มูลนิธิสาธารณกุศลสงเคราะห์แม่จัน (ศาลเจ้า)

ภายหลังการปฎิรูป รูปแบบการบริหารจัดการ ในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล มีการสร้างขยายทางรถไฟสายเหนือต่อจากเมืองปากน้ำโพ นครสวรรค์ มายังชุมทางนครลำปาง จึงส่งผลนครลำปางกลายเป็นชุมทางสำคัญในด้านการคมนาคม และการค้า มีการขยายและตัดถนนดจากเมืองเชียงแสน ผ่านเชียงราย สู่นครลำปางเพื่อต้อนรับการขนส่งทางรถไฟและช่วยในเรื่องการขนส่งสินค้าเกษตร จากเมืองเชียงแสน เชียงรายสู่สถานนีขนส่งรถไฟนครลำปาง ในช่วงนี้มีการอพยพเข้ามาหาช่องทางด้านธุรกิจของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล มาระลอกใหญ่และกระจายไปตั้งถิ่นฐาน ในเมืองพะเยา เชียงราย เชียงแสน ละกลายเป็นประชากรที่มีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วงต่อมา กลุ่มชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในเมืองเชียงแสน มี 3 กลุ่มไก้แก่ กลุ่มจีนแต้จิ๋ว เป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับหนึ่ง มีแซ่ที่สำคัญ ได้ แซ่โล้ว แซ่เจี่ยว แซ่แต้ แซ่เตีย ฯลฯ ภายหลังใช้นามสกุล บุญธรรม โล้พิรุณ เตชะธีราวัฒน์ ไชยกุล จงสุทธนามณี เป็นต้น ,กลุ่มที่2 กลุ่มชาวจีนแคะ เป็น กลุ่มมีจำนวนมากเป็นอันดับ 2 แซ่ที่สำคัญ ได้ แซ่เหล่า ฯลฯ ภายหลังใช้นามสกุล เหล่าธรรมทัศน์, กลุ่มที่3 กลุ่มจีนไฮหลำ ภายหลังใช้นามสกุล จันทร์ถิระติกุล เป็นต้น (ฉิง บุญธรรม,สัมภาษณ์) กลุ่มชาวจีนเจ้าของโรงสี ถือเป็นผู้นำของชาวจีนในเมืองแม่จัน เกิดแนวคิดที่จะมีการร่วมกลุ่มของชาวจีนในเมืองแม่จันในรูปแบบของสมาคมจีน และนำไปสู่การเกิดแนวคิดที่ร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้นในเมืองแม่จัน ในปี พ.ศ.2508 โดยมีนายมา ไชยกุล(เจ้าของโรงสีมุ่ยฮวดเส็ง) พร้อมด้วยชาวจีนในอำเภอแม่จัน ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้น โดยได้จ้างช่างจากกรุงเทพฯมาเป็นผู้สร้าง แล้วเสร็จ ในปีพ.ศ. 2509 ซึ่งเกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2509 กลุ่มสมาคมจีน จึงได้นำส่วนหนึ่งที่ได้จากการบริจาคเพื่อสร้างศาลเจ้าเพื่อไปช่วยเหลือ ชาวเชียงแสนในเหตุการณ์อุทกภัยในอำเภอเชียงแสนด้วย นอกจากนั้นยังเข้ามามีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เช่น นามสกุล เหล่าธรรมทัศน์ ติยะไพรัช ไชยกุล จันทร์ถิระติกุล เป็นต้น ภายในศาลเจ้าประดิษฐานเทพเจ้าสำคัญซึ่งเป็นเทพเจ้าท้องถิ่นหรือเรียกว่า ปุน เถ่า กง คือ เจ้าพ่อและเจ้าแม่กิ่วทัพยั้ง

ที่ตั้ง

ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย