Roang Kram

ชุมชนโรงครามตั้งอยู่ในเขตธนบุรี ประกาศเป็นชุมชนที่จัดตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2535 ชุมชนตั้งอยู่ที่ถนน เทศบาลสาย 2 แขวง วัดกัลยาณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มเขต 5 กลุ่มกรุงธนเหนือ ชุมชนโรงครามอยู่ในย่านกุฎีจีน หรือกะดีจีน เป็นย่านประวัติศาสตร์ที่มีความเก่าแก่แห่งหนึ่ของกรุงเทพมหานคร ในบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วยชุมชนเล็ก ๆ 6 ชุมชน คือ ชุมชนโรงคราม ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนวัดประยูรวงศ์ ชุมชนบุปผาราม และชุมชนกฎีขาว พื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายทางมรดกวัฒนธรรมของ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ อันประกอบด้วย พุทธเถรวาท พุทธมหายาน คริสต์ และมุสลิม ชุมชนโรงครามมีจำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันมากถึง 106 ครัวเรือน 111 ครอบครัวและผู้อาศัยมากถึง 360 คน ชุดข้อมูลผู้อยู่อาศัยได้จากการสอบถามประธานชุมชน (นางสโรช โลหะญาณจารี) การทำผ้ามัดย้อม เป็นภูมิปัญญของชุมชนโรงครามในอดีต มีการทำผ้าย้อมที่ชุมชนโรงครามเป็นที่แรกและยังเป็นจุดเริ่มต้นในการทำผ้ามัดย้อมที่แรก ๆ ในประเทศ ซึ่งการทำผ้ามัดย้อมที่ชุมชนโรงครามมีมาตั้งแต่ก่อนจะตั้งชุมชนในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อก่อนจะเป็นตึกสำหรับทำโรงย้อมแต่ที่ยังเป็นของตระกูลบุนนาค ปัจจุบันโรงย้อมได้ถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยของคนในชุมเหลือเพียงแค่สถานที่เล็ก ๆ เป็นแหล่งทำกิจกรรมของคนในชุมชนและสถานที่เรียนรู้ให้ประชาชนได้มาทำผ้ามัดย้อม ลักษณะการย้อมคือใช้สีจากครามผสมน้ำ ปราศจากสารเคมี วิธีการทำในสมัยก่อนจะใช้ไฟและหม้อต้ม แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงให้ง่ายขึ้นไม่ต้องต้ม ใช้การย้อมเย็น โดยมัดผ้าแล้วแช่ในกะละมังที่มีสีครามอยู่ ซึ่งลายที่ได้จะเป็นเอกลักษณ์เพราะมีลายเดียวอันเดียวแตกต่างไปตามการมัด ในอดีตชุมชนโรงครามเป็นชุมชนที่โด่งดังในเรื่องการย้อมผ้าจากคราม มีการผลิตและจำหน่ายอย่างคึกคัก เช่น เสื้อ กางเกง กระโปรง หมวก ผ้าพันคอ และกระเป๋า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันไม่ได้มีการผลิตผ้าย้อมครามเป็นอาชีพหลัก มีเพียงการทำผ้าย้อมครามตามโอกาสและเทศกาลเท่านั้น และคนที่สานต่อภูมิปัญญาบ้างก็ย้ายไปจากชุมชน ปัจจุบันเหลือผู้สืบทอดองค์ความรู้แค่ 2 คน นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่นับวันจะเลือนหายไปจากชุมชนโรงคราม