ทศกัณฐ์


ทำเป็นหน้ายักษ์ 3 ชั้น คือ ชันแรกมีหน้าปรกติ 1หน้า และมีหน้าเล็ก ๆ เรียงกัน 3 หน้าตรงท้ายทอย ชั้นที่ 2 ทำเป็นหน้าเล็ก ๆ 4 หน้า เรียงสี่ด้าน ชั้นที่ 3 ทำเป็นหน้าพรมด้านหน้า หน้ายักษ์ด้านหลัง ปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎยอดชัย หน้าทศกัณฐ์มี 3

พิฆเนศวร


ลักษณะหัวโขน หน้าเป็นช้างสีแดง สวมเทริดยอดน้ำเต้าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นโอรสพระอิศวรกับพระอุมา มีรูปลักษณ์เป็นมนุษย์ อ้วนเตี้ยท้องพลุ้ย หูยาน มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว

นิลพัท


นิลพัท - พญาวานร ลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้า สีน้ำรักหรือสีดำขลัม หัวโล้น สวมมาลัยทอง เป็นบุตรพระกาล

ปัญจสีขร


หน้าพระสีขาว สวมมงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด เป็นเทพคนธรรพ์ เป็นเทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี คือบัณเฑาะว์และพิณหรือกระจับปี่

กากนาสูร


หน้ายักษ์มีสีม่วงแก่ สันฐานเป็นกา ตาจระเข้ หัวโล้น สวมกะบังหน้า เป็นญาติชั้นยายของทศกัณฐ์ เป็นมารดาสวหุและมารีศ มีฤทธิ์วิเศษแปลงเป็นกาใหญ่

ทศคีรีธร


หน้ายักษ์สีหงดิน ปากขบ ตาจระเข้ บางแห่งว่าตาโพลง ปลายจมูกเป็นงวงช้าง สวมมงกุฎกาบไผ่ เป็นโอรสทศกัณฐ์กับนางช้าง

กุมภกรรณ


ทำเป็นหน้ายักษ์ 4 หน้า เพื่อให้ต่างกัน เสนายักษ์ คือ เป็นหน้าปรกติ 1 หน้า และเป็นหน้าเล็กๆ 4 หน้า ปากแสยะตาโพลง หัวโล้น สวมกระบังหน้า ไม่มีมงกุฎ หน้ามี 2 สีคือ สีเขียวกับสีทอง

พระราม


หน้าพระมีสีเขียวนวล ตอนครองเมืองสวมมงกุฎยอดชัย เป็นกษัตริย์ครองเมืองกรุงอโยธยาองค์ที่4 เป็นพระนารายณ์อวตาลลงมาเกิดเป็นโอรสของท้าวทศรด กับนางเพาสุริยา มีมเหสีชื่อนางสีดา

จักรวรรดิ


หน้ายักษ์มีสีขาว มี 4 หน้าทำเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นหน้าปรกติ ชั้นที่2 ทำเป็นหน้าหน้าเล็ก 3หน้า ปากแสยะ ตาโพลง (บางที่ทำเป็นปากแสยะ ตาจระเข้) ที่เขี้ยวโง้งแหลม สวมมงกุฎหางไก่ เป็นกษัตรเมืองมลิวัน สหายทศกัณฐ์

ภรตมุนี


ลักษณะหัวโขน จะทำเป็นหลายแบบคือ จะมีหน้าสีทอง(นิยมมากว่าหน้าสีอื่นๆ) สีลิ้นจี่แดง สีกลีบบัว สีเนื้อ สีจันทร์เป็นต้น ลักษณะจอนหูทำเป็นแบบครีบหางปลา กับจอนหูแบบธรรทดาที่ใช้กับเทริด บางครั้งก็ไม่ติดจอนหู ลักษณะใบหน้าจะทำเป็นแบบหน้าอ้วน หน้าผอม หน้ายิ้ม

ทศคีรีวัน


ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์สีเขียว ปากขบ ตาจระเข้ บางแห่งเรียกตาโพลง ปลายจมูกเป็นงวงช้าง สวมมงกุฎกาบไผ่ เป็นโอรสทศกัณฐ์ที่เกิดกับนางช้าง

ครุฑ


หน้าสีแดงอมส้ม ปากแหลมงุ้ม ใช้สวมใส่ในการแสดงละครเร่องกากี ตัวแสดงที่เป็นครุฑ

ตรีบุรัม


หน้ายักษ์มีสีดำหมึก ปากแสยะ ตาโพลง บางแห่งว่าปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎน้ำเต้ากลมรูปทรงปลี ครองกรุงโสฬส

