วัดกาสา

กลุ่มประชากรที่ขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูเมืองเชียงแสน ในยุคของเจ้าน้อยอินต๊ะ คือ กลุ่มชาวไทลื้อ(ยอง) จากเมืองลำพูนและชาวเชียงใหม่ ประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาฟื้นเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นเมืองร้าง กลุ่มที่อพยพมารุ่นแรกตั้งถิ่นฐาน ทำกินอยู่เรียงรายตามแม่น้ำจัน สันนิษฐานว่าพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของตัวเมือง แม่จันในปัจจุบัน น่าจะมีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งปรากฏเรื่องเล่าในท้องถิ่นสืบว่า ในคราวอพยพผู้คนเพื่อฟื้นเมืองเชียงแสน มีกลุ่มชาวเชียงใหม่อพยพมาด้วยในคราวนั้นได้นิมนต์ครูบาอินแก้ว อภิชโย ซึ่งมีภูมิลำเนาเป็นชาวบ้านแม่สา เมืองเชียงใหม่ ลงมาด้วย ในระยะแรกมีการสร้างเป็นอาวาสขนาดเล็ก ในบริเวณใกล้ๆริมแม่น้ำจัน ภายหลังในปีพ.ศ.2435 มีการย้ายสถานที่มาสร้างวัด ณ ที่แห่งใหม่ห่างจากจุดเดิม ประมาณ 2 กิโลเมตร ทางด้านทิศเหนือ ยกฐานะมาสร้างวัดกาสาขึ้นบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน (กรมการศาสนา,2532,น.350-351) ภายหลังการปฎิรูป รูปแบบการบริหารจัดการ ในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล เพียงหนึ่งปี ในปี พ.ศ.2443 มีการย้ายที่ทำการแขวงเชียงแสน จากบริเวณบ้านแม่คี ลงมาทางใต้ทางฝั่งขวาของแม่น้ำจัน ตำบลเวียงกาสา ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน (ที่ว่าการอำเภอแม่จัน,มปป,น.18) ภายหลังการปฎิรูปมณเทศาภิบาล รัฐบาลสยามรัฐบาลสยามเกิดการปฎิรูปรูปแบบการเก็บภาษีอากร เกิดการยกเลิกสิทธิพิเศษที่เจ้านายบุตรหลานเคยได้รับ เจ้านายค่อยๆหมดอำนาจในการคลังของท้องถิ่น เช่นการขาดรายได้จาก ส่งผลให้รัฐบาลสยามมีรายได้เข้าคลังเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นรัฐบาลสยามยังเก็บภาษา “เงินค่าราชการ” เป็นภาษีที่เสียแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน ในอัตราปีละ 4 บาท จึงเกิดกระแสต่อต้านอำนาจรัฐมากขึ้นและนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ก่อจราจลโดยกลุ่มชาวไทใหญ่ในหัวเมืองสำคัญของภาคเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่ พะเยา และเชียงราย ในปีพ.ศ.2446 (ร.ศ.112 ) เหตุจราจลในแขวงเชียงแสน และ แขวงเมืองเชียงราย เกิดเหตุจราจล ในระหว่างวันที่ 9-15 มีนาคม พ.ศ.2446 เหตุการณ์จราจลเงี้ยวบุกแขวงเชียงแสนหลวง ส่งผลให้เกิดการสกัดโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมือง มีการทำลายสถานที่ราชกาช ได้แก่ โรงพักตำรวจในแขวงเชียงแสน โดยการจลาจรในครั้งนั้นกลุ่มเงี้ยว (ไทใหญ่)ได้หนีไปหลบซ้อนจากการสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในวิหารของวัดกาสา วัดกาสาจึงเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทั้งในช่วงของการฟื้นฟูเมืองเชียงแสนและยังเป็นสถานที่ในการหลบภับของกลุ่มกลุ่มเงี้ยว (ไทใหญ่) ในเหตุการณ์ก่อจราจลโดยกลุ่มชาวไทใหญ่ในหัวเมืองสำคัญของภาคเหนือ ในช่วงหลังสงครามโลกคร้งที่ 2 บริเวณด้านหน้าวัดกาสายังเป็นจุดจอดรถสองแถวที่เดินทางระหว่างเชียงราย - แม่จัน แม่จัน - แม่สาย และเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำสาธารณะในตัวเมืองแม่จัน (ปัจจุบันบ่อน้ำตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของศูนย์ปฎิบัติการสายตรวจแม่จัน ยังคงปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น) ในปัจจุบันวัดกาสา ถือได้ว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางของชุมชนชาวแม่จัน ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ภาพเก่าของอำเภอแม่จัน ที่จัดตั้งโดย นายประยูร สุวรรณรัตน์ ปราชญ์ชุมชนและอดีตสภาวัฒนธรรมอำเภอแม่จัน ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงภาพในอดีตของอำเภอแม่จัน ภาพบุคคลสำคัญในอดีตและปัจจุบันของอำเถอแม่จัน ภาพเหตุหารณ์และสถานที่ต่าง ๆ ในอำเภอแม่จัน รวมไปถึงจัดรวบรวมโบราณวัตถุที่สำคัญที่ค้นพบในอำเภอแม่จัน นอกจากนั้นในทุกวันเสาร์พื้นที่บริเวณภายในวัดกาสายังเปิดเป็นตลาดนัดมงคลวัตถุขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุกศูนย์ระหว่างอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน เทศบาลนครเชียงราย โดยสินค้าจะประกอบไปด้วย สินค้าประเภทแร่ธาตุ ก้อนหิน ลูกปัด พระบูชา พระเครื่อง วัตถุมงคล และประเภทของโบราณวัตถุ โดยตลาดนัดวัดกาสาจะเริ่มเปิดเวลา 09.00 - 12-00 น.

ที่ตั้ง

ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย