"History of Baan Yuan" ประวัติของชุมชนบ้านญวน

     ชุมชนบ้านญวน ตั้งอยู่ที่ เขตสามเสน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยย้อนกลับไปในสมัยพระเจ้ายาลอง พระมหาจักรพรรดิของญวน ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวญวน 
แต่ต่อมาในสมัยพระเจ้ามินหม่างผู้เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ขึ้นครองราชย์ พระญาติของพระองค์ได้ก่อการกบฏแย่งชิงราชสมบัติ ทำให้พระองค์ทรงระแวงพระทัยว่าชาวฝรั่งเศสให้การช่วยเหลือพวกกบฏ จึงเกลียดชังชาวฝรั่งเศสนับตั้งแต่นั้นและต้องการกำจัดชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแพร่ในเวียดนาม พระเจ้ามินหม่างจึงเริ่มปราบปรามชาวคริสต์ โดยห้ามชาวฝรั่งเศสเข้าประเทศ ห้ามมิให้ชาวญวนนับถือ
ศาสนาคริสต์ รวมทั้งมีการทรมานและการสังหารพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสและชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก ชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิกบางส่วนจึงมีการอพยพหนีออกจากประเทศเวียดนามไปยังหลายๆ ประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย
     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ชาวคริสต์ญวนราว 1,350 คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณวัดส้มเกลี้ยงและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างวัดหลังแรกและตั้งชื่อว่า "วัดแซงต์ฟรังซัวซาเวียร์" 
เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จนในปีพ.ศ. 2468 เปลี่ยนชื่อเป็น “โบสถ์นักบุญฟรังซิสเซเวียร์” 
     แต่เดิมชุมชนบ้านญวนมีพื้นที่ติดกับแหล่งน้ำ มีคลองตัดผ่าน ทำให้คนในชุมชนประกอบอาชีพ ชาวประมงและช่างต่อเรือ นอกจากนี้ยังมีการจับปลาเพื่อนำมาประกอบอาหาร เรียกได้ว่าเป็น 1 ในเอกลักษณ์และ
วัฒนธรรมทางด้านอาหารของชุมชนบ้านญวน นั่นคือ "ปากริมปลา"
     ปัจจุบัน เนื่องจากชุมชนค่อนข้างเล็กทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานออกไปชาวญวนในชุมชนเหลือน้อยลง วัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอาหารแทบทั้งสิ้นโดยสามารถพบได้ที่ตลาดเช้าบ้านญวนซึ่งเปิด  เวลา 05.30 น. - 08.30 น.