ขี้ไต้หรือกะบอง

รายละเอียด

  

กะบอง มีความหมายตรงกับ "ไต้" หรือ "ขี้ไต้" ของภาคกลาง ใช้สำหรับจุดไฟให้แสงสว่างในเวลาค่ำคืนแทนตะเกียง หรือไฟฟ้าในปัจจุบัน ภูมิปัญญาโบราณที่สืบทอดมาจนปัจจุบัน เดิมชาวบ้านใช้น้ำยางจากยางนา โดยเจาะรูลึกบริเวณโคนต้นกว้างพอประมาณ แล้วสุมไฟในรูให้ความร้อนเพื่อให้น้ำยางไหลออกมา ทิ้งไว้แบบนั้นประมาณสามวัน แล้วเอาหาบไปตักน้ำยางก่อนเที่ยงวัน แล้วใช้ไม้ผุเอามาตำหรือทุบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกเคล้ากับน้ำมันยางที่ได้จากต้นยางนานำมาปั้นให้เป็นแท่งกลมยาวประมาณ 1 ศอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ใช้เปลือกไม้หรือใบไม้ เช่น ใบพลวง ใบจิก หรือใบยางนา ห่อแล้วมัดด้วยตอก หรือเชือกเป็นเปลาะ ๆ ปัจจุบันขี้ไต้ใช้น้ำมันยาง ชัน ไม้ยางสับเป็นชิ้นเล็กๆ เปลือกต้นยางและใบลาน ทดแทนวัตถุดิบที่สืบทอดมา กระบอก 1 อัน เรียกว่า 1 เล่ม ถ้ามัดรวมกันเป็นมัด มัดละ 10 เล่ม เรียกว่าลืม หรือ หลึม โดยทั่วไปกระบอกในภาคอีสาน มี 4 แบบ คือกะบองขี้ยางกะบองขี้ซี้ กระบองขี้ตก และกระบองขี้ควง ซึ่งกะบอกแต่ละชนิดทำจากวัตถุดิบที่แตกต่างกัน