ทอดกฐินสามัคคี

รายละเอียด

  

กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น ดังนี้

1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือน

ทานอย่างอื่นไม่ได้

2. จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวาย

ภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป

3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้

5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

6. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขา ทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

ความหมายของกฐิน เป็นศัพท์บาลีแปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" ส าหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้

1. กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับท าจีวร ดังกล่าวข้างต้น

2. กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)

3. กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน

4. กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ

ความเป็นมาของกฐิน ในอดีตภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีแต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุ ในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ

1. ไปไหนไม่ต้องบอกลา

2. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบส ารับสามผืน2

3. ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้) 3

4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ

5. จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว

กฐินราษฎร์คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคีผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ

ชนิดของกฐินในประเทศไทยตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็น 2 ประเภท ตามระยะเวลาในการจัดเตรียม คือ

1.จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ทำฝ้ายปั่น กรอ ทอ ตัดเย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัยแล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น

2. มหากฐิน คือ กฐินที่มีการเตรียมตัวมากเป็นเวลานาน พร้อมทั้งมีการตระเตรียม อื่น ๆ อีกมาก อาศัยปัจจัยไทยธรรมบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วนเพื่อจะให้ส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัดเพื่อพัฒนาความเจริญของวัด มีการซ่อมแซมบูรณะของเก่าบ้าง ดังเช่นกฐินสามัคคีในปัจจุบันนี้ (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

กฐินสามัคคี กฐินของประชาชนหรือกฐินสามัคคี ในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญหรือวิหารสำหรับทำบุญ เจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์พิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่งการทำพิธีกฐินัตถารกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความคิดเห็นที่เรียกกันว่า อปโลกน์และการสวดญัตติทุติยกรรม คือ การยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอมนำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนะที่เดิม ประชาชนผู้ถวายผ้ากฐินทายกทายิกาและผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้นเข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งหมดจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพผู้ถวายกฐินกรวดน้ำ จนจบบทยถาแล้ว คฤหัสถ์ทั้งหมดนั่งประนมมือรับพรพระจนจบเป็นเสร็จพิธี







กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น

กฐินราษฎร์คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ชนิดของกฐินในประเทศไทยคงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็น 2 ประเภท ตามระยะเวลาในการจัดเตรียม คือ

1.จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ทำฝ้ายปั่น กรอ ทอ ตัดเย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัยแล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น

2. มหากฐิน คือ กฐินที่มีการเตรียมตัวมากเป็นเวลานาน พร้อมทั้งมีการตระเตรียม อื่น ๆ อีกมาก อาศัยปัจจัยไทยธรรมบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วนเพื่อจะให้ส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัดเพื่อพัฒนาความเจริญของวัด มีการซ่อมแซมบูรณะของเก่าบ้าง ดังเช่นกฐินสามัคคีในปัจจุบันนี้ (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

กฐินสามัคคี กฐินของประชาชนหรือกฐินสามัคคี ในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญหรือวิหารสำหรับทำบุญ เจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์พิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่งการทำพิธีกฐินัตถารกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความคิดเห็นที่เรียกกันว่า อปโลกน์และการสวดญัตติทุติยกรรม คือ การยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอมนำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนะที่เดิม ประชาชนผู้ถวายผ้ากฐินทายกทายิกาและผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้นเข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งหมดจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพผู้ถวายกฐินกรวดน้ำ จนจบบทยถาแล้ว คฤหัสถ์ทั้งหมดนั่งประนมมือรับพรพระจนจบเป็นเสร็จพิธี