ร.ล.สมุย (จำลอง)

รายละเอียด

รล.สมุย ระวางขับน้ำ ระวางขับน้ำ 3,025 ตัน

คุณลักษณะของ ร.ล.สมุย ลำที่ ๑

ต่อที่อู่ฮาโกดาเต เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ ๒๗ ก.ค. ๒๔๗๘
ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ ๑๘ ก.ย. ๒๔๗๙
กว้าง ๓๙ ฟุต ยาว ๒๓๘ ฟุต
ระวางขับน้ำ ๓,๐๒๕ ตัน
เครื่องจักรใหญ่ดีเซล ๒ เครื่อง ความเร็วมัธยัสถ์ ๑๒ น็อต
อาวุธ ปืน ๗๖/๓๕ ๑ กระบอก ระเบิดน้ำลึก ๒ แท่น 
ถังน้ำมัน เคโรซีน (น้ำมันก๊าซ) ๒๖,๖๔๘ ลูกบาศก์ฟุต ครุตออย (Crude Oil หรือ น้ำมันดิบ) ๓๙,๙๒๔ ลูกบาศก์ฟุต รวม ๑,๓๐๐ กล.
นอกจากนี้ยังมีระวางสำหรับบรรทุกน้ำมันที่เป็นถังและของอื่นๆ อีก ๒ ระวาง รวม ๓๓,๓๓๒ ลูกบาศก์ฟุต เคยบรรทุกถังน้ำมัน (ขนาด ๒๐๐ ลิตร) ได้อีก ๕๐๐ ถัง ซึ่งเป็นจำนวนน้ำมันราว ๑๐๐ กล.
อัตราทหารประจำเรือ : นายทหาร ๘ นาย , พันจ่า ๓ นาย , จ่าและพลฯ ๔๐ นาย รวม ๕๑ นาย
 
ประวัติการสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ กองทัพเรือได้ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียงในน่านน้ำไทยทำการกวาดทุ่นระเบิดและในเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ล.สมุย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศ ร.ล.สมุย ปฏิบัติภารกิจสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความสามารถของ ผบ.เรือ และทหารประจำเรือหลายครั้งต้องหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึกแต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ถึง ๑๗ ครั้ง จนกระทั้งครั้งที่ ๑๘ ซึ่งเป็นเที่ยวสุดท้าย ขณะที่ ร.ล.สมุย ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงกลับ วันที่ ๑๗ มี.ค.๒๔๘๘ เวลา ๐๒.๔๕ บริเวณด้านตะวันออกของเกาะคาปัส ประเทศไทยต้องสูญเสีย ร.ล.สมุย พร้อมด้วยลูกเรือบางส่วนไปโดยถูกตอร์ปิโดถึง ๒ ลูกซ้อนจากเรือดำน้ำข้าศึก ระเบิดไฟไหม้หัวเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเลเหลือผู้รอดชีวิต ๑๗ นาย เสียชีวิตไป ๓๑ นาย นาวาตรีประวิทย์ รัตนอุบล ผบ.เรือ รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ ร.ล.สมุย และทหารประจำเรือ

ขนาด

ก.๖๗  ย.๒๐๐

ชื่อเจ้าของ

ประวัติเจ้าของ

ประวัติวัตถุจัดแสดง

แหล่งที่ได้มา/โอนย้าย

ช่วงเวลาการสะสม

รัชกาลที่ 9