บานประตูไม้แกะสลักรูปทวารบาลหน้าอุโบสถ

รายละเอียด

  

บานประตูไม้แกะสลักรูปทวารบาลหน้าอุโบสถ (สิม) วัดคามวาสี บ้านโพน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นการแกะสลักบานประตูรูปเทวดา จากประตูซุ้มทางเข้าอุโบสถ (สิม) ซึ่งคติการนำรูป เทพเจ้าหรือเทวดา "ทวารบาล" เกิดขึ้นในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนกลางหลังสมัยพระเจ้าปราสาททองลงมาแล้ว เพราะไม่ใช่คติปรัชญาของฮินดูหรือวัชรยานของเขมรโบราณและเถรวาทลังกาวงศ์แบบสุโขทัย ทั้งนี้ จากคติความเป็นศูนย์กลางแห่งพระศาสนาแห่งใหม่ ทำให้เกิดความกล้าหาญของช่างในการนำเอา "เทพเจ้า เทวดา" มาใช้งานเพิ่มขึ้น ดังนั้นเทพเจ้าจึงกลายมาเป็น "ทวารบาล" เฝ้าประตูให้อุโบสถวัดคามวาสีบ้านโพน


บานประตูไม้เเกะสลักรูปทวารบาล เป็นงานแกะสลักไม้เนื้อแข็งด้วยความวิจิตรงดงาม ในวัดคามวาสี มีจุดเด่นอยู่ที่ หน้าบัน ประตูและหน้าต่าง รูปทวารบาลจะแกะสลักเป็นรูปเทพเจ้าหรือเทวดา "ทวารบาล" หรือ ผู้รักษาประตู จะมีลักษณะเป็นรูปสลักหินบุคคล"ลอยตัว" ตั้งอยู่ด้านหน้าซ้ายขวาของประตู เพื่อเฝ้าประตูโบสถ์ เสมือนเป็นนายประตูอาจคุ้มครอง ดูแล ป้องกันได้แต่มวลหมู่มนุษย์และสัตว์ต่างๆ มิให้ล่วงล้ำเข้าไป ในประตูนั้นได้