พายเรือหาปลา ณ อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น

รายละเอียด

  

เรือไทยในภาคอีสานใช้เรือเป็นพาหนะเดินทาง ขนสินค้า ทำการประมง และเป็นพาหนะลำเลียงพลในยามศึกสงครามสมัยโบราณ เป็นต้น ลักษณะพิเศษของเรือไทยในภาคอีสานจะมีรูปร่างเพรียวและจุคนได้มากกว่าเรือไทยในภาคอื่น ๆ และไม่นิยมตบแต่งด้วยสีสันให้สะดุดตาเหมือนเรือกอและของชาวภาคใต้ ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งคือที่ท้ายเรือชะละ ท้ายเรือกาบ ชาวบ้านจะติดหางเสือหรือที่เรียกว่า หมากกะลา ไว้ที่ข้างถือ หางเสือหรือหมากกะลามีลักษณะคล้าย ๆ ใบพาย เจาะรูใส่แกนไว้ หมากกะลาหรือหางเสือจะทำหน้าที่วาดเรือ วาดท้ายเรือ ขดท้ายเรือให้ได้ทิศทางที่ต้องการ การต่อเรือในภาคอีสานมี 2 แบบ คือ 1. การต่อเรือแบบขุด ได้แก่ เรือชะล่า และเรือยาว 2. การต่อเรือแบบข้างกระดาน ได้แก่ เรือหมากกะแชง และเรือกาบ ต่อเรืออีกประเภทหนึ่งในภาคอีสานเป็นการต่อเรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่าต่อเรือแบบข้างกระดาน

ประเพณีความเชื่อที่มีเกี่ยวกับเรือไทยในภาคอีสาน ความเชื่อเกี่ยวกับเรือไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณจะเริ่มตั้งแต่การสรรหาต้นตะเคียนให้ได้ตามไม้ลักษณะมงคลมาใช้ทำเรือ เช่นไม่มีตา ไม่มีรู ไม่มีโพรง ไม่แตกระแหง เป็นต้น เมื่อเลือกได้แล้ว ทำพิธีบวงสรวงรุกขเทวดาที่เชื่อกันว่าเป็นผู้หญิงสิงสถิตอยู่ ทำนองแม่ย่านางหรือเจ้าแม่ตะเคียน เทวดาที่สิงสถิตนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ท่านเรียกว่าแม่นาง ถ้าขนาดใหญ่จะได้เรือใหญ่ ขนาดกลางจะได้เรือขนาดกลาง ขนาดเล็กจะได้ขนาดเล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นตะเคียนที่ไปพบ ถ้าต้นตะเคียนที่ไปพบนั้นมีลักษณะไม่เป็นมงคลจะไม่เอา ถึงแม้จะได้ขนาดที่ต้องการแล้วก็ตาม จากนั้นทำพิธีซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรุกขเทวดาสิงสถิตอยู่ เชื่อว่าเป็นผู้หญิงหมายถึงแม่นางตะเคียน ก่อนตัดต้นตะเคียนต้องทำพิธีขออนุญาตเสียก่อน วันที่ไปตัดต้องไม่ไปในวันเดือนดับ คือ 14 หรือ 15 ค่ำ ถือว่าไม่เป็นวันมงคล เมื่อนำท่อนซุงมาถึงหมู่บ้าน ต้องทำพิธีบอกกล่าวผีบ้านผีเรือน เจ้าที่เจ้าทางให้รับรู้ เมื่อต่อเรือเสร็จแล้วต้องทำพิธีบายศรีสู่ขวัญรับเรือให้มาค้ำมาคูณแก่ครอบครัว ขณะนำเรือลงน้ำต้องหาฤกษ์หายามให้ดี  






“พายเรือหาปลา” ณ อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น เป็นวิธีการหาปลาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งจับกิน จับขาย สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว ถือเป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ และ อันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต อันดี งาม ความผูกพันระหว่างสายน้ำกับชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตอันดีงาม เป็นความผูกพันระหว่างเรือกับวิถีชีวิตเหมือนดั่ง “สายน้ำ” กับ “ชีวิต” บนพื้นฐานสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ใช้เรือเป็นพาหนะ หรือทำการประมง ปัจจุบันวิธีการพายเรือหาปลาและทำประมงแบบนี้ได้ลดน้อยลงไปตามกาลเวลา ชาวบ้านสุขสมบูรณ์ยังคงยังคงอนุรักษ์วิธีหาปลาที่สืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต นอกจากประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนแล้ว นักท่องเที่ยวบางท่านชมธรรมชาติและพายเรือหาปลา บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก การเดินทางสู่อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น : จากทางหลวงหมายเลข 304 เลี้ยวซ้ายเข้าทางที่จะไปวัดบุพไผ่ และย่านร้านค้าชุมชนบ้านบุไผ่ ขับตรงไปตามเส้นทางก่อนถึง อบต.ไทยสามัคคีจะมีทางแยกเลี้ยวขวาแยกไปที่อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายจากบ้านสุขสมบูรณ์