กู่กาสิงห์

กู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย เป็นปราสาท 3 หลัง ตั้งเรียงกันในแนวทิศเหนือใต้ ปราสาทประธานตั้งตรงกลางและใหญ่กว่า 2 หลัง ปราสาทและอาคารล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแรงสี่เหลี่ยมที่มี โคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง 4 ด้าน ประตูเข้าได้จริงเฉพาะด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก นอกเขตกำแพงมีคูน้ำล้อมรอบ พบร่องรอยการใช้เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรแบบบาปวน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 มีความโดดเด่นอยู่ที่ทับหลัง แกะสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัน เป็นสถาปัตยกรรมลวดลายสวยงามและประณีต เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลป์แบบเขมร สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดจากการศึกษาลวดลายหน้าบัน ทับหลังและลวดลายอื่นๆ ทราบว่าตรงกับสมัยศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราว พ.ศ. 1550   -   1630   การเรียกชื่อ โดยทั่วไปยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าขอมเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่าอย่างไร แต่ภาษาที่ใช้เรียกชื่อเป็นภาษาไทย จึงเชื่อว่าคำว่า

       "กู่กาสิงห์”เป็นคำที่คนไทยลาวได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่โดยคำว่ากู่เป็นคำที่ใช้เรียกโบราณสถานที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์เก่าแก่ในอีสานตอนกลาง คำว่ากาน่าจะมาจากรูปพระยาครุฑหรือนกอินทรีย์ที่เคยปรากฏอยู่ที่กู่นอกจากนี้คำว่ากายังเป็นคำในภาษาถิ่นตรงกับคำในภาษาไทยกลางคือคำว่าตราซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย ส่วนคำว่าสิงห์ เป็นคำใช้เรียกรูปประติมากรรมสิงห์ที่เคยมีตั้งไว้ประตูทางเข้ากู่ ดังนั้นกู่กาสิงห์จึงหมายถึงโบราณสถานที่มีรูปกาและ สิงห์เป็นเครื่องหมาย

ขนาด

มีพื้นที่ 12 ไร่ 2 งาน 30.56 ตารางวา มีลักษณะเป็นปราสาทอิฐสามหลังตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

สถานที่จัดเก็บต้นฉบับ