นางสีดา


ตรีเมฆ


ลักษณะหัวโขน หน้าเป็นสีหงดินแก่ ปากขบตาจระเข้(ตาโพลง) สวมมงกุญหางไหล

กไลโกฏ


ทำเป็นหัวฤๅษีหน้าเนื้อ สวมเทริดภาษียอดบายสี หัวโขนบางหัวจะทำเขาโผล่ขึ้นมาอีกด้วย เป็นบุตรพระมุนีชื่อ อิสสงค์ บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าศาลวัน เมืองพัทธิสัย

หนุมานครองเมือง


หนุมานครองเมือง มีลักษณะหัวโขน หน้าวานรปากอ้าสีขาวผ่อง ตอนครองเมืองสวมมงกุฎยอดชัย

พระลักษณ์


หน้าพระสีทอง สวมมงกุฎยอดชัย บางครั้งจะสวมมงกุฎยอดเดินหน พระมหามงกุฎ ตอนทรงพรต สวมชฎายอดบวชหรือชฎายอดบวชฤๅษี

หนุมาน


หน้าวานรปากอ้า สีขาวผ่อง หัวโล้น สวมมาลัยทอง มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปาก นอกจากนี้ยังมีการทำหัวโขนหน้าหนุมานอีกหลายแบบใบหน้าเป็นตอนแผลงฤทธิ์มี 4 หน้า เป็นหน้าปรกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็ก 3 หน้า ที่ด้านหลัง เป็นบุตรพระพายกับนางสวาหะ

อินทรชิต


ลักษณะหัวโขน หน้ายักษ์มีสีเขียว ปากขบ ตาโพลง เขี้ยวคุด (ดอกมะลิ) สวมชฎามนุษย์ บางครั้งสวมชฎายอดกาบไผ่เดินหนแบบพระอินทร์ เป็นโอรสทศกัณฐ์กับนางมนโฑ นอกจากนี้ยังทำเป็นหน้าสีทองอีกแบบ

พิราพ


ลักษณะหัวโขน ลักษณะหน้าแปลกจากยักษ์อื่นคือ หน้ากางคางออก เรียกว่า หน้าจาวตาล สีม่วงเด่น หรือสีน้ำรัก หรือสีทอง ปากแสยะ ตาจระเข้ หัวโล้น สวมกระบังหน้า เป็นเทพอสูรผู้ทรงฤทธิ์ เป็นปางที่ดุร้ายของพระอิศวรปางหนึ่ง

อินทร์


หน้าพระสีเขียว สวมมงกุฎยอดเดินหน เป็นมเหสักเทราชองค์ที่ 4 เป็นใหญ่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ชฎาออกบวช


ชฎาออกบวช มีลักษณะเป็นยอดออกบวช ใช้สำหรับพระรามสวมใส่ตอนออกบวช ใส่ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์

อสุรพักตร์


หน้ายักษ์มีสีหงสบาท ทำหน้าเป็นสองชั้น ชั้นแรกเป็นหน้าปกติ ชั้นที่สองทำเป็นหน้าเล็กจำนวนสามหน้า ปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎชัย

ทศกัณฐ์


ลักษณะหัวโขน หน้าสีทองใช้ตอนนั่งเมือง ทำเป็นหน้ายักษ์ 3 ยักษ์ คือชั้นแรกมีหน้าปรกติ 1 หน้า และมีหน้าเล็ก ๆ เรียงกัน 3 หน้าตรงท้ายทอย ชั้นที่ 2 ทำเป็นหน้าเล็ก ๆ 4 หน้า เรียงสี่ด้าน ชั้นที่ 3 ทำเป็นหน้าพรมด้านหน้า หน้ายักษ์ด้าน

ทศกัณฐ์


ลักษณะหัวโขน ทำเป็นหน้ายักต์ ๓ ชั้น คือ ชั้นแรกมีหน้าปกติ ๑ หน้า และมีหน้าเล็ก ๆ เรียงกัน ๓ หน้าตรงท้ายทอย ชั้นที่ ๒ ทำเป็นหน้าเล็ก ๆ ๔ หน้า เรียงสีด้าน ชั้นที่ ๓ ทำเป็นหน้าพรหมด้านหน้า หน้ายักด้านหลัง ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดชัย หน้าทศกัณฐ์มี ๓ สี