ประวัติกระปุกออมสินหมูกระดาษ

ในสมัยอดีตวัดประยุรวงสาวาสวรวิหารมีหมูตัวจริง ๆ มาอาศัยอยู่ภายในวัด เนื่องจากคนสมัยนั้นนำหมูมาบนบาน จากตัวสองตัว เริ่มขยายพันธุ์ออกลูก ทำให้บริเวณนี้มีหมูจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ วันหนึ่งหลวงพ่อที่วัดตัดสินใจจะบูรณะวัดใหม่ คนทั่วไปทราบดีว่าภายในวัดนี้มีหมูอยู่ จึงจับหมูไปทำเป็นอาหาร ซึ่งถ้าหากยังคงให้หมูอยู่ในวัด ก็จะเป็นบาปแก่วัด หลวงพ่อจึงตัดสินใจนำหมูไปไว้บริเวณอื่น ซึ่งเดิมทีคุณพ่อของป้าน้อยจะชอบหาอาหารไปให้หมูที่วัดจนกระทั่งนำหมูออกจากบริเวณพื้นที่วัดดังกล่าว และด้วยความที่คุณพ่อของป้าน้อยชอบทำศิลปะ งานฝีมือ ผนวกกับช่วงนั้นบ้านเมืองเป็นช่วงที่บ้านเมืองทำกระดาษได้ จึงนำเศษกระดาษเหลือใช้ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาใช้ประดิษฐ์เป็นกระปุกออมสินรูปหมูทาสีแดง คอยระลุกถึงช่วงชีวิตหนึ่งที่คุณพอ่คอยหาอาหารไปให้หมูในวัดประยูรฯ ส่วนสาเหตุที่ทากระปุกออมสินหมูกระดาษด้วยสีแดง ก็เนื่องจากคุณพ่อชอบสีแดง และคนจีนที่เข้ามาในช่วงขณะนั้นเห็นจึงเกิดการเล่าขานกันว่าหมูสีแดง เป็นหมูนำโชค ส่งผลให้เกิดการค้าขายกระปุกออมสินหมูกระดาษตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในสมัยก่อนคนจนไม่มีโอกาสได้ซื้อกระปุกออมสินหมูกระดาษ แม้ว่าค่าเงินสมัยนั้นจะไม่สูงเท่าปัจจุบันก็ตาม คุณพ่อจึงให้คุณป้าน้อยทำสืบต่อมาเรื่อย ๆ นำมาซึ่งเอกลักษณ์ของกระปุกออมสินหมูกระดาษคือ กระปุกออมสินหมูจะไม่มีที่เปิด เพราะแค่ราคาจำหน่ายก็สูงแล้ว จึงอยากให้คนที่ใช้ได้เก็บเงินออมไปนาน ๆ มากกว่าจนกว่าจะเต็ม แล้วค่อยผ่าตัวหมูนำเงินออกมา ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างไปจากกระปุกออมสินชนิดอื่น ๆ ทั่วไปที่มีฝาปิดและจะนำเงินออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ ครอบครัวของคุณป้าจึงทำในลักษณะนี้เรื่อยมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ พี่ ๆ และจนมาถึงรุ่นคุณป้าก็ยังคงทำอยู่ด้วย กระปุกออมสินหมูกระดาษถือเป็นของเก่าแก่ เป็นงานฝีมือของคนไทย นำของเหลือใช้มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ดั่งการนำกระดาษหนังสือพิมพ์เหลือใช้มาทำเป็นกระปุกออมสินหมูกระดาษ ถทอเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งในสมัยก่อนกระดาษไม่ได้หาง่ายเหมือนกับสมัยนี้ รุ่นที่คุณพ่อของป้าน้อยทำจึงใช้กระดาษกล่องยาสีฟัน หรือกระดาษจากกล่องสบู่มาแช่น้ำให้นิ่ม แล้วจึงนำมาทำต่อได้

ขนาด

รูปร่างของหมูก็เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แรก ๆ ก็ผอม ความสวยไม่เท่ากับสมัยนี้ มีการใช้สีน้อย เพราะสีแพง แต่ยังคงเอกลักษณ์ที่การทาสีแดง ส่วนลักษณะเด่นในเรื่องของลวดลายก็คือ ตาโต จมูกสีขาว แต่ช่วงรุ่นคุณพ่อจะใช้แค่สีดำแต้ม ๆ นอกจากนั้นยังใส่สร้อยให้หมู จะได้ทราบถึงพิกัดของหมู ทั้งส่วนหัว ส่วนขา มีการทาเล็บที่เท้าของหมูด้วย นอกจากนั้นกระปุกออมสินหมูจะไม่มีฝาเปิดนำเงินออก ด้วยเหตุผลที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยอดีตคือ ในสมัยนั้นกระปุกออมสินหมูกระดาษจัดเป็นสินค้าราคาสูง จึงอยากให้คนที่ซื้อไปแล้ว ใช้ได้นาน เก็บเงินออมไปเรื่อย ๆ จนเต็ม ถึงจะผ่าออกได้ อีกทั้งคุณป้าน้อยยังให้บริการปะหรือประกอบรอยผ่าได้ฟรีด้วยความสวยและเรียบเนียน เหมือนได้กระปุกออมสินหมูกระดาษตัวใหม่กลับไป

ชื่อเจ้าของ

ธนธรณ์ ธงน้อย (ป้าน้อย)

ประวัติเจ้าของ

ชีวิตการทำกระปุกออมสินหมูกระดาษเริ่มมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อของป้าน้อย แต่เมื่อป้าน้อยมีอายุได้ประมาณ 5-6 ปีก็เริ่มมาช่วยคุณพ่อจัดกระดาษ และได้ประกอบอาชีพทำเสื้อผ้า ก่อนที่คุณป้าตัดสินใจกลับมาสืบสานการทำกระปุกออมสินหมูกระดาษต่อจากคุณพ่อแบบจริงจัง ด้วยเหตุผลที่ว่า การทำงานในลักษณะเดิมมีเจ้านายคอยควบคุม เบื่อ ประกอบกับอายุที่มากขึ้น คนรุ่นใหม่เข้ามาแทน คนเก่าแก่ก็เริ่มหมดความสำคัญลง การหันกลับมาประกอบกิจการของตัวเอง ซึ่งเป็นกิจการที่แสดงถึงมรดกวัฒนธรรมที่ได้สืบทอดต่อมาจากคุณพ่อนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า อีกทั้งคุณป้าเองยังชอบการวาดเขียนและการประดิษฐ์ ทำให้ทุกครั้งที่ทำคุณป้าจะรู้สึกมีความสุขได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือในการประดิษฐ์งานศิลปะ คุณป้าได้ประกอบอาชีพนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันคุณป้ามีอายุ 72 ปี

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

มาจากภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดต่อมาจากรุ่นคุณพ่อที่ได้อาศัยอยู่ในชุมชนวัดประยูรฯ

ช่วงเวลาการสะสม

การทำกระปุกออมสินหมูกระดาษกินระยะเวลายาวนานมากว่า 100 ปี