บุญกฐิน ชุมชนบ้านโคกเมือง

รายละเอียด

“บุญกฐิน” (บุญเดือนสิบสอง) กฐิน คือไม้สะดึง ที่ใช้สำหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้ากฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่ จะนำไปถวายพระนั่นเองบุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนำเข้าไปถวายพระเป็นสำคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของอีตเดือนสิบสองของชาวอีสานชาวอีสานจึง รู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนำจีวรไปถวายในช่วงนี้ซึ่งมีกาลเวลา ที่เรียกว่าเทศกาลกฐิน ที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่า เป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทำบุญอย่างมากเพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส เท่านั้นและเป็นบุญที่อยู่ในช่วงข้าวใหม่ปลามัน ซึ่งในสมัยพุทธกาลมีพระภิกษุชาวเมือง ปาฐาจำนวน 30 รูปเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่พระเชตุวันมหาวิหารเนื่องจากการเดินทางใกล้วัน เข้าพรรษาและหนทางระยะไกลและไม่สามารถไปถึงพระเชตวันมหาวิหารได้จนถึงกำหนดเข้าพรรษาก่อนจึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรจึงรีบเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ระยะทางไกลพร้อมกับช่วงฤดูฝนจีวรจึงเปียก จนถึงพระเชตะวันมหาวิหารก้พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที พอพระองค์ เห็นพระทั้งหลายเปียกจึงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ มีกำหนด `1 เดือน นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 จึงมีประเพณีทอดกฐินต่อๆ กันมา 
ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
ข. มหากฐิน
ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน
พิธีทำบุญทอดกฐิน เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี