ฐานการเรียนรู้ การตัดลายกระดาษพื้นบ้าน

การตัดลายกระดาษพื้นบ้าน
ความเป็นมา
บ้านกู่กาสิงห์ถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมสำคัญแห่งหนึ่ง เดิมมีการใช้ลวดลายตัดกระดาษอย่างแพร่หลาย
เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “ลายปิ้งกบ” เป็นลายที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยใช้กรรไกรตัดกระดาษให้เป็นลวดลายใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นลายเอ้หอกฐิน เอ้บั้งไฟ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามลายกบปิ้ง ซึ่งเป็นลวดลายที่เกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้านกำลังสูญหายไป เนื่องจากในปัจจุบัน แต่ละหมู่บ้านนิยมไปจ้างบั้งไฟจากหมู่บ้านแห่งอื่นเข้ามาแห่ เพราะมีความสะดวกสบาย จึงทำให้ช่างพื้นบ้านขาดการพัฒนาลวดลายมาประมาณ ๑๐ ปี และหากไม่ช่วยสืบทอด อนุรักษ์และฟื้นฟูไว้ต่อไปลวดลายเหล่านี้อาจจะสูญหายไปในที่สุด
ลายกบปิ้ง เป็นลวดลายพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว อีสานตอนกลาง มีถิ่นกำเนิดจากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นลวดลายที่เกิดจากการใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นเส้นขดวน ลายทั้งสองข้างจะเหมือนกัน มีรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนกบที่ถูกคีบและปิ้ง จึงเรียกว่าลาย กบปิ้ง

พัฒนาการของลาย
ลายกบปิ้ง มีพัฒนาการมาจากใบไม้ โดยนำใบไม้สองใบ ใช้ส่วนฐานใบจดกัน แล้วปล่อยให้ปลายยอดใบชี้ไปคนละด้าน และได้ลดทอนส่วนประกอบใบออกให้เป็นเส้นลวดลาย มีความอ่อนช้อยสมบูรณ์งดงาม ภายหลังจึงแทบเชื่อว่ามีที่มาจากใบไม้

การอนุรักษ์ลายพื้นบ้านควรถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังให้มีความรู้เพื่อจะได้อนุรักษ์ไว้ โดยนำเข้าสู่หลักสูตรการเรียนให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง งดจ้างบั้งไฟจากที่อื่น และส่งเสริมให้ช่างในท้องถิ่นได้ตัดลาย จัดประกวดลายพื้นบ้านจัดทำหนังสือลายพื้นบ้านออกเผยแพร่

โดยทั่วไปการใช้ลายกบปิ้งจะใช้เอ้(ประดับตกแต่ง) บั้งไฟ นอกจากนี้จะมีบ้างในการนำไปใช้จัดเป็นลวดลายเอ้ปราสาทผึ้ง เอ้หอกฐิน แต่ดูเหมือนจะไม่สมบูรณ์สวยงามเหมือนใช้เอ้บั้งไฟ

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