความต่อไปยังแนวประพฤติปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น 8 ประการ หรือสรุปก็คือ หนทางของการดำรงชีวิต ศรัทธา และปฏิบัติที่จะต้องไม่บำเรอตนให้เพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้ง 5 และไม่ทรมานตนให้ได้รับความยากลำบากทั้งกายและใจ ณ บริเวณสวนป่าอิสิปตนมฤคทายวันที่มีกวาง ซึ่งหมายถึงสัตว์โลกทั้งมวล

เมื่อพิจารณาสัญลักษณ์โดยละเอียดเพื่อสื่อถึงความหมายอันเป็นนัยยะ พบว่า รูปวงล้อธรรมจักร ซึ่ง “วงล้อ” เป็นดุจธรรมเคลื่อนตัว และ “รูปสัตว์กวาง” เป็นสัญลักษณ์ ทางพระพุทธศาสนา คือเป็นสัญลักษณ์การประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกของพระพุทธเจ้าโดยทรงเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ท่าน คือ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ด้วยพระธรรมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวันะสูตร” ซึ่งเป็นกำเนิดของวงล้อธรรมะอันจะหมุนเคลื่อนตัวไปรอบแล้วรอบเล่าเพื่อจะให้เข้าถึง ประชาหมู่สัตว์ทั่วๆ ไปดุจวงล้อของราชรถที่พระราชาประทับขับเคลื่อนไป ส่วนกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์ ของสถานที่ ที่แสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือป่าเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาสรรพสัตว์ เขตปลดปล่อยอภัยทาน มีชื่อเรียกว่า "ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน” โดยคำว่ามฤคทายวัน มาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง นั่นแสดงให้เห็นว่า กวาง คือ ที่พึ่งอันประเสริฐของมวลมนุษย์ จากการประกาศพระธรรมจักร คือทางเดินที่เลือกไว้ดีแล้ว ได้แก่มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) นอกจากนี้ในสมัยพระพุทธเจ้ายังบำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติ พระองค์ท่านเคยเป็นพญากวางโพธิสัตว์ ดังปรากฏใน มิคราชชาดก ได้ทรงสละชีวิตพระองค์ให้พระราชาในเมืองนั้น แทนกวางสองแม่ลูก พระราชาทรงเลื่อมใส ในคุณธรรมของพญากวางจึงได้ทรงปล่อยไปและประกาศให้เขตป่านั้น เป็นสถานที่อภัยทานและเป็นที่อยู่อาศัยของกวางถึงปัจจุบัน

ถัดขึ้นไปด้านบนจากสัญลักษณ์วงล้อธรรมจักรและกวางมอบอยู่ 2 ข้าง จะเป็นการแกะสลักไม้เป็นภาพหน้ากาล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลา โดยมีเรื่องเล่ากล่าวถึงผู้ที่กลืนกินตนเอง แม้แต่ริมฝีปากล่าง ของตน ดังนั้นหน้ากาลในศิลปะไทยจึงปรากฏแต่เพียงหน้า ไม่มีตัว ส่วนเกียรติมุขเกิดจากนรสิงห์ตนหนึ่ง ที่พระศิวะเคยประทานพรให้แล้วเกิดความทะเยอทะยาน พระองค์จึงกลับมาปราบโดยตัดเศียรแล้วนำไปประดับไว้ที่ทางเข้าศาสนสถาน เพื่อให้ลมหายใจของมันมอบพลังให้แก่ผู้ที่เข้ามายังศาสนสถานนั้น ทั้งนี้หน้ากาล มักทำประดับเหนือประตูทางเข้าอาคารหรือคูหา มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาอุโบสถ (สิม) วัดคามวาสี และมอบพลังอำนวยอวยพรให้แก่ผู้ที่เข้ามาภายในวัดคามวาสีด้วย 




ธรรมจักรในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีกวางหมอบอยู่ 2 ข้าง เป็นไม้แกะสลักอยู่ถัดขึ้นไปจากบานประตูไม้แกะสลักรูปเทวาทวารบาลจากประตูซุ้มทางเข้าอุโบสถ (สิม) วัดคามวาสี บ้านโพน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงการประกาศสัจธรรมอันสำคัญที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร คือ อริยสัจ 4 มรรค (ทางสายกลาง) ที่หมายความต่อไปยังแนวประพฤติปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น 8 ประการ หนทางของการดำรงชีวิต ศรัทธา และปฏิบัติที่จะต้องไม่บำเรอตนให้เพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้ง 5 และไม่ทรมานตนให้ ถัดขึ้นไปด้านบนจากสัญลักษณ์วงล้อธรรมจักรและกวางมอบอยู่ 2 ข้าง จะสังเกตเห็นเป็นการแกะสลักไม้เป็นภาพ หน้ากาลอยู่เหนือประตูทางเข้าอุโบสถ มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาอุโบสถ (สิม) วัดคามวาสี และมอบพลังอำนวยอวยพรให้แก่ผู้ที่เข้ามาภายในวัดคามวาสี