ขลุ่ย

ขลุ่ย ทำจากไม้เนื้อแข็ง สีน้ำตาลแก่เกือบดำ รูปทรงกระบอก มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ ดาก คือ ไม้อุดท้ายขลุ่ย ปาดเนื้อไม้ให้มีรูสำหรับเป่า เรียกว่า รูเป่า รูปเป่า คือ รูสำหรับใช้ปากเป่าให้เกิดเสียง รูปากนกแก้ว คือ รูเจาะรับลมหน้ารูเป่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้เกิดเสียง รูเยื่อ คือ เป็นรูสำหรับปิดวัสดุที่ทำให้เกิดการสั่นไหว เช่น เยื่อไผ่ เผื่อหอม รูค้ำหรือรูนิ้วค้ำ คือ รูสำหรับให้นิ้วหัวแม่มือปิดเพื่อบังคับเสียงและประคองขลุ่ยขณะเป่า อยู่ ด้านล่างของขลุ่ย รูบังคับเสียง คือ รูที่เจาะเรียนกันอยู่ด้านบนของเลาขลุ่ย มีทั้งหมด 7 รู รูร้อยเชือก คือ รูสำหรับร้อยเชือก อยู่บริเวณปลายของเลาขลุ่ย มักเจาะทะลุ บน – ล่าง หรือ ซ้าย – ขวา มีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ยาว 29 เซนติเมตร ประโยชน์ใช้บรรเลงในวงดนตรี และบรรเลงเพื่อความเพลินเพลิน

ขนาด

ขนาด : ศก. 2 ซม ย. 29 ซม. / ลักษณะทางกายภาพ : ทำจากไม้เนื้อแข็ง สีน้ำตาลแก่เกือบดำ รูปทรงกระบอก มีรูสำหรับเป่าและรูบังคับสียง

ชื่อเจ้าของ

พระครูพิศาล เจติยารักษ์

ประวัติเจ้าของ

เจ้าอาวาส วัดน้ำจำ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

ไม่ทราบ

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

ชาวบ้านนำมาถวาย

ช่วงเวลาการสะสม

ไม่เกิน 10 ปี