วัดป่าบง

การฟื้นเมืองเชียงแสนร้าง พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ส่งให้ เจ้าน้อยอินต๊ะ โอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าบุญมา(เจ้าผู้ครองเมืองลำพูนองค์ที่ 2 ) ขึ้นมาฟื้นเมืองเชียงแสน ซึ่งในขณะนั้นมีกำลังคนไม่มาหนักในระยะแรกของการฟื้นเมืองเชียงแสน เกิดการต่อสู้กับการคุกครามจากเมืองเชียงตุง โดยกองกำลัง เชียงตุงนำกำลังมาขับไล่ขัดขวางการฟื้นเมืองของเจ้าอินต๊ะ ส่งผลให้เจ้าอินต๊ะต้องถอยผู้คนไปตั้งมั่นที่เมืองพาน (สรัสวดี อ๋องสกุล,2553,น.334)ต่อมา ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหลวงสุริยะ เจ้าเมืองเชียงราย(องค์ที่3) ส่งเจ้าอุปราชคำฝั้น เจ้าบุรีรัตนอินทยศ เจ้าไชยลังกา ไปช่วยขับไล่กองทัพเชียงตุงได้สำเร็จ และเกิดการฟื้นเมืองเชียงแสนขึ้นในระยะต่อมา (อภิชิต ศิริชัย,2560,น.2) ในปี พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯได้รับพระราชทานนามเป็น พระยาราชเดชดำรงค์(เจ้าน้อยอินต๊ะ) (เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษสมุหนายกอัครมหาเสนาธิบดี,2425,น.90-92) ซึ่งมีเนื้อความในเอกสารมหาดไทย จ.ศ.1244 เรื่อง เมืองนครเชียงใหม่ตั้ง เจ้าเมือง นายน้อยอินตะเป็นพระยาราชเดชดำรงค์ พระยาไชยสงครามเป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงแสน วัดป่าบงมีประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์ต่อการฟื้นฟูเมืองเชียงแสน ปรากฏหลักฐานว่า เจ้าน้อยอินต๊ะเป็นเจ้านายผู้สร้างวัดป่าบง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำในชุมชนป่าบงในปัจจุบัน ปรากฎหลักฐานการสร้างวัดป่าบง ในปี พ.ศ.2428 โดยมีเจ้าหลวงอินต๊ะเป็นผู้อุปถัมภ์ โดยมีพระครูบาเทพ ชาวเมืองน่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด (กรมการศาสนา ,2532,น.325)

ที่ตั้ง

ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย